 |
ความคิดเห็นที่ 15 |
เห็นมีข้อมูลแบบคร่าวๆอยู่เนาะ...ละเอียดคงต้องถามหมอจีนเอง
http://cmed.hcu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=28&Itemid=27
4. การตรวจชีพจร(脉诊)
ตำแหน่งของการตรวจชีพจรจะอยู่บริเวณข้อมือด้านในทั้ง 2 ข้าง โดยวางนิ้วกลางที่จุดกวน ซึ่งอยู่บริเวณที่มีกระดุกข้อมือนูนขึ้นมา วางนิ้วชี้ถัดจากนิ้วกลางไปทางปลายนิ้วมือของผู้ป่วยที่จุดชุน ส่วนจุดฉื่อ ให้วางนิ้วนางถัดจากนิ้วกลางค่อนไปทางต้นแขนโดยให้วางทั้ง 3 นิ้วเรียงติดกัน คือ ตำแหน่ง ชุ่น กวน ฉื่อ ตำแหน่งของชีพจรจะมี 3 ตำแหน่งในแต่ละข้าง สามารถตรวจสอบบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายได้ดังนี้
จุด ข้อมือซ้าย ข้อมือขวา ชุ่น (寸) หัวใจ ลำไส้เล็ก ปอด ลำไส้ใหญ่ กวน(关) ตับ ถุงน้ำดี ม้าม กระเพาะอาหาร ฉื่อ(尺) ไตยิน กระเพาะปัสสาวะ ไตหยาง (มิ่งเหมิน)
ชีพจรแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
1. ชีพจรของคนปกติ
โดยทั่วไป การเต้นของชีพจรจะไม่ใหญ่ ไม่เกิน ไม่เล็ก ไม่ผิว ไม่ลึก ไม่เร็ว ไม่ช้า ขณะที่หายใจเข้าออกเต้น 4 หรือ 5 จังหวะ สม่ำเสมอ แต่ชีพจรของคนปกติอาจเปลี่ยนไปตามอายุ เพศ เวลา ร่างกาย และสภาวะทางจิตใจได้ เช่น เด็กชีพจรจะเต้นไวกว่าผู้ใหญ่ ชีพจรของ ผู้หญิงเต้นเร็วกว่าผู้ชาย คนแข็งแรง คนที่ทำงานหนัก ชีพจรจะใหญ่ และเต้น เร็ว คนที่ทำงานเบาใช้สมอง ชีพจรจะเล็ก และไม่มีแรง หลังจากออกกำลัง กายใหม่ๆ ชีพจรจะเต้นเร็ว คนที่นอนหลับเพิ่งตื่น หรือพักผ่อนมาก ชีพจรจะ เต้นช้า เป็นต้น
2. ชีพจรของคนป่วย
แพทย์จีนโบราณ ได้ค้นพบว่า การเต้นของ ชีพจรคนที่ป่วยมีลักษณะการเต้นที่แตกต่างกันมากมายหลายแบบ และ ซับซ้อนโดยได้แบ่งลักษณะการเต้นของชีพจรแบบต่าง ๆ มีทั้งหมด 28 แบบ ซึ่งการเต้นในแต่ละแบบแต่ละชนิดได้บ่งบอกถึงอาการ และชนิด ของโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในของคนนั้นแตกต่างกันด้วย
ประเภทชีพจรลอย (浮脉类) การเต้นของชีพจรมีลักษณะลอย หมายถึง เมื่อใช้นิ้วทั้ง 3 นิ้ว สัมผัสลงที่ชีพจรเบาๆ ก็พบชีพจร แสดงว่าโรคนั้นยังเกิดอยู่ภายนอก ยังไม่ได้เข้าถึงภายใน 1.ชีพจรลอย (浮脉) สัมผัสเบาๆจะพบชีพจร คล้ายท่อนซุงลอยน้ำ,เวลาที่กดจมเล็กน้อย จะลอยขึ้นทันทีที่ปล่อยมือ 2. ชีพจรเต็ม (洪脉) การเต้นของชีพจรลอย และชนนิ้วมือแรง แสดงว่า อาการของผู้ป่วยคือ อาการไข้ ความร้อนสูง 3. ชีพจรกระจาย (散脉) การเต้นของชีพจรลอย และเต้นมาชนนิ้ว มือลักษณะกระจายหลวมๆ แสดงว่า อาการของผู้ป่วยคือ โรคไตที่ขาดพลัง 4. ชีพจรกลวง (芤脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไป แล้วรู้สึกกลวงเหมือนกดลงบนใบไม้ที่ลอยอยู่ แสดงว่า ผู้ป่วยนั้นขาดโลหิต หรือเสียโลหิตมากเกินไป เช่น