ความคิดเห็นที่ 89 |
คุณ Geneticist ผมสงสัยว่าคุณสนใจจะคุยกับผมจริงๆหรือคุณแค่มากล่าวแก้ๆไปกันแน่
อย่าหาว่าผมค้านเลยนะ แต่ที่คุณรู้มามันคลาดเคลื่อนหลายอย่างจริงๆ
1.พระเจ้า=ความไม่แน่นอน=ธรรมชาติ อันนี้ไม่มีอะไร มันเป็นอดีต ก็อย่างที่บอกว่า เคยคิดแบบนั้นตอนเด็กๆ
ส่วนเรื่อง Atheist ความหมายก็เข้าใจผิด เพราะ อเทวนิยม นี้แค่ปฏิเสธการมีอยู่ของ เทพที่มีลักษณะแบบพระเจ้า แบบผู้สร้างผู้ควบคุม ก็แค่นั้น คุณมายัดเยียดความเป็นปรัชญาแบบอื่นๆลงไปตามที่คุณเข้าใจเอาเองเฉยเลย
จะดูนิยามก็ได้ทั้งแบบกว้างแบบเจาะจง เช่นนี่ Atheism, in a broad sense, is the rejection of belief in the existence of deities. In a narrower sense, atheism is specifically the position that there are no deities. Most inclusively, atheism is simply the absence of belief that any deities exist. Atheism is contrasted with theism, which in its most general form is the belief that at least one deity exists.
มันจึงได้ขัดขากันเองไงครับ อย่างนี้
เราไม่ไ้ด้เกิดมาเพื่อตามหาอะไร บรรลุอะไร >>No purpose (เป็นปรัชญาแบบ จักรกลนิยม หาอ่านเอง) แค่ใช้ชีิิวิตที่มีอยู่ให้คุ้มที่สุด >> เท่ากับมี Purpose อย่างน้อยก็คือ ใช้ชีวิตยังไงถึงจะคุ้มค่าที่สุด แล้วต้องมาตีความต่ออีกทีว่า ยังไงที่เรียกว่าดี
ลองคิดดูสิครับ ผู้ที่คิดแบบปรัชญาจักรกลนิยมแบบเนื้อแท้จริงๆเลย เขาจะมีแนวคิดอย่างไร >>สรรพสิ่งล้วนไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีความสำคัญอะไร ดังนั้นจะใส่ใจกับอะไรไปทำไม อยู่หรือตายก็เหมือนกัน ต่อให้เราขยันก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรอย่างแท้จริง(ถ้าทนกิเลสด้านความอยาก อยากรวย อยากนู่นนี่ได้นะ) ต่อให้เราปล่อยปละตัวเองจนตายก็ไม่เห็นเป็นไร(เช่นกัน ถ้าคิดแน่วแน่จนยอมทนกิเลสด้านไม่อยากนู่นไม่อยากนี่ได้น่ะนะ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากหิว ไม่อยากถูกลืม) จะบอกให้ว่าคนอย่างนี้มีนะครับ ไม่ใช่เพ้อเจ้อ อย่างชาวกรีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ใช้ชีวิตแบบไม่สนอะไร อาศัยถังไม้นอน(ผมจำชื่อไม่ได้แต่ดังเหมือนกัน) ก็มีคนเลื่อมใสอยุ่เยอะเหมือนกัน ถึงขนาดว่าพระราชาเข้าไปถามว่า ท่านต้องการอะไร แต่คนๆนี้กลับตอบว่า "อย่ายืนบังแดดข้าพเจ้าเป็นพอ" หรือพวกนักบวชอินเดียจำพวกหนึ่ง ใช้ชีวิตเหมือนสุนัข กินนอนข้างถนน พวกเปลือยกาย ไม่สนใลกก็มี เป็นชีเปลือย ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงเยอะเหมือนกัน
