 |
ความคิดเห็นที่ 12 |
http://www.jvkk.go.th/researchnew/datails.asp?code=524
งานวิจัยเรื่องอุปทานหมู่
อุปทานหรือกลุ่มอุปทานระบาด เป็นการเจ็บป่วยเป็นกลุ่มอันเนื่องมาจากภาวะของจิตใจจัดเป็นอาการในกลุ่มจิตเวชฉุกเฉินอย่างหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมการระบาดของอาการ อาจมีผลกระทบต่อชุมชน
ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมานครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ.2542 2544 มีการเกิดโรคอุปทานกลุ่ม 2 กรณี คือ กรณีแรกเกิดขึ้นที่โรงเรียนแห่งหนึ่งที่อำเภอหนองบุนาก กรณีสองที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา นักเรียนมีอาการ 32 คน ดังนั้นโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โดยกลุ่มงานจิตวิทยา มีความสนใจ ศึกษาเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีอาการและไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาลักษณะของบุคลิกภาพของนักเรียนที่มีและไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม 1 ปัจจัยทางบุคลิกภาพที่มีผลต่อการเกิดอุปทานกลุ่มของนักเรียน
ขอบเขตการวิจัย นักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่มและนักเรียนที่ไม่มีอาการอุปทานกลุ่มกรณีโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอหนองบุนนากและอำเภอศรีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่เกิดอุปทานกลุ่ม ระหว่างเดือนมกราคม 2542- มกราคม 2544 เป็นนักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่มจำนวน 32 คน และนักเรียนที่ไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม 32 คน การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นและทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสอบถามความยินยอมที่จะเป็นตัวอย่างในการศึกษาและตอบแบบสอมถามรวมทั้งทำแบบทดสอบ 16 PF การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้ค่าสถิติ X,S.D,t-test และ Simple Regression สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่มี่อาการอุปทานกลุ่มร้อยละ 90.6 เป็น เพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 14.59 ปี ส่วนใหญ่เรียนอยู่ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 93.8 ส่วนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่ไม่มีอาการอุปทานกลุ่ม พบว่าร้อยละ 90.6 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 13 15 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 14.72 ปี ส่วนใหญ่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 93.8
ส่วนลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพของนักเรียนอาการและไม่มีอาการอุปทานกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
และพบว่ามีปัจจัยทางบุคลิกภาพบางประการมีผลต่ออัตราการเกิดอาการอุปทานกลุ่มของนักเรียนที่มีอาการ ได้แก่ ความสามรถในการควบคุมตนเอง (Control)
ข้อเสนอแนะ 1. ใช้ในการวางแผนป้องกันการเกิดอาการอุปทานกลุ่มในนักเรียน โดยการส่งเสริมลักษณะบุคลิกภาพที่ทำให้เกิดความสามารถในการควบคุมตนเองให้มากขึ้น 2. ใช้ในการควบคุมโรคอุปทานโดยกลุ่มเสริมสร้างให้เกิดลักษณะบุคลิกภาพที่ก่อให้เกิดความสามารถในการควบคุมตนเองแก่นักเรียนที่มีอาการอุปทานกลุ่ม เพื่อลดความรุนแรงได้ทางหนึ่ง
จากคุณ |
:
กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา
|
เขียนเมื่อ |
:
23 มี.ค. 53 20:57:50
|
|
|
|
 |