 |
ความคิดเห็นที่ 16 |
ตอนนี้สนใจแบตเตอรี่สำหรับ application ในยานยนต์ครับ ในอนาคตรถใช้ไฟฟ้าคงเข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยความสามารถแบตเตอรี่ปัจจุบันยังแล่นได้ไม่ไกลในการชาร์จแบต 1 ครั้ง ถ้าต้องการครองตลาดยานยนต์ต้องทำให้รถไฟฟ้าเป็นรถอเนกประสงค์เหมือนพวกดีเซล เบนซินตอนนี้ ไม่ใช่เป็น City Car แล่นโชว์แค่ในเมือง
ตอนนี้ก็เหลือประเด็นพัฒนาหลักๆสามเรื่อง: 1. เพิ่มอายุการใช้งานและประสิทธิภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนประเภทขั้วและอิเล็คโตรไลท์ 2. เพิ่มความจุพลังงาน ด้วยการลดน้ำหนักชิ้นส่วนที่ไม่มีผลต่อปฏิกริยาเคมีในแบตเตอรี่ 3. เพิ่มความปลอดภัย
แบตเตอรี่ที่เน้นกันในวงการวิจัยจะเป็นลูกหลานของ Li ion ทั้งหลาย อย่าง Li ion polymer, Li ion phosphate, nanotitanate, Li S และ Li air โดยเฉพาะ Li air มีความหนาแน่นพลังงานทางทฤษฎีสูงกว่า Li ion ที่เป็นโคบอลท์ออกไซด์ 10 เท่า IBM กระโดดลงมาทุ่มวิจัยเต็มตัว จะพัฒนารถไฟฟ้าให้แล่นได้ไกลกว่ารถของเทสลามอเตอร์ แล้ว Dayton University ก็เพิ่งจะพัฒนา solid state lithium air ได้เมื่อปลายปีที่แล้ว น่าจะมีการต่อยอดต่อไปอีกเยอะ
นอกจากตัวแบตก็ต้องวางระบบไฟฟ้าเหมือนปั๊มน้ำมัน แอมป์ต่างๆกันใช้เวลาชาร์จไม่เท่ากัน คิดว่าอนาคตน่าจะมีสถานที่ให้บริการไฟฟ้า 3 ประเภท - ชาร์จที่บ้าน 8 ชม., ชาร์จตามศูนย์การค้า 2 ชม., ชาร์จที่สถานีบริการไฟฟ้า 1/2 ชม. และถ้าพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีความเร็วในการถ่ายเท Li+ สูงขึ้นก็ลดเวลาชาร์จลงไปอีก
- ข่าว MIT พัฒนา Li ionจากไวรัส เป็นการเปลี่ยนวิธีการเตรียมขั้วแบตเตอรี่โดยตัดแต่งให้ไวรัสมีความสามารถในการผลิตโปรตีนจับเหล็ก, ฟอสเฟต และคาร์บอนนาโนทิวบ์ ก่อรูปเป็นขั้วแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพไม่ต่างกับ Li ion ปกติแต่สามารถเตรียมได้ที่สภาวะไม่รุนแรงและไม่ต้องใช้สารอันตรายครับ
- ปตท.ร่วมกับเซเลเนียมพัฒนา Vanadium Redox Flow Battery เป็น Energy Storage ที่มีข้อดีด้านความจุไฟฟ้าไม่จำกัด ขึ้นกับขนาดถังเก็บวานาเดียมครับ ปตท.จะพัฒนามาใช้เก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม
จากคุณ |
:
ชีริว
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ก.ค. 53 16:44:19
|
|
|
|
 |