ดังนั้นโดยเนื้อแท้แล้วจะไม่สนใจว่าจะใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด หาเงินหางาน ท่องเที่ยวเหมือนคนเมืองเจริญๆส่วนใหญ่ในปัจจุบันแน่นอนครับ
ที่ถูกควรต้องบอกว่าคนปกติที่มีความคิดแบบจักรกลนิยมทั่วๆไป มักจะใช้ชีวิตตามความพึงพอใจไปวันๆโดยไม่สนใจอะไรต่างหาก จะค่อนข้างมาควบคู่กับปรัชญาแบบสสารนิยม วัตถุนิยม สนองความต้องการตัวเองไปเรื่อยเปื่อย
กรุณาหาข้อมูลดูเถิดครับ ผมไม่ได้พูดลอยๆ เอาเบื้องต้นแค่เปิด wiki ก็ได้ ไม่งั้นก็สนทนาแล้วไม่เกิดอะไร ผมเหนื่อย
ข้อ 2 นี่ไม่มีอะไรมาก เรื่องเดิม
2.1"ศาสนาพุทธ อ้างว่าเป็น Atheistic ตรงที่ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่ก็มีหลายอย่างมาแทนกัน ทั้งนับถือเทวดา โพธิสัตว์แทนแบบมหายาน เป็น Theistic ชัดๆ"
นี่ไม่ได้อ่านพุทธปรัชญา หรือคำสอน หรืออะไรก็แล้วแต่จริงๆจังๆใช่มั้ยครับ แต่สรุปเอาเองตามที่เคยรู้เคยเห็น?(อย่าฟังตามๆกันมา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรงกับความเข้าใจตน...คุ้นๆไหม)
ตอนนี้คุณน่ะเป็นฝ่ายอ้างต่างหาก แบบมั่นใจเสียด้วย แต่ไหนล่ะหลักฐาน?
ผมจะอธิบาย(ซ้ำ)อีกทีนะว่าพุทธศาสนาที่ไทยนับถือ(ตามพระไตรปิฎกบาลี บอกไว้เลยจะได้ไม่สับสน) 1) ไม่ได้นับถือเทวดาเหมือนพระเจ้า และไม่มีความเหมือนจะแทนกันได้เลย เป็นแค่สัตว์โลกรูปแบบหนึ่งร่วมแก่เจ็บตายกับมนุษย์ เช่นเดียวกับสัตว์เดรัจฉาน แค่อยู่สภาพต่างกัน พวกที่นับถือเทวดามันความเชื่อดั้งเดิมของไทย ลัทธินับถือผีสางเทวดา
2)ศาสนาพุทธเถรวาท กับพุทธนิกายมหายาน มันแยกจากกันชัดเจน(วุ้ย) เหมือนกันกับ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา คริสต์ อิสลาม นับถือเทพฮินดู นับถือผี นับถือเทวดา แนวคิดนี่คนละแบบกันเลย
คุณพูดมาอย่างนี้ ไม่บอกเลยล่ะว่าศาสนาพุทธนับถือพระเยซูก็ได้ด้วย(คริสต์) พระพิฆเนศก็ดี(ฮินดู) เจ้าแม่เจ้าพ่อ องค์... บลาๆ ไปเห็นคนไหว้ๆรูปเคารพพวกนี้ตามวัดตามศาลเจ้าก็เหมาว่าเป็นพุทธหมดละหรือ? ปั๊ดโธ่
Clear มั้ย? ตรงนี้ไม่ไหวจะพูดซ้ำละครับ เขียนอธิบายคุณหลายมาก็ทีสองทีแล้ว ถ้าไม่พิจารณาก็ขอลา
2.2 อีกหนึ่งความเข้าใจผิด(เดิม) "ต้องลอกกระพี้จนเหลือแค่ "พุทธปรัชญาครับ" ว่าด้วยเรื่องของจิตล้วนๆ"
