|
ความคิดเห็นที่ 4 |
3) ปริมาณรังสีที่ GHG จะดูดซับได้ ด้วยความหนาของ GHG เอง จากช่วงรังสีที่ GHG ดูดซับได้ ก็ยังมี Factor การดูดซับ และแผ่รังสีของชั้น GHG ที่ส่งผลต่อภาวะ Green House Effect ได้แก่ค่า Absorbtivity และ Emissivity ขึ้นอยู่กับปริมาณของ GHG ที่ขั้นขวางระหว่างทางเดินของรังสีจากดวงอาทิตย์ โดยแสดงความสัมพันธ์กับตัวแปรคือ - อุณหภูมิ (T) - Mean Beam Length (L) คือความหนาของชั้น GHG กรณีนี้คือความหนาของชั้นบรรยากาศ เทียบที่ความดัน 1 ATM จะมีค่าประมาณ - ความดัน Partial Pressure (P) คือความเข้มข้นตลอดระยะความหนาของชั้น GHG
ผู้เขียนได้จำลองกราฟขึ้นมาตามแบบค่า Emissivity ของ CO2 และ H2O ได้สมการโดยประมาณดังต่อไปนี้
ec=(0.125 ln(Pc.L)-1.479).10-5T+0.029ln(Pc.L)+0.19 ew =(-2.652 ln(Pw.L)-17.11).10-5T+0.115ln(Pc.L)+0.541
การ Fit สมการ ใช้เทคนิคการใส่ log เพื่อลด Order ของการแปรผันออกไป และใช้วิธีการ Optimization เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ของสมการ ตัวสมการย่อมมีค่าความเบี่ยงเบนจากค่าจริงในระดับ +/- 10% แต่ก็มีความเพียงพอที่จะนำใช้ในการจำลองโมเดล GHG
ถ้ามีใครสนใจ วิธีการ Fit สมการ จขกท อาจนำเสนอเป็นบทความในวาระถัดๆไป
ความสัมพันธ์ของค่า Emissivity และ Absorptivity ของ CO2 และ H2O จาก Heat transfer 7th ED ของ J.P. Holman ในกรณีที่อ้างอิงความดันรวมที่ 1 บรรยากาศ ค่า Correction factor = 0 ac = e(TGHG/TWall)0.65 aw = e(TGHG/TWall)0.45
ตัวห้อย c = carbon dioxide w = water Wall = อุณหภูมิสัมผัส ของวัตถุเป้าหมายเช่นดวงอาทิตย์ หรือพื้นโลก กรณีของดวงอาทิตย์ อุณหภูมิที่ใช้จะเป็นอุณหภูมิ Black body ที่ค่าความเข้มข้นรังสีประมาณ 1,400 W/m2 ซึ่งอ้างอิงตามตำแหน่งของดาวโลกที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทาง 149,597,887.5 กม เป็นสำคัญ
โดยสรุปสมการ Heat transfer จะอยู่ในรูป
q = acsTGHG4-ecsTGHG4+ awsTGHG4-ewsTGHG4
เป็นค่าความร้อนที่ GHG ดูดซับไว้ได้ กรณีที่ค่าความร้อนที่ดูดซับเกินก็คือความหนาของชั้น GHG เกินพอจะดูดซับส่วนความร้อนจากแหล่งความร้อนนั้นได้หมดนั่นเอง
จากคุณ |
:
Darth Prin
|
เขียนเมื่อ |
:
16 เม.ย. 53 12:36:40
|
|
|
|
|