 |
เลือดพลาสติก{แตกประเด็นจาก X9472586}
|
|
..
บีบีซีนิวส์/ไซน์เดลี/ไทม์สออนไลน์ นักวิจัยเมืองผู้ดีพัฒนาเลือดเทียมขึ้นจากโมเลกุลของพลาสติก มีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้แทนเลือดจริงได้ อีกทั้งมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าเลือดที่รับบริจาคหลายประการ หวังใช้ในพื้นที่ทำสงครามระหว่างกองกำลังทหารที่อยู่คนละฝ่าย เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากและมักเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมาก ดร.แลนซ์ ทไวแมน (Dr Lance Twyman) ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ (Sheffield University) ประเทศอังกฤษ หัวหน้าทีมนักวิจัยผู้คิดค้นเลือดพลาสติก กล่าวว่า พวกเขารู้สึกตื่นเต้นยินดีมากที่เลือดเทียมจากพลาสติกมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่าเลือดจริง ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมากให้รอดพ้นเงื้อมมือมัจจุราชได้ ทหารจำนวนไม่น้อยต้องจบชีวิตลงในสมรภูมิรบ และผู้คนอีกมากที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เนื่องจากเสียเลือดมากและได้รับเลือดไม่ทันหรือไม่เพียงพอที่จะยื้อชีวิตไว้ก่อนถึงมือแพทย์ ซึ่งเลือดเทียมนี้จะช่วยรักษาชีวิตของพวกเขาเอาไว้ได้ ดร.ทไวแมน กล่าว เลือดเทียมนี้สร้างจากโมเลกุลของพลาสติกชนิดโพลิเอธิลีน ไกลคอล (Polyethlyene glycol) ที่ใช้กันทั่วไปในการผลิตยาสีฟันและยาสระผม ซึ่งนักวิจัยสังเคราะห์ให้มีโครงสร้างและขนาดคล้ายคลึงกับโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเลือดจริง โดยให้มีอะตอมของเหล็กเป็นแกนกลาง เพื่อให้สามารถจับกับออกซิเจน และนำพาออกจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายได้ ทั้งนี้ ทีมวิจัยเผยว่า เลือดเทียมที่พวกเขาสร้างขึ้นมานั้นมีประโยชน์มากในเขตสงคราม ซึ่งนอกจากจะใช้แทนเลือดจริงได้ ยังเก็บสำรองไว้ใช้ได้ง่ายกว่าและมากกว่า เพราะมีน้ำหนักเบา ไม่ต้องเก็บรักษาในที่เย็น และยังสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าเลือดจริง ซึ่งเลือดจริงที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ใจบุญ มีอายุการเก็บรักษาเพียง 35 วัน หากเกินกว่านี้ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว และที่สำคัญต้องเก็บในที่เย็นหรืออุณหภูมิต่ำเท่านั้น เลือดเทียมที่สร้างขึ้นมานี้สามารถเก็บรักษาได้ง่ายกว่าเลือดจริงมาก และไม่ต้องการพื้นที่มาก นั่นแสดงว่ากองทัพทหารในสมรภูมิ หรือแม้แต่รถพยาบาล จะสามารถเก็บสำรองเลือดเทียมเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ดร.ทไวแมน กล่าวเสริม ซึ่งเลือดเทียมจากพลาสติกที่ว่านี้มีลักณะเป็นสารเหนียวข้นคล้ายน้ำผึ้งแต่มีสีแดง แต่ต้องนำมาละลายน้ำก่อนถ่ายให้แก่ผู้ป่วย ทว่าโดยทั่วไปแล้วผู้คนมักไม่ชอบคำว่าสังเคราะห์หรือเทียม ถ้าหากต้องมีเลือดเทียมเข้าไปไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ผู้ป่วยจะรู้สึกอย่างไร ซึ่ง ดร.ทไวแมนก็ได้ชี้แจงว่า จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชน แสดงผลออกมาว่าพวกเขาต้องการให้มีการสังเคราะห์เลือดเทียมนี้ขึ้นมา เพราะหากใช้แทนเลือดจริงได้ จะมีข้อดีกว่าหลายประการเลยทีเดียว อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายลงด้วย โดยเลือดจริงที่ได้จากการรับบริจาค มีราคายูนิตละ 100 ปอนด์ (ประมาณ 7,000 บาท) แต่เลือดสังเคราะห์ราคาถูกกว่านั้น แม้ว่าเลือดเทียมนี้จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า แต่ทีมนักวิจัยก็ยังต้องการแหล่งเงินทุนที่จะให้การสนับสนุนและพัฒนาเลือดเทียมต่อไปจนทดสอบทางชีวภาพขั้นสุดท้ายก่อนผลิตออกมาใช้จริง ซึ่งตั้งเป้าไว้ภายใน 10 ปีนี้
จากคุณ |
:
สองนิ้วชี้
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ก.ค. 53 04:11:31
|
|
|
|  |