 |
ความคิดเห็นที่ 31 |
ความคิดเห็นที่ 27 เอามาทำเป็นสัตว์เลี้ยง หรือเปิดให้เอกชนเพาะเลี้ยงได้ รับรองว่ายากจะสูญพันธุ์
ด้วยความเคารพ.. ในสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ทั้ง 59 ชนิด เห็นเพาะกันเป็นล่ำเป็นสันแค่ราว 10 ชนิดเท่านั้น นอกนั้นถ้าไม่ใช่ยังเพาะพันธุ์ไม่สำเร็จก็เป็นชนิดที่ไม่เห็นมีใครเพาะเลี้ยงเลยครับ(มีแต่ในหน่วยงานราชการ) ....คงเพราะผลตอบแทนมันไม่มากพอ ตอนนี้ก็เลยเข้าคิวใกล้สูญพันธุ์กันเป็นทิวแถวทีเดียวเชียว
สัตว์บางชนิดที่มีการอนุญาตให้เพาะพันธุ์ พูดตามตรง. โอกาสประสบผลสำเร็จยากมาก และการอนุญาตให้เพาะเลี้ยงได้ เป็นการลดจำนวนสัตว์ชนิดนั้นในธรรมชาติ เนื่องจากการจับมาเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ในโรงเลี้ยงนั่นเอง (ยิ่งเพาะยากเท่าไร ก็ยิ่งต้องจับมาเป็นพ่อแม่พันธุ์มากเท่านั้น และต้องจับมาทดแทนพ่อแม่พันธุ์ที่ปลดระวางด้วย)
ยกตัวอย่างใกล้ ๆ เช่น นกปรอดหัวโขน ที่มีการยื่นเรื่องให้ปลดออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจนั้น อันที่จริงนกปรอดหัวโขนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้อยู่แล้ว ซึ่งแม้เพาะเลี้ยงได้จริง แต่อัตราต่ำมาก(ไม่ถึง 10%) และการเพาะนั้นเป็นการเพาะเพื่อเอาเสียงที่ดีมาแข่งขันซึ่งนกปรอดไม่ได้ถ่ายทอดเสียงตามพ่อแม่พันธุ์ ทำให้ยังมีการลักลอบจับนกป่าอยู่เสมอ(และตอนนี้ลามไปทั่วประเทศแล้ว) การปลดออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองจะเป็นการเร่งให้สูญพันธุ์ในธรรมชาติเร็วขึ้นครับ (ไม่เหมือนหมูป่าที่เพาะเลี้ยงได้ดีมาก จนในที่สุดก็สามารถกลายเป็นสัตว์นอกบัญชีได้)
กรณีแพนดายักษ์ของจีนนั้น แม้มีการพยายามทุ่มเงินและเทคโนโลยีในการเพาะพันธุ์โดยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ ก็ยังเป็นดังที่ปรากฎคือ เพาะได้ยาก (เวลาได้ผลทีนึง ถึงได้ตื่นเต้นดีใจกันมากมายปานนี้) ดังนั้นจะพูดว่าไม่มีโอกาสสูญพันธุ์นั้น เห็นจะไม่จริงครับ
ป.ล.สัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด, นก 42 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน 6 ชนิด, สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก 1 ชนิด และปลา 2 ชนิด
จากคุณ |
:
0vvaynar0
|
เขียนเมื่อ |
:
วันเนา 53 23:47:33
|
|
|
|
 |