ก็อยากถามเอามาจากไหน(หว่า) หรือเห็นแต่ฝึกจิตๆเลยคิดอย่างนั้น แนะนำ "พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก" เล่มไม่แพง ศื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ 400 กว่าหน้า ก็ขอยืนยันว่า พวกแนวคิดที่เป็นจิตล้วนๆ มันเรียกว่า ปรัชญาแบบ
"จิตนิยม"
รายละเอียด หาเองได้ ไม่ได้ยาก หรือคุณไม่คิดสนใจจะรู้แต่แรกแล้ว
ส่วนแก่นพุทธศาสนา คือ หลักอริยสัจ 4 หรือ หลักไตรลักษณ์ หรือหลักอิทัปปัจจยตา เป็นแก่นเดียวกันแค่ express ออกมาในลักษณะต่างกัน กล่าวคือ (นี่ชักจะเหมือนชั้นเรียนวิชาพุทธศาสนา)
มีเหตุหรือสิ่งต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน จึงเกิดผลต่างๆขึ้น หรือก็คือ "สิ่งใดมีเหตุให้เกิดมันก็เกิดมีขึ้น เมื่อหมดเหตุก็ดับไป" จึงสรุปได้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา"
พุทธถือว่าสิ่งที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ มีอยู่ 4 ทั้งฝ่ายรูปธรรม คือ รูป ฝ่ายนามธรรม คือ เจตสิกกับจิต และ นิพพาน(สภาวะที่หมดเหตุปัจจัยทุกอย่าง จึงไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ใช่ทั้งนามหรือรูป) แต่ไม่ใช่ความว่างเปล่า สูญสลาย หรือสวรรค์วิมานใดๆ
เรื่องภพภูมิ บุญบาป อยู่ในขอบเขตของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด และเป็นไปตามแก่นหลักธรรมคือเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ทั้งสิ้น! จิตกุศลก็เรียกง่ายๆว่าบุญ อกุศลก็เรียกง่ายๆว่าบาป กรรม แปลว่า การกระทำ เป็นเหตุ ผลที่ได้รับ เรียกว่า วิบาก เป็นผล
เป้าหมายของพุทธศาสนาคือความความสงบที่แท้จริง เป็นการพ้นทุกข์ถาวร พ้นจากทั้งบุญและบาป ทั้งคำสรรเสริญหรือคำด่าทอ ไม่ได้สอนให้คนทำดีหวังสววรค์ หรือเอานรกมาขู่ให้ทำดี แต่มุ่งให้มีปัญญาเห็นความเป็นธรรมดาธรรมชาติของโลก ซึ่งมีกฎเกณฑ์ของมันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ชัดไหม ไม่ได้มีแต่จิต Ok ไหม? ส่วนวิทยาศาสตร์ถือว่าสิ่งที่มีอยู่จริงมีอะไรบ้าง กฎเกณฑ์มีขนาดไหนบ้าง? คงรู้กันอยู่แล้ว
3.กฎแห่งกรรม ยาวแน่นอน ผมเองก็ไม่อยากพูดมาก
จากที่คุณว่า "แต่เพราะจุดยืนอย่างนี้แหละทำให้กฎแห่งกรรมมีเหมือนไม่มี เพราะมันมีคำอธิบายอื่นที่เป็นกายภาพ ไม่เยิ่นเย้อเหมือนกฎแห่งกรรม"
กรุณาย้อนกลับไปศึกษาแก่นในข้อสองก่อน(อย่านึกเอา) แล้วก็จะทราบเอง เพราะมันก็เป็นหลักเดียวกัน เพียงแต่ยกขึ้นมาเฉพาะในส่วนของการกระทำ ส่วนของจิต ของเจตนา ว่าเหตุเป็นอย่างไร ผลจึงจะเป็นอย่างไร แล้วเรียกว่าเป็นกฎแห่งกรรม ไม่ทราบว่าเยิ่นเย้ออย่างไร ดีได้ดี ชั่วได้ชั่ว เด็กประถมก็เรียนได้
