 |
ความคิดเห็นที่ 52 |
การทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะนั้นคงสภาพในร่างกายได้
เนื้อเยื่อและอวัยวะที่สร้างขึ้นมาจะนำมาปลูกถ่ายในคนหรือสัตว์ก็ตาม จะต้องมีคุณสมบัติหลัก 2ประการ คือ
1. มีระบบหลอดเลือดนำเลือดมาหล่อเลี้ยงได้
ก้อนเนื้อเยื่อและอวัยวะต้องอาศัยเลือดมาหล่อเลี้ยงเพื่อให้เซลล์ของเนื้อเยื่ออวัยวะนั้นทำงานได้ กลไกการกระตุ้นให้มีการสร้างหลอดเลือด (Angiogenesis) เป็นเรื่องที่มีการศึกษาวิจัยกันมากในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีความพยายาม ที่จะสร้างหลอดเลือดด้วยกระบวนการของ Tissue engineering ด้วย
ผู้เขียน ศ. ดร. อานนท์ บุณยะรัตเวช โครงการการสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะได้ทำ งานวิจัยเรื่องนี้ โดยตั้งเป้าที่จะสร้างหลอดเลือด (Endothelial cell) เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle cell) ได้สำเร็จแล้ว โดยวางขั้นตอนต่อไปในการกระตุ้นให้เซลล์ทั้งสองประเภทนี้ก่อร่างเป็นหลอดเลือด โดยอาศัย scaffold เป็นโครงร่างและใช้สารกระตุ้นประเภท VEGF (Vascular endothelial cell growth factor) ทำให้เซลล์แบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากๆ ภายใต้การเพาะเลี้ยงเซลล์ในสภาวะแรงโน้มถ่วงที่น้อยที่สุด ซึ่งจะร่วมกับองค์การ NASAในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะสามารถผลิตหลอดเลือดของแต่ละคนมา ใช้ทดแทนและยังได้ ศาสตร์เรื่องการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อและอวัยวะสร้าง หลอดเลือดเองตามธรรมชาติ(Angiogenesis) ที่จะทำให้การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและอวัยวะนั้นได้ผล
2. มีการยอมรับเนื้อเยื่ออวัยวะนั้น การยอมรับต้องเกิดจากระบบ Antigen Antibody ที่เข้ากันได้
หลักการนี้มีแนวทางวิทยาศาสตร์ได้ 2 วิธีการ คือ
2.1 การใช้ Stem cell เซลล์ต้นกำเนิดหรือ Stem cell มีความสามารถที่แบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากมายและถูก กระตุ้นให้ differentiate เป็นเซลล์ของเนื้อ เยื่ออวัยวะชนิดต่างๆ ตามความต้องการ Stem cell มีหลายระดับ ขณะนี้มีความพยายามมุ่งไปสู่ Stem cell ระดับอ่อนสุดเรียกว่า Embryonic Stem Cell หรือ ES cell โดยใช้เทคนิคการทำโคลนนิ่งระดับเซลล์ (Cell cloning) เพื่อให้ได้ ES cell ของคนแต่ละคนซึ่งจะนำไปกระตุ้นเป็นเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการจะทำ Tissue engineering การทำเซลล์โคลนนิ่งเพื่อนำเซลล์ที่ได้ไปใช้ในการรักษา (Therapeutic cell cloning) ถือว่าเป็นศาสตร์ที่ยอมรับว่ามีประโยชน์อย่างมาก ขณะนี้หลายประเทศกำลังดำเนินการวิจัยด้านนี้เป็นอย่างมาก
2.2 นอกเหนือจากการทำเซลล์โคลนนิ่งเพื่อให้ได้ ES cell แล้ว ยังมีอีกวิธีการหนึ่ง คือการใช้ Adult stem cell ที่หาได้จากตัวคนได้เลย ขณะนี้ผู้บรรยาย ศ. ดร. อานนท์ บุณยะรัตเวช ได้วิจัยเรื่อง Adult stem cell ชนิด Mesenchymal stem cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเนื้อเยื่อหลายชนิด ได้แก่ bone, cartilage, tendon, smooth muscle cell, endothelial cell, fat, bone marrow cell และ blood
http://www.mb.mahidol.ac.th/www/uploads/3a095d89-266d-88e3.pdf
แก้ไขเมื่อ 08 เม.ย. 53 13:15:05
จากคุณ |
:
กิ๊ฟไม่ใช่ตุ๊กตา
|
เขียนเมื่อ |
:
8 เม.ย. 53 13:14:25
|
|
|
|
 |