 |
GT 200 again
|
|
วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:04:04 น. มติชนออนไลน์
"บิ๊กป้อม"เมินเสียงค้าน การันตี ทีจี200 ประสิทธิภาพ-แม่นยำที่สุด กองทัพบกจัดซื้ออื้อซ่า757เครื่อง
เมื่อไม่นานมานี้ นายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง เครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 ต่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อถามพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยกระทู้ของนายวัชระ ถามว่า ตามที่สื่อมวลชนหลายแขนงได้เสนอข่าวเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุ ระเบิด จีที 200ของกองทับบก ซึ่งมีรายงานการใช้ว่า การตรวจจับวัตถุแต่ละชนิดจะมีการ์ดอยู่หลายแบบรวมราคา แล้วประมาณ เครื่องละ 1 ล้านบาทเศษ
ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ของไทยออกมาเสนอข้อโต้แย้ง ว่าหลักการเดียวกันนี้สามารถผลิตได้ในราคาที่ต่ำกว่า แต่จากการแถลงของกองทัพบกได้ระบุว่าจะมีการ จัดซื้อมาใช้ในกองทัพอีกหลายเครื่อง ดังนั้นควรที่จะมีการตรวจสอบสมรรถนะของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด รุ่นจีที 200 ว่า สามารถใช้งานได้ตามที่ต้องการใช้ และซื้อมาในราคาที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน
กระทู้ของนายวัชระขอให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตอบกระทู้ 4 ข้อ ดังนี้ 1. ปัจจุบันกองทัพไทยมีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 มาใช้จำนวนกี่เครื่อง ราคาเครื่องละเท่าใด ซื้อมาเมื่อใด และปัจจุบันใช้งานได้จำนวนกี่เครื่อง ขอทราบรายละเอียด
2 . กองทัพบก มีข้อมูลทางวิชาการที่แสดงถึงสมรรถนะและส่วนประกอบของเครื่อง จีที 200 อย่างไรบ้าง ขอทราบรายละเอียด
3.. กองทัพบกจะนำข้อโต้แย้งของนักวิทยาศาสตร์ของไทยมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อเครื่อง จีที 200 มาใช้เพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
4 . กองทัพมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการ ให้คุ้มค่าอย่างไรบ้าง ขอทราบรายละเอียด
ล่าสุด วันที่ 2 กรกฎาคม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตอบกระทู้ของนายวัชระ ผ่านทางราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
คำตอบที่ 1 กระทรวงกลาโหมมีเครื่องตรวจ วัตถุระเบิด จีที 200 ดังนี้ กองทัพบก ใช้งานในราชการ ปัจจุบันมีจำนวน 757 เครื่อง โดยสรุปข้อมูลการจัดซื้อ แยกตามห้วงปี ดังนี้ จัดซื้อปี 2550 จำนวน 26 เครื่อง ปี 2551 จำนวน 184 เครื่อง และปี 2552 จำนวน 547 เครื่อง
กองทัพเรือ ใช้งานในราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ปัจจุบันมีจำนวน 79 เครื่อง จัดหาโดยใช้งบประมาณของกองทัพเรือ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จำนวน 41 เครื่อง เพื่อใช้ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ จำนวน 14 เครื่อง ทัพเรือภาคที่ 2 จำนวน 4 เครื่อง ทัพเรือภาคที่ 3 จำนวน 3 เครื่อง กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ จำนวน 1 เครื่อง เหลือคงคลัง ณ กรมสรรพาวุธทหารเรือ จำนวน 19 เครื่อง
นอกนั้นได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภาย ในราชอาณาจักรภาค 4 ส่วนหน้า จำนวน 37 เครื่อง เพื่อใช้งานในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดนราธิวาส จำนวน 1 เครื่องเพื่อใช้งานในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ใช้งานในราชการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 และจัดหาเพิ่มเติมตามความต้องการ ของผู้ใช้มาโดยตลอด ปัจจุบันมีจำนวนรวม 26 เครื่อง (ประจำการที่ดอนเมือง 4 เครื่อง กองบิน ต่างจังหวัด และจังหวัดปัตตานี 22 เครื่อง)
