|
ความคิดเห็นที่ 2 |
อธิบายแบบง่ายๆ ไม่หนักไปทางวิชาการนะครับ จะได้เข้าใจ
การรักษามะเร็งด้วยรังสีทำได้สองวิธีคือ การฉายรังสีจากภายนอกหรือรักษาด้วยรังสีระยะไกล (Co-60, เครื่องเร่งอนุภาค) และรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ (ใส่แร่/ฝังแร่)
โดยปกติการรักษามะเร็งในบริเวณนั้นจะใช้การฉายรังสีจากภายนอกด้วยเทคนิคง่ายๆ (ฉายรังสีไปยังผู้ป่วยไม่กี่ทิศทาง) แต่เนื่องจากมะเร็งในบริเวณนั้นอยู่ติดกันกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ตรง ทำให้อวัยวะทั้งสองได้รับปริมาณรังสีในระดับใกล้เคียงกับก้อนมะเร็ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อวัยวะทั้งสองมีความทนทานต่อรังสีน้อยกว่าก้อนมะเร็ง ดังนั้นถ้าเราฉายรังสีจากภายนอกไปเรื่อยๆ จนทำลายก้อนมะเร็งได้หมด อวัยวะทั้งสองก็จะเสียหายไปด้วย กลายเป็นว่าผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งแต่ระบบขับถ่ายไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้จึงถูกนำมาใช้ เพื่อเพิ่มปริมาณรังสีให้แก่ก้อนมะเร็ง
ข้อดีของการรักษาด้วยรังสีระยะใกล้คือ รังสีจะถูกฉายไปยังบริเวณใกล้ๆ ในปริมาณสูง แล้วก็ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ทำให้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีในปริมาณสูง ในขณะที่เนื้อเยื่อปกติได้รับรังสีในปริมาณน้อยมาก
ดังนั้นเมื่อเรารวมปริมาณรังสีที่ได้รับจากการรักษาด้วยรังสีระยะไกลและระยะใกล้เข้าด้วยกัน ก้อนมะเร็งก็จะได้รับรังสีจนถึงปริมาณรังสีที่กำหนด (ก้อนมะเร็งถูกทำลายจนหมด) ส่วนอวัยวะสำคัญที่อยู่ใกล้เคียงได้รับปริมาณรังสีในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
รังสีรักษาระยะใกล้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามอัตราการแผ่รังสีของวัสดุกัมมันตรังสี คือ 1) High dose rate (HDR) เช่น Ir-192 2) Medium dose rate 3) Low dose rate (LDR) เช่น Cs-137, Ra-226 อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ HDR จะใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่า LDR ทำให้ใช้เวลาในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง
สำหรับ Ra-226 คิดว่าถูกยกเลิกแล้วในทุกหน่วยงาน ที่คงเหลือใช้ในปัจจุบันและนิยมใช้กันก็มี Ir-192 และ Cs-137
ข้อดีของ Ra-226 ที่พอจะนึกออกก็มีอายุครึ่งชีวิตที่ยาวนาน ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนแหล่งกำเนิดรังสีบ่อย และไม่ต้องคำนวณการสลายตัวในระหว่างการรักษา
จากคุณ |
:
Fumine
|
เขียนเมื่อ |
:
17 มิ.ย. 53 01:06:16
|
|
|
|
|