 |
ความคิดเห็นที่ 15 |
|
ถ้าไม่ได้ดูวีดีโอที่ทำการทดลอง บางทีก็อาจจะเข้าใจผิดได้ครับว่ารถสองคัน วิ่งสวนกันด้วยความเร็ว 50 จะให้ผลเดียวกับ รถหนึ่งคันวิ่งที่ความเร็ว 100 ชนกำแพง แต่.... การทดลองที่เห็น ผมมีความเห็นดังนี้ครับ ถ้าลองในมุมของกฎอนุรักษ์พลังงาน พลังงานจลน์ของรถจะเปลี่ยนไปเป็นงานที่ใช้ในการยุบตัวของเหล็ก A รถ 1 คัน วิ่ง 50 ชนกำแพง ความเสียหายเป็น ระดับ 1 B รถ 1 คัน วิ่ง 100 ชนกำแพง ความเสียหายเป็น ระดับ 2 (พลังงานเป็น 4 เท่า) รถ 2 คัน วิ่ง 50 ชนกันเอง พลังงานจะเป็น"สองเท่า"ของข้อ A แต่ว่า พลังงานที่เพิ่มขึ้นมาต้องเปลี่ยนไปเป็นงานที่ทำให้รถทั้งสองคันบุบ ดังนั้นความเสียหายจึงเป็นระดับ 1 เหมือนข้อ A คราวนี้ลองมาคิดกันในมุมง่ายๆ กันนะครับ รถหนึ่งคันวิ่งเร็ว 50 เจอผนังทำให้มันหยุดอยู่กับที่ (ความเร็วเป็น 0) แรงที่ทำให้มันหยุด (ณ จุดที่ชน) ก็ส่งผลทำให้รถนั้นพัง ระดับ 1 ถ้ามีรถสองคันก็จริง แต่ว่าเราให้ความสนใจไปที่รถคันเดียว รถวิ่งเร็ว 50 เจออะไรไม่รู้ ทำให้มันหยุด (ณ จุดที่ชน) รถมันก็น่าจะพังเหมือนตัวอย่างข้างบนจิงไม๊ครับ การทดลองนี้สามารถใช้กฎอนุรักษ์โมเมนตัม และ กฎอนุรักษ์พลังงานมาใช้อธิบายร่วมกัน การที่จะทำให้รถสองคันวิ่งด้วยความเร็ว 50 ชนกัน แล้วเกิดความเสียหายเท่ากับ รถที่วิ่ง 100 ที่ชนผนังนั้น สามารถทำได้คับโดย รถคันแรกเป็นรถธรรมดา แต่อีกคันต้องเป็นรถที่แข็ง(ไม่บุบเมื่อเกิดการชน) และเมื่อรถทั้งสองคันชนกันต้องหยุด ณ จุดที่ชนคับ (ควบคุมเรื่องโมเมนตัมเพื่อให้คิดง่ายขึ้น) รถธรรมดาที่วิ่งมาด้วยความเร็ว 50 จะเละเหมือนรถที่วิ่งชนผนังด้วยความเร็ว 100 (เปรียบรถที่แข็งกว่าเป็นผนังที่วิ่งมาหารถคับ, คิดง่ายๆ) บางทีผมอ่านเองยังงงเอง แต่ผมคิดว่าคงมีคนเข้าใจบ้าง ใครที่ใช้ภาษาได้ดีกว่าผม ก็ช่วยนะครับ
จากคุณ |
:
TolNy
|
เขียนเมื่อ |
:
10 พ.ค. 53 07:50:48
A:204.124.236.169 X: TicketID:267097
|
|
|
|
 |