 |
ความคิดเห็นที่ 41 |
|
สคร.-คมนาคม เตรียมชง ครม.คลอดรถไฟรางคู่-ความเร็วสูง8แสนล. โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 เมษายน 2553 06:52 น. สคร.เดินหน้าพัฒนาระบบราง ชง ครม.สร้างรถไฟรางคู่-ความเร็วสูง มูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท ครม. เศรษฐกิจพิจารณา ประเดิมรถไฟรางคู่ 1.76 แสนล้านบาท ก่อนชงครม.ใหญ่พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าปี 53 ทำกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์ขนาด 2 หมื่นล้านให้ได้ หลังมีทั้ง ปตท. การทางฯ และเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐให้ความสนใจแนวทางนี้มากขึ้น ด้าน สศช.ได้ฤกษ์เสนอ ครม.เศรษฐกิจพิจารณาแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.วงเงิน1.71 แสนล้านบาท คมนาคมฝันเดินหน้าตามกรอบปฎิรูประบบรถไฟตามแผนปี 53-57 ผุดทางคู่ 6 เส้นทาง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นโยบายของสคร.ในปีนี้จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่ง โดยเฉพาะความร่วมมือในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางคู่และระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดระยะเวลาในการขนส่งและเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเบื้องต้นในส่วนของรางไฟรางคู่จะมีการนำเข้าไปพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เศรษฐในวันนี้(26 เมษายน 2553)และหลังจากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์จะนำเข้าไปพิจารณาในคณะรัฐมนตรีใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เม็ดเงินที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการดำเนินงานจะมาจาก 2 แนวทางด้วยกันคือ การร่วมทุนกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ(แบบ ppp)และการระดมทุนผ่านกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์ โดยแบ่งเป็นงบประมาณการก่อสร้างระบบรถไฟรางคู่จำนวน 1.76 แสนล้านบาท และระบบรถไฟความเร็วสูงจำนวน 7 แสนล้านบาท สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงจะประกอบด้วย 4 เส้นทางคือ 1 กรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่า 1.49 แสนล้านบาท 2กรุงเทพ- เชียงใหม่ระยะทาง 745 กิโลเมตร มูลค่า 1.84 ล้านบาท 3กรุงเทพ- จันทบุรี ระยะทาง 330 กิโลเมตร มูลค่า 1.3 แสนล้านบาท 4.กรุงเทพ- ปาดังเบซา ระยะทาง 985 กิโลเมตร มูลค่า 2.71 แสนล้านบาท "เส้นทางเบื้องต้นที่คาดว่าจะดำเนินการได้ก่อนคงจะเป็นจากกรุงเทพไป ปาดังเบซาร์ เพราะมีกำลังซื้อ และผู้โดยสารที่มีกำลังซื้อจำนวนสูง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะทำการเชื่อมต่อไปในเส้นทางของประเทศจีนและ อินโดนีเซียในอนาคตอีกด้วย" อย่างไรก็ตามในส่วนของการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่าวลงทุน คงจะต้องชะลอออกไปก่อนเนื่องจากติดปัญหาด้านความวุ่นวายทางการเมือง โดยปัจจุบันได้มีความเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการที่มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเข้ามาดูแลในด้านนี้โดยเฉพาะขณะที่แนวทาง การระดมเงินผ่านกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์จะดำเนินการโดยการนำเอา รายได้ของรัฐวิสาหกิจมาเป็นแบคอัพในการออกตราสารหนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณากับทางคณะกรรมการกำกับหลักททรัพย์และตลาด หลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และน่าจะมีความคืบหน้าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ก่อนจะเปิดรับฟังความคิดเห็นได้ "คงต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้ก่อน แต่ทางสคร.เองจะพยายามจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ให้ได้ 1-2 โครงการภายในปีนี้ โดยมีขนาดกองทุนอยู่ทีประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้นอกจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว ยังมีเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐให้ความสนใจแนวทางนี้ ร่วมถึงปตท. การประปา และการทางแห่งประเทศไทยด้วย" อย่างไรก็ตามในส่วนการจัดตั้งกองทุนนี้ยังจำเป็นที่จะต้องของความเห็นจากก ฤษฏีกาในการตีความว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.