 |
ความคิดเห็นที่ 10 |
http://www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?t=44734
ข้อมูลเรื่องอันตรายจากการใช้ขวดพลาสติก PET บรรจุน้ำดื่มซ้ำ จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งต่อมาเป็นทอดๆ ที่ระบุว่า ขวดพลาสติก PET (Polyethylene terephthalate) บรรจุน้ำดื่มหากมีการนำมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้งจะเกิดอันตรายจากสารพิษ Diethyl Hydroxylamine (DEHA) โดยก่อให้เกิดมะเร็ง นั้น ข้อมูลในจดหมายมีข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง หลายประการ เช่น 1. DEHA ไม่ได้เป็นอักษรย่อของสาร Diethyl Hydroxylamine แต่เป็นอักษรย่อมาจาก Diethylhexyl adipate ซึ่งเป็นตัว Plasticizer ที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพลาสติกบางอย่าง แต่ตัว Diethyl Hydroxylamine นั้นเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เป็นสารป้องกันสีซีดจางในรูปถ่าย ใช้ร่วมในการบำบัดน้ำเพื่อป้องกันการผุกร่อน และเป็นวัตถุดิบใน Silicone sealant และมีกลิ่นฉุนรุนแรงคล้ายแอมโมเนีย ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET แต่หากมีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และปนเปื้อนสู่น้ำดื่มก็น่าจะสามารถทราบได้ทันทีจากกลิ่น 2. สาร Diethylhexyl adipate (DEHA) ไม่มีการใช้ในการผลิตขวดพลาสติก PET และไม่ได้เป็นวัตถุดิบ หรือผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต (by-product) หรือสารที่ได้จากการย่อยสลายของขวด PET แต่อย่างใด แต่มีการใช้ในการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกจำพวก PVC (Polyvinyl Chloride) ที่ใช้ในการหุ้มห่ออาหาร ซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้บริโภคอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ และเนยแข็ง แต่เป็นไปในปริมาณที่น้อยมาก จนไม่สามารถก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้เลย 3. สาร Diethylhexyl adipate (DEHA) เป็นสารที่ International Agency for Research on Cancer (IARC) จัดอยู่ในประเภทสารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (Not classified as to its carcinogenicity to humans) 4. ทางอีเมลดังกล่าวได้ระบุว่าน้ำดื่มที่บรรจุในขวด PET มีโอกาสปนเปื้อนด้วย DEHA นั้นอาจมีสาเหตุมาจากการพบ DEHA ในน้ำดื่มก็ได้ จากการทดลองของ Dr.M.Kohler (Swiss Federal Laboratories for Materials Testing and Research, June 2003) พบว่ามีการปนเปื้อนของ DEHA อยู่ในน้ำดื่มบรรจุขวดจริง แต่การปนเปื้อนดังกล่าวนั้นจะเป็นการปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่มเอง เนื่องจากพบ DEHA ในน้ำดื่มที่บรรจุขวดแก้วด้วย อย่างไรก็ตามการปนเปื้อนของ DEHA ในน้ำดื่มบรรจุขวด PET ที่ทดสอบโดย Dr.M.Kohler นั้น พบว่าเป็นการปนเปื้อนที่ต่ำกว่าระดับที่ WHO กำหนดไว้มาก (พบการปนเปื้อนในช่วง 0.010-0.0046 ไมโครกรัมต่อลิตร ในขณะที่ WHO กำหนดให้น้ำดื่มพบ DEHA ได้ไม่เกิน 80 ไมโครกรัมต่อลิตร) 5. อันตรายจากการเก็บขวดน้ำดื่มที่เปิดดื่มไปแล้วบ้างไว้ในรถหรือการใช้ขวด พลาสติก PET ซ้ำนั้น อาจเกิดอันตรายจากการที่จุลินทรีย์ในน้ำดื่มเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่า ขวด PET นั้นผลิตขึ้นมาสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่มเพียงครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นำมาทำความสะอาดใหม่โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้ว นำมาใช้ซ้ำ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่อาจมีสารบางอย่างจากขวด PET หลุดมาเจือปนกับอาหาร ขวด PET ที่ใช้แล้วควรนำไปผ่านกระบวนการ Recycle เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่มากกว่าการนำกลับมาใช้ซ้ำ แม้ว่าการใช้ซ้ำนั้นจะไม่มีอันตรายจากการที่สารในขวด PET หลุดออกมาก็ตาม แต่ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์เนื่องจากการทำ ความสะอาดที่ไม่ดีพอ
แก้ไขเมื่อ 06 มิ.ย. 53 07:44:43
จากคุณ |
:
พอลล่า....เราเลิกกันเถอะ
|
เขียนเมื่อ |
:
6 มิ.ย. 53 07:44:25
|
|
|
|
 |