หลังได้รับการผ่าตัด เสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ต่างๆ สตรีตกโลหิต 5. ชีพจรหนังกลอง (革脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไป แล้ว รู้สึกแข็งเหมือนกับหนังกลอง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการของพลังอิม และ เอี๊ยงไม่ประสานกัน 6. ชีพจรนิ่ม (濡脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไปเบาๆรู้สึก ว่าชีพจรนั้นเล็ก และนิ่ม แสดงว่า ผู้ป่วยมีความร้อนในร่างกายปนกับความชื้น
ประเภทชีพจรจม (沉脉类) การเต้นของชีพจรมีลักษณะจม หมายถึง เมื่อใช้นิ้วมือ ทั้ง 3 นิ้วกดลงไปแรงๆจึงจะสัมผัสชีพจรได้ ถ้าแตะนิ้วเบาๆจะไม่รู้สึก หรือ รู้สึกแผ่วเบามาก แสดงว่า โรคนั้น ได้เกิดอยู่ส่วนลึกของอวัยวะภายในแล้ว 1. ชีพจรจม (沉脉) อยู่ลึก แตะเบาๆไม่เจอชีพจร ต้องกดลงไปแรงๆจึงจะพบการเต้นของชีพจร แสดงว่าโรคได้เข้าสู่ภายใน 2. ชีพจรจมลึก (伏脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไปต้อง กดนิ้วให้หนักจนจมลงไปถึงกระดูก จึงจะสัมผัสชีพจรได้ เพราะชีพจร หลบอยู่ที่ซอกกระดูก แสดงว่า โรคนั้นหลบซ่อนอยู่ภายในอวัยวะ 3. ชีพจรแข็ง (牢脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไปต้อง กดนิ้วลงไปแรงๆ จึงจะสัมผัสชีพจรได้ และการเต้นของชีพจรนั้นมีชีพจรที่ ใหญ่ และเต้นแรง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการที่สะสมไว้นาน ซึ่งจะพบว่า อุจจาระของผู้ป่วยเป็นก้อนแข็ง การสะสมเช่นนี้อาจจะ เป็นการสะสมความเย็น 4. ชีพจรอ่อน (弱脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไป ต้องกดนิ้วลงไปแรงๆจึงจะสัมผัสชีพจรได้ แต่ชีพจรนั้นจะอ่อนมาก เล็ก และ ค่อย แสดงว่า ผู้ป่วยอาการพลังธาตุไฟกำลังจะสิ้น 5. ชีพจรสั้น (短脉)เมื่อสัมผัสนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรจะเต้นแบบสั้นๆ เป็นชีพจรที่สัมผัสยากมาก ชีพจรสั้นนี้ส่วนมากมักร่วมกับชีพจรเล็กในผู้ที่อ่อนแอ ลักษณะการเต้นของชีพจรสั้นนี้หากพบร่วมอยู่ในผู้ป่วยอาการใด อาการก็จะยิ่งหนักมากขึ้น 6. ชีพจรยาว(长脉) เมื่อสัมผัสนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรนั้นจะมีลักษณะยาวเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งมีระยะความยาวของชีพจรจากจุดนิ้วชี้ที่ข้อมือยาวถึงข้อพับศอกด้านใน ชีพจรยาวแต่เต้นไม่ไว ไม่แรง เต้นช้าแบบปกติธรรมดา แสดงว่า ผู้นั้นไม่ป่วยไม่ไข้ หากผู้นั้นเป็นคนที่แข็งแรง ถ้าการเต้นของชีพจรยาว และเต้นแรง และแข็ง ก็จะต้องวินิจฉัยถึงความร้อนภายในร่างกายย่อมมีความร้อนสูง ซึ่ง จะต้องเป็นความร้อนของตับ แสดงว่า พลังของตับติดขัด ไม่สมดุลจึงเกิดความ ร้อน และอาจมีเสมหะมากแทรกซ้อนด้วย ถ้าหากชีพจรยาว แข็ง ไม่ลอย แต่ก็ ไม่ถึงกับจม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามเส้นเอ็น
