 |
ความคิดเห็นที่ 4 |
ปัญหาจริงๆมันมีหลายอย่าง ผมขอลงลึกไปที่การเกษตรละกันเพราะนี้เป็นส่วนที่ศึกษามาโดยตรง
การเกษตรนี้การใช้น้ำค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งบางพื้นที่นั้นปลูกข้าว ถึง 3 รอบ ที่เขาต้องปลูกข้าว 3 รอบเพราะผลผลิตราคาค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องทำหลายๆรอบเพื่อที่จะได้เงินมาหาเลี้ยงชีพ
ลองคิดดูนะครับโดยทั่วไปแล้วเกษตรกรมีที่นา ราวๆ 6-10 ไร่ ไร่หนึ่งให้ผลผลิตประมาณ 600 - 900 กก. ราคาข้าวอ้างอิงให้ตันละประมาณ 9,000 - 10,000 ถ้าจำไม่ผิด สมมุติมีคนละ 10 ไร่ ก็ 9 ตัน ขายข้าวเปลือกได้ 90,000 บาทอย่างเก่ง ฟังดูแล้วเหมือนจะดี แต่ต้องหักค่าปุ๋ย ไร่ละ 1,200 ค่ายา ไร่ละ 1,200 (เดี่ยวนี้ราคามันเพิ่ม) ค่าจ้างไถ เก็บเกี่ยว รวมๆกันแล้วเกือบไร่ละ 3,000 - 4,000 ตีให้ 4,000 ละกันเผื่อเหลือเผื่อขาด ต้นทุน 40,000 บาท การทำนา 10 ไร่ ได้ราว 50,000 บาท ถ้าทำ 3 ครั้ง ก็ได้ 150,000 บาท นี้คืออย่างดีสุดที่เขาจะได้ ถ้าทำต่อเนื่อง 3 ครั้งต่อปี ถ้าอยุ่นอกเขตชลประทาน ก็ไม่สามารถทำได้ 3 ครั้ง ก็ได้แค่ 100,000 ต่อครอบครัว
แต่ใช่ว่าจะมีชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตัวเองถึง 10 ไร่ ส่วนใหญ่จะ 5-6 ไร่เท่าที่สำรวจมา ที่สำคัญสำหรับชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก บางคนทำได้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง จำเป็นอย่างมากที่ต้องทำ 3 ครั้งต่อปี ทำให้มีการใช้น้ำสูงมาก
มาดูราคาข้าวในท้องตลาด เมื่อผ่านโรงสี หรือพ่อค้าคนกลาง ข้าวที่ได้ซื้อขายเป็นกิโล ราคาราว 28-36 บาท (นี้เป็นข้าวแบ่งขายที่ตลาดทั่วไป) คิดปริมาณราคาตันละ 28,000 - 36,000 บาท จะเห็นว่ามันต่างกับข้าวเปลือกที่ได้อย่างมาก
ที่กล่าวมานี้ผมมีแนวทางแก้ปัญหา ใหนการพยายามแทรกแทรงตลาด ให้ตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวเปลือกจากเกษตรกร ให้ได้มูลค่าที่เหมาะสมเพื่อให้ชาวนาไม่จำเป็นจะต้องปลูกข้าวในรอบที่ 3 หรือแม้กระทั้งครั้งที่ 2 ไป ลดปัญหาการใช้น้ำ แต่อาจจะแก้ไขไม่ได้ก็ได้ เพราะชาวนาอาาจะเห็นว่าราคาดีเลยทำหนักกว่าเดิมอีก 555 กรณีนี้เคยเกิดมาแล้วเมื่อปี 50 มั้งที่ราคาข้าวมันแพงมากๆ อีกฤดูการเพาะปลูกชาวสวนลิ้นจี่ ลำไยแถวภาคเหนือถึงกับล้มไม้ผลยืนต้นของตัวเองเพื่อแปลงเป็นพื้นที่นา ในฤดูการเพาะปลูกถัดไปเลยละ (ปล. แล้วข้าวฤดูนั้นมึนดันราคาลงต่ำกว่าเกณ์พอดีซวยเลย)
หรือแม้กระทั้งการหาพืชใหม่ที่ใช้น้ำน้อยและมีมูลค่าเพียงพอที่สามารถทดแทนการปลูกข้าว เพราะนอกจากมีผลดีในการลดการใช้น้ำแลวยังจะเป้นการเพิ่มมูลค่าของข้าวไปด้วย เพราะการที่ชาวนาไทยปลูกข้าวในปริมารมาก ทั้ง 3 ฤดู ส่งผลให้ข้าวออกมาในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ผลผลิตจำนวนมากเช่นนี้ ปริมาณราคาก็ลดต่ำลงอยู่แล้ว
ส่วนปัญหาภัยแล้งและแนวทางแก้ไขจากแหล่งอื่น มีอะไรก็มาแชร์กันละกันครับ
จากคุณ |
:
ขิงเจอเป็นประจำ
|
เขียนเมื่อ |
:
8 มิ.ย. 53 15:05:12
|
|
|
|
 |