การร่วมทุนหรือไม่ ด้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมครม.เศรษฐกิจ วันนี้ที่ 26 เม.ย.นี้ ที่ประชุมฯ จะมีการพิจารณาแผนฟื้นฟูของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 171,000 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากครม.เศรษฐกิจแล้วจะเสนอแผนต่อ ครม.ในการประชุมวันที่ 27 เม.ย.2553 ทันที โดยตามขั้นตอนหลังครม.เห็นชอบแผนดังกล่าว กระทรวงคมนาคมจะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อจัดสรรในเรื่องงบประมาณและแหล่ง เงินในการดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. โดยแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. มีเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน 4 เรื่อง ตามแผนดำเนินการการปฏิรูประบบรถไฟเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในปี 2553-2557 ประกอบด้วย 1.งานโยธา วงเงิน 51,124 ล้านบาท 2.งานระบบอาณัติสัญญาและโทรคมนาคม วงเงิน 23,750 ล้านบาท 3. งานจัดหารถจักรและล้อเลื่อน วงเงิน 12,061 ล้านบาท และ 4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงิน 66,110 ล้านบท ซึ่งประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท 2.สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้าบาท 3.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบท 4.สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และสาย 5. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบท และสศช.ได้ให้ร.ฟ.ท.บรรจุโครงการเพิ่มเติม อีก 3 โครงการ วงเงินรวม 18,414.356 ล้านบท ลงไปในแผนดังกล่าว ประกอบด้วย 1. โครงการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการตามแผนที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ จำนวน 5 เส้นทาง 2.โคงการก่อสร้างโรงซ่อมวงเงิน 1,359.87 ล้านบาท และ 3.โครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) แห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้าบาท เพิ่มเข้าไปอีกด้วย สรุปแนวทางคู่สายเหนือและอีสาน นายสุพจน์ กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางสายอีสานช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร และสายเหนือลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตรนั้น ก่อนหน้านี้มีบัญหาในการเลือกแนวสายทาง อาจกระทบต่อการทำความเร็ว ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้หารือและสรุปแนวทางแก้ไขแล้ว โดยสาย มาบกะเบา-นครราชสีมานั้นจะใช้แนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมนั้นมีความคดเคี้ยวและมีความลาดชันสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำความเร็วของรถไฟ โดยแนวเส้นทางใหม่ ที่ต้องปรับแก้โดยบางช่วงต้องผ่านพื้นที่เขตป่าสงวนประเภทป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ซึ่งมีความจำเป็นต้องระเบิดภูเขาบางส่วนเพื่อก่อสร้างแบบ Open Cut หรือบริเวณที่ต้องผ่านหุบเขาก็จะต้องมีการถมคันทางสูงหรือทำเป็นโครงสร้างยก ระดับส่วนในบริเวณที่ผ่านภูเขาแต่ไม่สามารถเบี่ยงแนวเส้นทางได้ก็จำเป็นต้อง ก่อร้างเป็นอุโมงค์เข้าไป โดยในการปรับปรุงการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวที่อยู่ในเขตป่าสวนนั้น กระทรวงคมนาคมจะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงต่อไป ส่วนเส้นทางสายลพบุรี-นครสวรรค์ นั้น ได้ข้อสรุปว่า จะมีการปรับแนวเส้นเพื่อเลี่ยงเขตเมืองเก่าลพบุรีซึ่งเป็นแนวเส้นทางรถไฟ เดิม ซึ่งโบราณสถานห่างจากแนวเขตทางรถไฟประมาณ 20 เมตร ไม่สามารถดำเนินการขยายเขตทางได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับแนวทางเพื่อเลี่ยงเขตเมืองอกไป โดยระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร รวมทั้งจะมีการก่อร้างสถานีเพิ่ม 1 สถานีในส้นทางดงกล่าวด้วย
จากคุณ |
:
อืม
|
เขียนเมื่อ |
:
27 เม.ย. 53 15:02:51
A:125.27.226.43 X: TicketID:249067
|
|
|
|
 |