Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
คลื่นความร้อน หรือ Heat Wave มารวมประเด็นกันสักที  

ช่วงเวลาร้อนๆอย่างนี้มักจะเห็นกระทู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนบ่อยขึ้น ซึ่งตัวภาวะคลื่นความร้อนเป็นภาวะที่มีการเกิดเป็นช่วงๆทั่วโลกตามสมดุลอุณหภูมิและสภาพการไหลเวียนของอากาศ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และขอบ่งชี้ไว้ว่า ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะเกาะความร้อน เป็นคนละอย่างกับภาวะคลื่นความร้อน ภาวะโลกร้อนหรือเกาะความร้อนเป็นสมดุลการแผ่รังสี จากดวงอาทิตย์ -> โลก -> อวกาศ แต่ภาวะคลื่นความร้อนเป็นสภาพการเคลื่อนไหวถ่ายเทมวลความร้อน และความชื้น จากพื้นที่หนึ่ง ไปสู่อีกพื้นที่หนึ่งในโลกใบนี้

ภาวะคลื่นความร้อน
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาประเทศไทยได้เจอความร้อนอึดอัดเป็นประวัติการณ์ ตามปกติช่วงเดือนเมษายนจะมีฝนตกสลับมาบ้างแต่ปีนี้ฝนตกน้อยมาก โดยปริมาณฝนเดือนนี้ต่ำกว่าค่าปกติในทุกภาคของประเทศ ดังนี้ ภาคเหนือ 24.6 มิลลิเมตร(36%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11.5 มิลลิเมตร(13%) ภาคกลาง 42.2 มิลลิเมตร(57%) ภาคตะวันออก 23.3 มิลลิเมตร(24%) ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 43.4 มิลลิเมตร(59%) และภาคใต้ฝั่งตะวันตก 44.2 มิลลิเมตร(27%) ตามลำดับ ซึ่ง ฝนเป็นตัวพาความร้อนออกไปจากพื้นที่ เมื่อมีผลกระทบเพิ่มเติมคือการผนวกเข้ามาของคลื่นความร้อนจากประเทศอินเดีย ซ้ำให้เราได้ต้นเดือนพฤษภาคมที่ร้อนระอุ

มนุษย์เราควบคุมอุณหภูมิในร่างกายด้วยการขับเหงื่อ การที่อากาศร้อนจริงๆก็ยังไม่แย่เท่าไรนักถ้าเหงื่อยังระเหยได้ก็ยังพาอุณหภูมิออกจากร่างกายได้ แต่สภาวะคลื่นความร้อนนั้น มีปัจจัยร่วมคือความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง ประกอบเกิดจากช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาฝนขาดหายไป หรือมีฝนเป็นหย่อมๆ ในพื้นที่ไม่กว้างนัก ทำให้ชั้นอากาศมีความชื้นสูง เมื่อร้อน และชื้นเหงื่อไม่ระเหย จึงรู้สึกร้อนอบอ้าวผิดปกติกว่าทุกปี ยิ่งความชื้นในอากาศสูงมากเท่าไร มนุษย์จะยิ่งร้อนอึดอัดมากขึ้นเท่านั้น ช่วงนี้ความชื้นในอากาศรอบกรุงเทพฯ ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าหน้าหนาวที่มีความชื้นเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผลกระทบของ คลื่นความร้อนอาจทำให้ระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายล้มเหลวถึงเสียชีวิตได้

จากนิยามของกรมอุตุนิยมวิทยา คลื่นความร้อนหรือ "ฮีทเวฟ" (Heat wave) หมายถึงอากาศร้อนจัดที่สะสมอยู่พื้นที่บริเวณหนึ่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. "แบบสะสมความร้อน" เกิดในพื้นที่ซึ่งสะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่ง ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้นเช่น หากพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิ 38-41 องศา แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน มักเกิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ ฯลฯ
2. คือ “แบบพัดพาความร้อน” มักเกิดขึ้นแถวทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คลื่นความร้อนชนิดนี้เกิดจากลมแรงหอบความร้อนจากทะเลทรายขึ้นไปในเขตหนาว มักเกิดในยุโรป แคนาดาตอนใต้ ฯลฯ

ปรกติประเทศไทยจะไม่ค่อยเกิดภาวะคลื่นความร้อน เพราะในหน้าร้อนเราจะได้อานิสงค์มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนเข้ามาช่วยปะทะทำให้เกิดฝนตกในช่วงเดือนเมษายน สำหรับกรณีทั่วไป

แก้ไขเมื่อ 12 พ.ค. 53 18:11:23

 
 

จากคุณ : Darth Prin
เขียนเมื่อ : 12 พ.ค. 53 18:03:18




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com