 |
ความคิดเห็นที่ 41 |
โรคราพันเซล
เป็นหนึ่งในโรคการกินสิ่งแปลกปลอม (Bezoars)
http://www.doctor.or.th/node/7077
การกลืนสิ่งแปลกปลอมลงสู่ทางเดินอาหารสามารถพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เด็กมักกลืนโดยไม่ตั้งใจ มักพบในกลุ่มอายุ 1-5 ปี.1,2 ผู้ใหญ่สามารถพบได้โดยที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงวัย, ผู้มีความรู้สึกตัวผิดปกติ (เช่น dementia, เสพติดสารมึนเมา เป็นต้น), ผู้ที่ใส่ฟันปลอม (ความรู้สึกบริเวณเพดานปากลดลง ทำให้อาจจะกลืนสิ่งแปลกปลอมได้โดยไม่รู้สึก), ผู้ป่วยทางจิต และนักโทษ(เพราะไม่อยากถูกคุมขังหรือลงโทษในคุก).
ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย สิ่งแปลกปลอมผ่านออกจากร่างกายได้เองโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ จะมีเพียงประมาณร้อยละ 10 ที่ต้องเอาออกโดยการส่องกล้อง และมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ต้องผ่าตัด.1-3
ชนิดของสิ่งแปลกปลอม เหรียญเป็นสิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ส่วนในผู้ใหญ่ ก้อนอาหารอุดกั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยที่สุด.1 การจำแนกชนิดของสิ่งแปลกปลอมที่กลืนเข้าไปมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในการรักษา โดยทั่วไปควรแยกวัตถุเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ - สิ่งแปลกปลอมลักษณะทู่. - สิ่งแปลกปลอมลักษณะแหลมหรือมีคม เช่น ไม้จิ้มฟัน, กระดูกไก่, เข็ม, ใบมีดโกน เป็นต้น. - แบตเตอรี่ขนาดต่างๆ ได้แก่ ขนาดเท่าเม็ดกระดุม, AA และ AAA พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่กลืนแบตเตอรี่ขนาดเท่าเม็ดกระดุมจะมีอาการ โดยที่ก่อให้เกิดปัญหามักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 21 มิลลิเมตร3 การที่แบตเตอรี่มีสารละลายด่างเข้มข้น ได้แก่ NaOH หรือ KOH เมื่อรั่วจะกัดกร่อนเนื้อเยื่อให้เหลวอย่างรวดเร็ว.1,3 นอกจากนี้ แบตเตอรี่ยังอาจทำลายเนื้อเยื่อโดยแรงกดเบียด (pressure necrosis) หรือโดยการเผาไหม้ด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆได้ด้วย.3
อาการและอาการแสดง เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดในหลอดอาหารผู้ป่วยจะแสดงอาการ ได้แก่ กลืนลำบาก, เจ็บขณะกลืน, เจ็บใต้ ชายโครง, ไม่สบายคอหอย, น้ำลายสอ, อาเจียน หรือสำลัก และอาจหายใจผิดปกติได้โดยเกิดจากวัตถุอยู่ในหลอดอาหารส่วนต้นกดหลอดลม
การกลืนสิ่งแปลกปลอมในเด็กมักมีผู้พบเห็น บางครั้งไม่มีผู้พบเห็น แต่ถ้าเด็กมีอาการที่ชวนสงสัย ได้แก่ สำลัก, อาเจียน, น้ำลายมีเลือดปน, หายใจติดขัด, ไอเรื้อรัง, ไม่ยอมกินอาหาร จะต้องนึกถึงภาวะนี้ด้วย.
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการ ใดๆ ก็ได้ ดังนั้น เพียงประวัติที่ชวนสงสัยหรือมีการหายใจผิดปกติที่ไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ความรู้สึกตัวผิดปกติ ก็ให้เริ่มต้นทำการสืบค้นได้เลย
แก้ไขเมื่อ 07 เม.ย. 53 13:53:10
จากคุณ |
:
กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา
|
เขียนเมื่อ |
:
7 เม.ย. 53 13:52:06
|
|
|
|
 |