 |
ความคิดเห็นที่ 32 |
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ สิกขาบทที่ ๑ นี้มีองค์ ๕ คือ
๑.สัตว์นั้นมีชีวิต ๒.รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓.มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น ๔.พยายามฆ่าสัตว์นั้น ๕.สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น
การฆ่าที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าก็ตาม ยุยงให้สัตว์อื่นฆ่ากันก็ตาม เช่น จัดให้จิ้งหรีดกัดกันจนตายไป เป็นต้น ศีลก็ขาดทั้งนั้น
สิกขาบทที่ ๑
ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หมายถึง เว้นจากการฆ่าสัตว์ คำว่า"สัตว์"ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ ท่านประสงค์เอาทั้งมนุษย์ชาย-หญิงทุกวัย จนที่สุดแม้กระทั่งที่ยังอยู่ในครรภ์ และสัตว์ดิรัจฉานทุกชนิด
สิกขาบทที่ ๑ นี้มีข้อห้ามไว้ ๓ ประการ ได้แก่
๑.การฆ่า ๒.การทำร้ายร่างกาย ๓.การทรกรรม
ในสิกขาบทที่ ๑ นี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
การฆ่าโดยตรงศีลขาด, ส่วนการทำร้ายร่างกาย และการทรกรรม (ทรมาน) สัตว์ รวมเรียกว่า อนุโลมการฆ่า ศีลไม่ขาด เป็นแต่เพียงด่างพร้อยหรือศีลทะลุก็เรียก
การฆ่า
การฆ่า หมายถึง การทำให้ตาย แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่
๑.ฆ่ามนุษย์ ๒.ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
การทำร้ายร่างกาย
การทำร้างร่ายกายนี้ ทางฝ่ายศาสนาถือเป็น "บุพพประโยคของการฆ่า" แบ่งออกเป็น ๓ สถาน ได้แก่
๑.การทำให้พิการ ได้แก่ การทำให้อวัยวะบางส่วนเสีย เช่น การทำให้ตาเสีย การทำให้แขนหรือขาเสีย เป็นต้น ๒.การทำให้เสียโฉม ได้แก่ การทำร้างร่างกายให้เสียรูปเสียงาม แต่ไม่ถึงกับให้พิการ เช่น ๓.การทำให้เจ็บลำบาก ได้แก่ การทำร้างร่างกายซึ่งไม่ถึงกับเสียโฉม แต่เสียความสำราญ เช่น ชกต่อย เฆี่ยนตี
เข้าใจว่ายังมีหลายคนยังแยกแยะไม่ออกว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ ยังเข้าใจผิดเรื่องกฏแห่งกรรม
ถ้ามองแต่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวในปัจจุบันจะสนใจเพียงแต่วัตถุ ศาสตร์่ว่าด้วยการอธิบายวัตถุ แต่ขาดความเข้าใจถึงผลแห่งการเปลี่ยนแปลงวัตถุนั้นในจะเชื่อมโยงไปที่ความคิด จิตใจของสิ่งมีชีวิตอย่างไร ดังนั้น เรื่อง จริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณ มีขึ้นมาก็เพื่อลดความขัดแย้งในสังคมส่วนรวม ส่วนใครทำกรรมอะไรไว้ ย่อนได้รับการกระทำนั้นตอบแทน
จากคุณ |
:
venture
|
เขียนเมื่อ |
:
8 มิ.ย. 53 17:48:53
|
|
|
|
 |