ประเภทชีพจรช้า (迟脉类) 1. ชีพจรช้า (迟脉) เมื่อแตะนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร แล้วหายใจเข้าออก ชีพจรนั้นเต้นได้ 4 ครั้ง ต่อการหายใจเข้าออกหนึ่งครั้ง ด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ ถ้าเต้นมีกำลัง แสดงว่ามีความเย็นสะสมมาก ถ้าเต้นไม่มีกำลัง แสดงว่า ชี่พร่อง 2. ชีพจรเนิบช้า (缓脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไป ที่ชีพจร แล้วชีพจรนั้นเต้นได้แค่ 2 หรือ 3 ครั้ง เท่านั้น แสดงว่า ผู้ป่วยมี อาการไข้เย็น 3. ชีพจรฝืด (涩脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไปที่ ชีพจร การเต้นของชีพจรเต้นช้าแบบหนืดๆคล้ายไม่ไหล แสดงว่า ผู้ป่วยนั้น มีโลหิตจาง 4. ชีพจรสะดุด (结脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไป ที่ชีพจร แล้วมีลักษณะชีพจรเต้นช้า และมีการหยุดเป็นพักๆ ไม่มีกฏเกณฑ์แน่นอน แสดงว่า ชี่และการไหลเวียนเลือดติดขัด หรือมีความเย็นสะสม 5. ชีพจรขาด (代脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไปที่ ชีพจร แล้วการเต้นของชีพจรนั้นช้า และมีการหยุดจังหวะการเต้น จังหวะ ใดจังหวะหนึ่งอย่างแน่นอนโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนไปที่จังหวะอื่น แสดงว่า พลังของอวัยวะตันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ
ประเภทชีพจรเร็ว (数脉类)
1.ชีพจรเร็ว (数脉) เมื่อแตะนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรนั้นเร็วกว่าคนธรรมดา ชีพจรจะเต้นได้ 5 - 6 ครั้งขึ้นไป ต่อการหายใจหนึ่งครั้ง แสดงว่า อาการไข้ของผู้ป่วยมี ความร้อนอยู่ในอวัยวะ 2. ชีพจรลื่น (滑脉) การเต้นของชีพจรจะมีลักษณะเร็ว และลื่น แสดงว่า ผู้ป่วยมีเสมหะเสลดมาก แต่อาการเช่นนี้ หากไม่มีอาการอื่นแทรก ซ้อน อาจเป็นคนไม่มีไข้ก็เป็นได้ 3. ชีพจรเร่ง (促脉) การเต้นของชีพจรมีลักษณะเร็ว และเร่ง แต่ในการเต้นจะมีจังหวะหยุด แต่ไม่แน่นอนไม่มีกฏเกณฑ์ แสดงว่า ผู้ป่วยมีความร้อนสุมอยู่ในอก 4. ชีพจรเต้น (动脉) การเต้นของชีพจรมีลักษณะเร็ว เมื่อนิ้วมือ ทั้ง 3 นิ้วสัมผัสลงไปที่ชีพจร นิ้วกลางจะเต้นแรงกว่านิ้วอื่น คล้ายเม็ดถั่วดำ สั้นๆเต้นขึ้นกระทบนิ้วกลางนิ้วเดียว แสดงว่า ผู้ป่วยมีการตกโลหิต หรือคน ป่วยได้รับความกลัวสุดขีด 5. ชีพจรรัว (疾脉) การเต้นของชีพจรมีลักษณะเต้นรัวแบบถี่ยิบ การหายใจเข้าออกชีพจรจะเต้นเร็วถึง 7 - 8 ครั้ง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการไข้ ที่ตกอยู่ในขั้นอันตรายมาก ต้องระวัง
ประเภทชีพจรพร่อง (虚脉类)
