 |
ความคิดเห็นที่ 88 |
ปกติไม่ค่อยได้เข้าห้องนี้ ตามลิงค์มาจากที่อื่นๆ
ขอ ตอบในฐานะคนที่เรียนมาทางสายชีววิทยา และพอที่จะได้ศึกษา และเขียนบทความทางอนุกรมวิธานอยู่บ้าง ทั้งพอที่จะมีความรู้ทางภาษาศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ และ ละติน ว่า
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาละติน รวมถึง Biological Latin นั้น เป็นภาษาที่เป็น อิสระต่อกัน คำของแต่ละภาษา อาจจะมีความหมายที่คล้ายกันหรือตรงกันในหลายส่วน แต่ก็มีที่แตกต่างกันในหลายส่วน ทั้งทางด้านความหมาย คำคู่เคียง การใช้คำในประโยค หรือประวัติความเป็นมาของคำ
การศึกษาสิ่งมีชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์ได้จัดระบบการตั้งชื่อและเรียกชื่อ โดยมีระบบการจัดหมวดหมู่ ในศาสตร์ของอนุกรมวิธาน โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม มีหลัก หรือ กฏ สากล มากำกับ อย่างเช่นในสัตว์ มี ICZN International Code of Zoological Nomenclature ซึ่งใช้ภาษาละตินลักษณะพิเศษจำเพาะ ซึ่งอาจจะเรียกว่า Biological Latin เพื่อใช้เรียกชื่อและจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตดังกล่าว เพราะ ในแต่ละภาษา คำหนึ่งคำอาจจะหมายได้ถึงสิ่งมีชีวิตมากกว่าหนึ่งชนิด และอาจจะหมายรวมถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมใดๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตหนึ่งชนิด อาจจะมีชื่อเรียกได้มากกว่าหนึ่งชื่อในภาษาเดียวกัน
1.
Biological Latin: Cetacea เรียกตาม ICZN ในระดับ Order Kingdom: Animalia Phylum: Chordata Class: Mammalia Subclass: Eutheria Order: Cetacea]
English: Whale Siamese : ปลาวาฬ, more formal วาฬ
2. Biological Latin: # Class Agnatha (jawless fish) # Class Chondrichthyes (cartilaginous fishes) # Class Osteichthyes (bony fishes) English : Fish Siamese : ปลา
3. Biological Latin: Kingdom: Animalia Phylum: Mollusca Class: Cephalopoda Subclass: Coleoidea Superorder: Decapodiformes Order: Sepiida Zittel, 1895 English : Cuttlefish Siamese : ปลาหมึกกระดอง, หมึกกระดอง
สรุปก็ คือ คำในแต่ละภาษา มีอิสระต่อกัน ตามความคิดและความเข้าใจของสมาชิกของสังคมภาษาแต่ละท้องถิ่น และห้วงเวลา
ยก เว้น Biological Latin ซึ่ง ถูกกำกับด้วยกฏ ICBN or ICZN ครับ
และ การที่ภาษาไทย ยังใช้ คำว่า ปลาหมึก หรือ ปลาวาฬ ก็ไม่ได้หมายความว่า ปลาหมึก และ ปลาวาฬ จะหมายถึงปลาในความหมายทางอนุกรมวิธาน (jawless fish) or (cartilaginous fishes) or (bony fishes) เพราะ มันไม่ใช่กลุ่มวลี ปลา + วาฬ หากแต่มัีนเป็นคำประสม ที่เกิดความหมายใหม่ ต่างจากความหมายที่มาจากรูปคำศัพท์เดิมโดยตรงครับ
อีกอย่างหากใช้ วาฬ เฉยๆ ตามแหล่งที่มาจากภาษาปาลี ก็หมายความได้หลายอย่าง เช่น งู, หรือสัตว์นักล่าเช่น อมนุสสา, ปลานักล่า (มัจฉานักล่า) (bony fishes) หรือ หากเรียกว่า วาฬมิค ก็หมายถึง เสือโคร่ง หรือ เสือดาว ได้ครับ
ตัวอย่าง อื่นๆ ที่นักอนุกรมวิธานไทย รุ่นเก่าสร้างความสับสน
เช่น บ่าง เป็นคำไทยเดิม ซึ่ง ไทอีสาน ไทเหนือ ไทดำ ไทขาว ไทแดง ไทใหญ่ ไทจ้วง และอื่นๆ ก็คงยังใช้หมายถึง Flying Squirrel จนถึงปัจจุบันครับ แต่ไม่ ทราบ นักอนุกรมวิธานไทยท่านใด เอามาใช้หมายถึง Colugo ซึ่งมีคำท้องถิ่นใต้เรียกว่า พุงจง อยู่แล้วครับ
สรุปอีกที คือ ภาษาไทยสยาม จะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นกับคนที่พูดภาษาไทยสยามเป็นภาษาแม่ทุกคน มีสิทธิที่จะใช้ สร้างสรร และสืบต่อภาษาไทยเท่าเทีียมกันครับ
ถ้ามี คนจะใช้ ปลาวาฬ ก็เป็นสิทธิของเขา ถ้ามีคนจะใช้ วาฬ ก็สิทธิของเขา ที่ สำคัญ ไม่น่าจะเอามาต่อว่ากันครับ ประเทศเราต้องการความสามัคคีครับ
ปล.
แต่เดิม ทอง หมายถึง Cu Copper ฅำ สะกดด้วย ฅ ฅน หมายถึง Au Gold
ครั้นต่อมา คนในแถบนี้ชอบอะไรที่สีแดง แต่ก็ยังหลงไหลคุณสมบัติของ Au เลยมีงาน ฅำเนื้อทอง ไม่แน่ใจว่าพยายามจะทำให้ ฅำมันสีแดงมากขึ้น คล้ายทองแดง แต่ยังคงคุณสัมบัติของฅำอยู่
จนเกิด คำว่า ทองเนื้อเก้า ขึ้น ทองจึงต้องเติมแดง กลายเป็น ทองแดง
และฅำ จึงกลายเป็น ทองฅำ ครับ
จากคุณ |
:
Paphmania
|
เขียนเมื่อ |
:
1 มิ.ย. 53 23:48:30
|
|
|
|
 |