ความคิดเห็นที่ 15 |
เห็นด้วยกับคุณ ฟหกด ใน ความเห็นที่ 13 ว่า เราเรียกแสงอื่น ๆ ที่มิใช่ specular beam และสะท้อนจากผิว ว่า แสงที่กระเจิงจากผิว (ประหนึ่งเหมือนเรากำหนดให้แสงสะท้อนคือแสงที่มีมุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบโดยนิยาม) ดังนั้น ใน sense นี้ มุมสะท้อนจะเท่ากับมุมตกกระทบเสมอ
สำหรับ การมอง หากมองให้ลึกถึงระดับควอนตัมแล้ว การพิจารณาโดยทั่วไปก็จะมอง แสงเป็นคลื่น และ อะตอมที่ผิวเป็นระบบควอนตัม (คิดว่า เรียกว่า semi-classical treatment) และ สิ่งที่ทำคือ เราคำนวณการกระเจิง ของแสงเนื่องจากการมีอะตอมอยู่นั้น
โดยสิ่งที่เกิดขึ้น หากแสงไม่ถูกดูดกลืนโดยอิเล็กตรอน (ระดับพลังงานของแสง ต่างจากของ อิเล็กตรอนในอะตอม) คือ การกระเจิงแบบยึดหยุ่นสมบูรณ์ และ เกิดเป็นคลื่นทรงกลม (โดยประมาณ) กระจายออกมา
โดยเมื่ออะตอมเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบบนผิว คลื่นทรงกลมเหล่านี้ก็จะเรียงตัวกันเกิดเป็น คลื่นระนาบในระดับมหภาค (Huygen's principle) โดยมีมุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ
แต่หากผิวไม่เรียบ สิ่งที่เห็นคือ แสง สามชนิด อย่างที่แสดงใน ความเห็นที่ 12
ปล. หากตอบผิดพลาด หรือ ไม่ชัดเจน อย่างไร ก็ขออภัยด้วย
จากคุณ |
:
nonlocality
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.ค. 53 01:34:10
|
|
|
|