1. ชีพจรพร่อง (虚脉) สัมผัสทั้งสามระดับ จะรู้สึกว่าไม่มีกำลัง หรือเมื่อสัมผัสเบา รู้สึกไม่มีแรง เล็ก แต่พอกดลึกแล้วหายไป 2. ชีพจรเล็ก (细脉) เมื่อสัมผัสนิ้ว มือลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรจะเล็กคล้ายเส้นดาย หรือใยแมลงมุม แสดงว่า ผู้ป่วยมีพลังน้อย 3. ชีพจรฝอย (微脉) การเต้นของชีพจรมีลักษณะเล็กจนเป็นฝอย คล้ายไม่มีชีพจร แสดงว่า ผู้ป่วยมีพลัง และโลหิตน้อย เพราะธาตุไฟกำลัง ใกล้จะมอด ชีพจรลักษณะเช่นนี้ไม่ว่าจะลอยหรือจม จัดเป็นชีพจรที่อันตราย
ประเภทชีพจรแกร่ง (实脉类) 1. ชีพจรแกร่ง (实脉) มีลักษณะใหญ่ และการเต้นมาชนนิ้วมือแรง หรือแข็งเกินไป รู้สึกเต็มมือ แสดงว่า มีภาวะแกร่ง เนื่องจากมีความเย็น หรือความร้อนสะสมอยู่มาก เกิดการสะสมของเสมหะ ชี่อุดกั้น เลือดอุดกั้น 2. ชีพจรแน่น (紧脉) การเต้นของชีพจรนั้นเต้นแรง แต่ไม่คงที่ คล้ายเชือกที่ตึงและบิดแน่น แสดงว่า มีการสะสมความเย็นในร่างกายมาก หรือมีอาการปวด มีอาหารตกค้างภายใน
3. ชีพจรแบบประหลาด
คือ ผู้ที่มีชีพจรเต้นไม่เหมือนชีพจร ธรรมดาที่ไม่มีไข้ หรือที่มีไข้ เป็นลักษณะชีพจรของผู้ป่วยที่ใกล้จะสิ้นใจ มี 7 ชนิด ดังนี้ 1. นกกระจอกจิก (雀啄脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยหลบอยู่ ในเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ การเต้นเหมือนกับนกกระจอกจิกข้าวเปลือก จิกๆหยุดๆ 2. หลังคารั่ว (屋漏脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเต้นอย่างไม่มีจังหวะ เหมือนหลังคาที่มีรูรั่ว เมื่อฝนตก น้ำที่ไหลจากรูรั่วนั้น จะหยดลงมานานๆ สักหนึ่งหยด และบางครั้งก็หยดลงมาทีละ 2 หรือ 3 หยดติดต่อกัน 3. ระเบิดหิน (弹石脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยหลบอยู่ในเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ เต้นแบบไม่มีจังหวะ ชีพจรแข็ง เต้นๆหยุดๆแบบกระตุก เหมือนระเบิด 4. แก้เชือก (解索脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเต้นอย่างไม่มี ระเบียบยุ่งๆเหยิงๆ สับสนจนไม่รู้เรื่อง เหมือนกับการแก้เชือกที่ยุ่งเหยิง 5. ปลาสะบัดหาง (鱼翔脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเมื่อวางนิ้ว มือลงไปทั้ง 3 นิ้วอย่างแผ่วๆ จะสัมผัสได้ว่า การเต้นของชีพจรนั้นลอย หัวชีพจรจะนิ่ง แต่ปลายชีพจรจะสะบัด เหมือนปลาที่กำลังว่ายน้ำอยู่ บนผิวน้ำ ส่วนหัว และตัวปลานิ่ง ส่วนหางสะบัด 6. กุ้งว่ายน้ำ (虾游脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยที่เต้นลอย และนานๆ มีการเต้นแบบดีดครั้งหนึ่ง เหมือนกับกุ้งว่ายน้ำ 7. กระเพื่อม (釜沸脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยที่เต้นลอย เมื่อสัมผัส ดูคล้ายกับน้ำที่เต็มแก้วแล้วกระเพื่อมหกออกมา
จากคุณ |
:
ตุ้บตั้บ
|
เขียนเมื่อ |
:
27 มิ.ย. 53 23:26:58
|
|
|
|
 |