ความคิดเห็นที่ 1 |
ถึงเวลา(ต้อง)ทวงถามจริยธรรมนักวิจัย เรื่อง : วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ โพสต์ทูเดย์ 2 ตุลาคม 2550
นักวิทยาศาสตร์พันธุ์ใหม่-นักวิจัยลวงโลก เรื่องราวของนักวิจัยอนาคตวูบชาวเกาหลี หวัง วู ซุก ซึ่งกล่าวอ้างว่าย้ายฐานทีมวิจัยมายังประเทศไทยเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ภายหลังถูกถอดใบอนุญาตการค้นคว้าวิจัยในประเทศบ้านเกิด โดยนักวิจัยคนสนิทของเขา ปาร์ค เซ ปิล ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่ไปทั่วโลก ว่า สาเหตุการย้ายฐานวิจัยมาไทยก็เพื่อจะศึกษาวิจัยโดยสะดวก และด้วยความอิสระจากข้อขัดแย้งด้านศีลธรรม...ฟังแล้ว จี๊ดดดดด... ขึ้นมาในบัดดล ยิ่งไปกว่านี้ คือการกล่าวอ้างว่าการเดินทางมาประเทศไทยเป็นไปตามคำเชิญของสถาบันวิจัย 2 แห่ง ในการร่วมวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ สถาบัน 2 แห่งดังกล่าวระบุว่าแห่งหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ และอีกแห่งเป็นสถาบันเอกชน นั่นหมายความว่า หากคำกล่าวอ้างเป็นเรื่องจริง ก็แสดงว่าไม่เพียงจริยธรรมของนักวิจัยเกาหลีเท่านั้น...ที่ย่อหย่อน
จริยธรรมในโลกวิทยาศาสตร์
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่า จริยธรรมในโลกวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องพูดยาก ตีกรอบมากเกินไปก็ปิดกั้นการพัฒนาความรู้ ไม่มีหลักเกณฑ์เสียเลยก็เท่ากับทิ้งขว้างศีลธรรม สำหรับไทยไม่มีสิ่งที่เรียกว่ากติกาเฉพาะเรื่อง แต่มีสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรมการวิจัยทั่วไป (Genetic Research) ซึ่ง มสช. ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัดทำขึ้น กำหนดแนวทางการทำวิจัยในบางแง่มุม โดยเฉพาะมุมที่เกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์ เช่น สเต็มเซลล์และการโคลนนิง
การโคลนนิงคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ โดยไม่ผ่านกระบวนการผสมพันธุ์ตามปกติโดยไข่และสเปิร์ม แต่ใช้วิธีการสร้างตัวอ่อนจากดีเอ็นเอของเซลล์ที่โตเต็มที่ นำมาทดแทนดีเอ็นเอหรือนิวเคลียสของเซลล์ไข่ ซึ่งจะทำให้ไข่แบ่งตัวซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ นพ.สมศักดิ์ กล่าว
กรณีของ หวัง วู ซุก การทำสเต็มเซลล์จากการโคลนนิงของเขา หมายความถึงกระบวนการโคลนนิงเพื่อให้ได้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของมนุษย์ (Embryonic) ซึ่งในทางวิชาการเห็นตรงกันว่าเป็นแหล่งสเต็มเซลล์ที่ดีที่สุด นำไปใช้รักษาอาการผิดปกติของเซลล์ได้ดีกว่าสเต็มเซลล์ที่ได้จากแหล่งอื่น กระบวนการคือการสร้างตัวอ่อน (โคลนนิง) มนุษย์ขึ้น แต่ไม่ปล่อยให้โตเป็นคน ในช่วงแรกที่ไข่แบ่งตัวนี้เองที่สามารถแยกเก็บส่วนของสเต็มเซลล์ได้
เส้นแบ่งที่เลือนราง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กติกาในห้องทดลองออกแบบไม่ง่าย แนวคิดเรื่องการโคลนนิงมนุษย์มี 2 แบบ แบบแรก ห้ามเด็ดขาด แบบที่ 2 คือการโคลนนิงเพื่อสกัดสเต็มเซลล์ ซึ่งในหลายประเทศเริ่มมีท่าที ไม่ตัดสิน หมายถึงไม่ตัดสินว่าทำได้หรือทำไม่ได้ ประคับประคองกรอบไว้กว้างๆ เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยและเพิ่มโอกาสต่อยอดองค์ความรู้ สำหรับไทยอยู่ในกลุ่มที่ 2 นั่นคือการไม่ชี้ถูกและไม่ชี้ผิด
ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักวิทยาศาสตร์และนักเขียน กล่าวว่า แม้การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการโคลนนิงมนุษย์จะมีประโยชน์ในเรื่องของสเต็มเซลล์ที่นำไปใช้ทางการแพทย์ แต่การวิจัยก็ต้องมีเส้นแบ่งทางจริยธรรมว่าควรทำแค่ไหน รวมทั้งการพิจารณาว่าควรจะทำวิจัยร่วมกับใคร ซึ่งเป็นเรื่องของเกียรติภูมิและความเชื่อถือ กรณีของนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติที่กำลังเป็นข่าวย้ายฐานเข้ามา หลายฝ่ายเป็นห่วงเพราะนักวิจัยที่เสื่อมเสียย่อมดึงภาพลักษณ์วงการวิจัยทั้งหมด ทั้งๆ ที่เราเคยมีมาตรฐานจรรยาบรรณนักวิจัยที่ดีมาก
รายงานการวิจัยของ ดร.หวัง วู ซุก ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่วงการนักวิจัยทั้งเอเชีย แม้ปัจจุบันจะถูกดำเนินคดีต่อศาลที่เกาหลีใต้ แต่ที่สำคัญควรมีการแซงก์ชันหรือการลงโทษทางสังคมด้วย ดร.ชัยวัฒน์ กล่าว
หวัง วู ซุก ในประเทศไทย
แหล่งข่าวจาก สวช. เปิดเผยว่า ทายไม่ยากว่าใครร่วมมือกับใคร เนื่องจากสถาบันวิจัยในประเทศที่ทำวิจัยเรื่องสเต็มเซลล์มีไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่เป็นหน่วยวิจัยของมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล กรณีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมีที่ทำเรื่องสเต็มเซลล์ 3 แห่ง หรือกรณีที่เป็นสถาบันอื่นก็มีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีคณะกรรมการวิจัยในคนของหน่วยงานใดยื่นขอวิจัยหรือส่งรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับ หวัง วู ซุก อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงว่าผู้ไม่สุจริตจะไม่ยื่นแบบเสียก็ได้ เพราะ วช. ไม่มีอำนาจลงโทษทางอาญา
ดร.ธงชัย ทวิชาชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ทีเซลส์) กล่าวว่า ทีเซลส์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนักวิจัยต่างประเทศ นอกจากนี้ โครงการวิจัยของทีเซลส์ก็เป็นการวิจัยสเต็มเซลล์แบบสมบูรณ์ (Adult Stemcell) เท่านั้น และไม่สนใจสเต็มเซลล์จากการโคลนนิงตัวอ่อนมนุษย์ ซึ่งควบคุมยาก
ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สิ่งที่ทำในทันทีคือการออกหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานวิทยาศาสตร์ทั้งหมด เกี่ยวกับการสนับสนุนและดำเนินการวิจัยที่กำชับให้คำนึงถึงจรรยาบรรณ ศีลธรรมและจริยธรรมอย่างรอบคอบ กรณีของ หวัง วู ซุก เป็นเรื่องที่กระทรวงติดตามอยู่แล้ว และถือเป็นบุคคล ผู้มีข้อด่างพร้อยอย่างรุนแรง
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีข้อกฎหมายชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ก็มีเกณฑ์จรรยาบรรณที่รู้กันทั่วไป และจนกว่าสังคมไทยจะทำความเข้าใจกับประเด็นต่างๆ ได้ชัด การพิจารณาในงานวิจัยต้องถือหลักจริยธรรมเป็นหลักที่สำคัญที่สุด ดร.ยงยุทธ กล่าว และว่า ประเด็นการดึง หวัง วู ซุก โดยสถาบันในประเทศ ทันทีที่ทราบข่าวก็นึกไปถึงชื่อหรือกากบาทไว้ในใจแล้ว 2-3 ชื่อ และจะจับตาดูอย่างใกล้ชิด
สำหรับ หวัง วู ซุก กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นอุทาหรณ์ที่ดีของนักวิทยาศาสตร์ที่ล้ำเส้น เดิมพันสูง เวลาเสียก็เสียหมดหน้าตัก การทำวิจัยในเรื่องที่ล่อแหลมหรือคาบเกี่ยวต่อศีลธรรม พึงเป็นจริยธรรมที่นักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงภูมิควรรู้ได้ด้วยตัวเอง (อย่าให้ต้องทวงถาม
จากคุณ |
:
venture
|
เขียนเมื่อ |
:
วันวิสาขบูชา 53 15:26:52
|
|
|
|