การจัดหาเครื่องตรวจวัตถุระเบิดของเหล่าทัพ เป็นการดำเนินการจัดหาตามความต้องการ ของหน่วยใช้ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการจัดหาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ราคาในการจัดหาขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะ จำนวน และยี่ห้อของเครื่อง ซึ่งแต่ละเหล่าทัพจะกำหนดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานของตน
คำตอบที่ 2 กองทัพบก ได้รับทราบข้อมูลเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 จากกองทัพอากาศ ซึ่งเป็น หน่วยงานที่นำเข้ามาใช้เป็นเหล่าทัพแรก จากการศึกษาข้อมูลในเบื้องต้น ทราบว่า จีที 200 เป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศอังกฤษผลิตโดยบริษัท GLOBAL TECHNICAL มีการใช้งานมานานกว่า 15 ปี ในหลายประเทศ เครื่อง จีที 200 ดังกล่าวใช้เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อยืนยันการตรวจ และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการตรวจค้นให้มากขึ้น โดยใช้ตรวจหาวัตถุระเบิด สารเสพติด อาวุธปืน กระสุนดินดำ (เขม่าดินปืน) สามารถตรวจผ่านกำแพง หรือวัตถุที่ปิดกั้นชนิดต่าง ๆ ได้ตัวเครื่องไม่มีสารพิษ หรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้อยู่ใกล้ กองทัพบกได้ทำการทดสอบเครื่องมือ ที่มีลักษณะ การทำงานคล้าย ๆ กัน จาก 3 ยี่ห้อ คือ จีที 200 , SNIFFEX, ALFA 6 ซึ่งผลการทดสอบ และการ ใช้งานพบว่า จีที 200 มีความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของหน่วยใช้ และมีประสิทธิภาพดีที่สุด
กล่าวคือ สามารถแยกชนิดของสารที่จะตรวจได้ มีระยะการตรวจที่ไกลกว่า และสามารถตรวจสารได้ มากกว่าตามชนิดของ SENSOR CARD ที่ใช้ และมีความแม่นยำกว่ายี่ห้ออื่น
คำตอบที่ 3 ในทางปฏิบัติกองทัพบกอาศัยสถิติการใช้งานที่ได้ผลของเครื่องตรวจมวลสาร จีที 200ของหน่วยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ห้วงเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 ซึ่งสามารถตรวจค้นหาสารเสพติด อาวุธปืน วัตถุระเบิด บุคคล และรายการอื่น ๆ ได้ทั้งหมด 236 ครั้ง นอกจากนั้นในส่วนของกำลังป้องกันชายแดนมีผลการตรวจพบและจับกุมยาเสพติด และอาวุธปืน รวมทั้งสิ้น 118 ครั้ง ประกอบกับความต้องการ ของหน่วยใช้เป็นปัจจัยในการจัดหา เครื่องมือดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีแผนการจัดหาเพิ่มเติม
คำตอบที่ 4 การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทุกชนิดกระทรวงกลาโหม ยึดถือตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 77 และมาตรา 78 (4) พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 รวมทั้งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 23 โดยพิจารณาถึง ความต้องการของหน่วยใช้ ประกอบกับคุณสมบัติของยุทโธปกรณ์ว่ามีคุณลักษณะเฉพาะ ตามที่ หน่วยต้องการหรือไม่
และคำนึงถึงความเหมาะสมด้านงบประมาณที่กระทรวงกลาโหม ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล โดยหากเป็นการจัดหายุทโธปกรณ์สำคัญซึ่งไม่เคยมีประจำการ ในกองทัพมาก่อน และมีราคาค่อนข้างสูง กองทัพจะทำการคัดเลือกแบบยุทโธปกรณ์ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งขึ้นในระดับเหล่าทัพ และกระทรวงกลาโหมเป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์เพื่อทำการทดสอบ และให้คะแนนยุทโธปกรณ์ แต่ละแบบอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้ได้มา ซึ่งยุทโธปกรณ์ที่คุ้มค่าในการใช้งาน และต่องบประมาณที่ได้รับการดำเนินการทุกขั้นตอน กระทรวงกลาโหม ยึดถือการดำเนินงาน ตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ เป็นสำคัญ
จากคุณ |
:
ธารริน
|
เขียนเมื่อ |
:
4 ก.ค. 53 14:58:41
|
|
|
|  |