Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
จุฬาฯ - มหิดล ครองแชมป์มหาวิทยาลัย ผลงานวิจัยวิทย์ดีเยี่ยม  

ส่วนหนึ่งของโครงการ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติครับ



สกว. เผยผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยในประเทศ ปีนี้จุฬาฯ-มหิดลได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน

ในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และแพทยศาสตร์

ประธานกรรมการเผยใช้หลักเกณฑ์การประเมินคล้ายของนานาชาติ

แนะรัฐบาลนำผลการประเมินไปใช้จัดสรรทุนวิจัยให้เท่าเทียม และจัดสรรทุนระดับ ป.เอก เพิ่มแทนการให้ทุนเรียนต่อนอก



สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ประกาศผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอเชีย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้รับการประเมินให้มีคะแนนระดับดีเยี่ยมสูงสุดเท่ากันทั้งในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาแพทยศาสตร์

รศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รองผู้อำนวยการ สกว.

และเลขานุการคณะกรรมการกำกับทิศทางการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการฯ กล่าวว่า

สกว. ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประเมินในระดับสาขาวิชา

ซึ่งมีความละเอียดและให้ผลการประเมินที่แม่นยำกว่าการประเมินในระดับสถาบัน หรือระดับคณะวิชา

และใช้ดัชนีชี้วัดคล้ายกับที่มีการใช้ประเมินในระดับนานาชาติหรือระดับชาติ ของหลายสถาบันที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก

เช่น ARWU ที่จัดทำ โดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวตง ของประเทศจีน

ที่ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทั่วโลกมานานกว่า 10 ปี

การ ประเมินในครั้งนี้ ประเมินจากผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ

และผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารของการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับนานาชาติและระดับ ชาติ

ในระหว่างปี 2550-2551 ซึ่งมีหน่วยงาน สาขาวิชาเข้าร่วมการประเมินทั้งสิ้น 436 หน่วยงาน

จากมหาวิทยาลัยและสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 36 แห่ง ทั่วประเทศ

สำหรับดัชนีชี้วัดคุณภาพผล งานวิจัยมี 4 ตัว ได้แก่ จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติต่ออาจารย์,

จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่านานาชาติของทั้ง สาขาวิชา,

จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเทียบเท่า นานาชาติในด้านการได้รับการอ้างอิง (Impact factor) ต่อ อาจารย์ และต่อทั้งสาขาวิชา

เมื่อ ประเมินได้ค่าตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวแล้ว จึงนำค่าชี้วัดของแต่ละสาขาวิชามาเรียงจากสูงถึงต่ำ และตัดเกรดเป็น 5 ระดับ

ได้แก่ ระดับ 5 (ดีเยี่ยม), 4 (ดี มาก), 3 (ดี) ,2 (พอใช้) และ 1 (ควร ปรับปรุง)


ส่วนผลการประเมินในกลุ่ม สาขาวิทยาศาสตร์ใน 5 สาขาวิชาที่ได้คะแนนระดับ 5 หรือ ดีเยี่ยม มีดังนี้


- สาขาชีววิทยา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- สาขาเคมี ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.), มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาควิชาเคมี และภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ และมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

- สาขา คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

- สาขาโลกและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


กลุ่มแพทยศาสตร์


อายุรศาสตร์ ดีเยี่ยม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล



ดังนั้นเมื่อรวมคะแนนระดับดีเยี่ยมจึงส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพผลงานวิจัยดีเยี่ยมสูงสุดในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์

และทั้ง 2 สถาบันนี้ยังได้คะแนนระดับดีเยี่ยมในกลุ่มสาขาแพทยศาสตร์ เท่ากันอีกด้วย

ส่วนในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดลได้คะแนนระดับดีเยี่ยมสูงที่สุด

รศ.วุฒิพงศ์ กล่าวว่า "การประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเป็นหัวใจสำคัญของ การพัฒนา

ซึ่งจะเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นและรู้จักตัวเราเองดีที่สุด

เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป" พร้อมกับบอกว่าการประเมินนี้จะจัดให้มีขึ้นทุกๆ 2 ปี

โดยใช้ข้อมูลในช่วง 2 ปีสำหรับการประเมิน และใช้เวลาประเมินราว 6 เดือน

โดยการประเมินในครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2554 และอาจมีการปรับเปลี่ยนดัชนีชี้วัด

จากเดิมที่ใช้ข้อมูลระดับการได้รับการอ้างอิงแบบอิมแพคแฟคเตอร์ (Impact factor)

ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยการได้รับการอ้าง อิงของวารสารนั้น ไปเป็นแบบไซเตชัน (Citation) ซึ่งเป็นค่าการ ได้รับการอ้างอิงโดยตรงของบทความวิจัยนั้นๆ

ด้าน ศ.ดร.ปรีดา วิบูลยสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางการประเมินในครั้งนี้ กล่าวว่า

ผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยนี้รัฐบาลสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดสรรทุนวิจัยให้มีประสิทธิภาพและเกิดธรรมาภิบาลได้

เพราะมีบางสาขาวิชาที่มีคุณภาพระดับดีเยี่ยมแต่ไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

ส่วนหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินก็สามารถนำผลการประเมินไปกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการวิจัยและพัฒนาของตนเองได้

"อีกทั้งยังน่าจะนำผลการประเมินนี้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก

ให้แก่สาขาวิชาที่มีคุณภาพการวิจัยระดับนานาชาติแทนการให้ทุนไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศชาติได้จำนวนมาก" ศ.ดร.ปรีดา กล่าว

จากคุณ : Fx - CMU
เขียนเมื่อ : 15 ก.ค. 53 18:05:48 A:183.89.233.212 X: TicketID:185064




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com