 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
|
ปริมาณกาซธรรมชาติในประเทศไทยมีเท่าใดแน่
ถ้าถามออกไปว่า ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมีมากน้อยเท่าใด จะใช้ได้อีกกี่ปี ท่านคงได้คำตอบกลับมาหลากหลาย ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าหมดใน 18 ปี อีกฝ่ายก็บอกว่ามีใช้ได้ 50 ปี ถึงเวลานั้นก็มีเทคโนโลยีพลังงานประเภทอื่นมาทดแทนแล้ว
จริงแล้ว ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ที่มีการกล่าวอ้างถึงนั้น พอแยกได้เป็น 3 ระดับ คือ
* Proved Reserve คือ ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว มีความมั่นใจที่จะผลิตได้ ในอนาคตจากแหล่งสำรวจที่พบแล้ว ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยทั่วไปมีความน่าจะเป็นเกินกว่า 90%
* Probable Reserve คือ ปริมาณสำรองที่มี ความเชื่อมั่นและเป็นไปได้ในการผลิตได้ในอนาคตจากแหล่ง สำรวจที่พบแล้ว ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดยทั่วไปมีความน่าจะเป็นเกินกว่า 50%
* Possible Reserve คือ ปริมาณสำรองที่เป็นไปได้หรืออาจจะเป็นในการผลิต ได้ในอนาคตจากแหล่งสำรวจที่ พบแล้ว ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น แต่มีความเชื่อมั่นและเป็นไปได้ในการผลิตเกินกว่า 10%
ทั้งนี้การนำไปใช้ งาน จะแบ่งเป็น
* 1P เฉพาะปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว * 2P ปริมาณสำรองที่พิสูจน์ แล้ว รวมกับ Probable Reserve * 3P ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว รวมกับ Probable Reserve และ Possible Reserve
จากข้อมูลปริมาณการสำรองก๊าซ ธรรมชาติในประเทศของกรมทรัพยากรธรณี ณ 31 ธันวาคม 2543 โดยแหล่งสำรองก๊าซฯ ในประเทศไทยจะประกอบด้วย แหล่งอ่าวไทย ซึ่งรวมพื้นที่คาบเกี่ยว ไทย – มาเลเซีย แหล่งที่ราบสูงโคราช และแหล่งที่ราบภาคกลาง หากเป็นสำรอง 1P จะมีปริมาณ 12.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต 2P จะมีปริมาณ 22.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และ 3P จะมีปริมาณ 33.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
อย่าง ไรก็ตาม ประเทศไทยมีการใช้ก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ได้แก่ พม่า (แหล่งยาดานา และแหล่งเยตากุน) ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าจากสหภาพพม่าวันละ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต และในอนาคตก็อาจรับซื้อจากที่อื่น ได้แก่ เวียดนาม และพื้นที่คาบเกี่ยวไทย – กัมพูชา โดยปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ในส่วนที่สามารถ พัฒนานำมาใช้ในประเทศไทยได้อยู่ในระดับ 9.5 – 19.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
สำหรับ ข้อมูลปริมาณสำรองก๊าซฯ 1P ในประเทศ เป็นปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว มีความแน่นอนมากที่สุด ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงแหล่งพลังงานในประเทศว่ามีมากน้อยเพียงใด
ใน การคำนวณอายุการใช้งานของก๊าซธรรมชาติ จะคำนวณโดยนำปริมาณสำรองก๊าซฯ มาหารด้วยปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ
ทั้งนี้ปริมาณสำรองก๊าซฯ จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้นิยามปริมาณสำรอง 1P 2P หรือ 3P โดยในการวางแผนมักจะใช้ 1P หรือ 2P เพราะค่อนข้างมีความแน่นอน ส่วนปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ อาจจะเลือกใช้ความต้องการใช้ก๊าซฯ คงที่เท่ากับใน ปัจจุบัน (คือประมาณ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต/ปี) หรือปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไปตามคาด การณ์ในอนาคตก็ได้ สำหรับความต้องการใช้ก๊าซฯ นั้น ปตท. ได้ประมาณว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2,444 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2545 เป็น 3,914 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี 2559
ดังนั้นการคำนวณอายุ การใช้งานของก๊าซฯ ทั้งในปท ไทย และ เพื่อนบ้าน
หากใช้ปริมาณสำรอง 1P ของทั้งแหล่งในประเทศและในประเทศเพื่อนบ้าน และใช้ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นตามการพยากรณ์ของ ปตท. ซึ่งผลที่ได้ จะสามารถใช้ก๊าซฯ ได้อีก 18 ปี
หากใช้ปริมาณสำรอง 2P (Proved + Probable) สำหรับแหล่งในประเทศ และในประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีความต้องการใช้ก๊าซฯ เพิ่มขึ้นตามการประมาณการของ ปตท. จะมีก๊าซฯ ใช้ได้รวมทั้งหมดอีก 24 ปี
อย่างไรก็ตามหากใช้ปริมาณ 3P ของทั้งแหล่งในประเทศ และในประเทศเพื่อนบ้าน และแม้ว่าปริมาณการใช้ก๊าซฯ ไม่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยก็จะมีก๊าซใช้อีก 50 ปี แต่ 3P นี้มีความไม่แน่นอนสูง
จากคุณ |
:
โลกร้อน
|
เขียนเมื่อ |
:
28 มิ.ย. 53 20:34:25
A:58.8.40.184 X: TicketID:216158
|
|
|
|
 |