เช่นทำกรรมดีพอควร ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นทารก ทำกรรมเลวพอควร ได้มาเกิดเป็นลูกหมา เป็นผลจากกรรม คือเป็นเหตุที่มาจากจากการกระทำเป็นสภาวะทางจิตภาพ แต่มาเกิดในสถานที่เดียวกัน ถูกพายุพัดตาย เป็นผลจากสิ่งแวดล้อม คือเหตุจากสภาวะทางกายภาพ สูเจ้าจะเกิดเป็นอะไร ดีหรือเลว สวยหรือหล่อก็ไม่เกี่ยว อากาศแปรปรวนตรงนี้พายุมันก็ย่อมจะพัดมาตรงนี้เนี่ยแหละ ไม่เลือกหน้า
มันเป็นเหตุเป็นผลมาจากคนละปัจจัยกัน ไม่ทับซ้อน ไม่งง ไม่ขาดจุดยืน ทุกอย่างทำงานตามปรกติธรรมชาติอย่างเที่ยงตรง ตามเหตุ
ธรณีสูบ ไม่ทราบว่าเพราะเห็นว่าเกี่ยวๆกับพิ้นดินเลยตีความเอาเองหรือไม่? แต่ไม่ใช่ภัยพิบัติ ไม่ใช่ทรายดูด ไม่ใช่แผ่นดินทรุด สังเกตความต่างได้ดังนี้
ถ้าธรณีสูบ แปลว่า ตายกรณีแย่ที่สุด เพราะหมายถึงไปเกิดต่อในสภาวะโลกอื่นที่(เราสมมติเรียกกันว่า)นรกทันที (ธรณีสูบคือจะไม่ไปที่อื่นแน่ๆ) และเป็นผลเฉพาะคนๆนั้น ต่อให้คนอื่นยืนขี่คอคนนั้น ก็ไม่ไปด้วย
ถ้าเป็นภัยพิบัติ ดินยุบ หลุมดูด = สภาพแวดล้อมบริเวณนั้น ใครไปตรงนั้น ไม่ว่าจะมาจากเหตุใดก็ตามที่ทำให้ไปอยู่ตรงนั้น จึงจะตาย ตายแล้วศพก็จมดินอยู่แถวนั้น (และอาจจะเป็นตายดีหรือตายไม่ดีก็ได้ ขึ้นอยู่กับจิตใจขณะจะตาย)
>>ดินยุบ หรือพายุมา เป็นอุตุนิยาม มีฟ้าดินแปรปรวนตรงไหน ก็เกิดภัยตรงนั้น ไม่เกี่ยวกับกฎแห่งกรรม คนทำชั่วไม่ทำให้จู่ๆก็ฝนตก แต่คนอาจทำฝนเทียมได้ ถ้าไปสร้างเหตุเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม แต่การทำฝนเทียมนั้นจะเป็นการทำบุญช่วยคนหรือทำบาปแกล้งคนก็ได้ มันก็เป็นอีกเรื่อง จะเห็นได้ว่ามันแยกกันชัดเจน
จะสมมติกรณีให้ดู เพื่อให้ง่ายขึ้น ดังนี้
"นายเอทำฝนเทียมเพราะจงใจจะให้น้ำท่วมบริเวณบ้านคู่อริ" การที่นายเอ เอาสารเคมีไปโปรยบนฟ้า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเป็นเมฆฝน ตรงนี้เป็นไปตามกฎธรรมชาติของอุตุนิยาม ถ้าอุณหภูมิไม่ได้ สารเคมีไม่พอ น้ำไม่กลั่นตัว ฝนก็ไม่ตก ถ้าเพียงพอเหมาะสม ฝนก็ตก จะเห็นได้ว่ามันมีเหตุมีผลของมันอยู่ สภาวะ"ฝนตก"เป็นผลจากสภาวะที่ดินฟ้าอากาศบริเวณนั้นเหมาะสม
นายเอทำสำเร็จ ฝนตก-->เป็นเหตุให้น้ำท่วมบ้านคู่อริ การที่คู่อริ"เดือดร้อน"เป็นผลจากการที่นายเอมีจิตคิดอกุศล มีจิตรู้สำนึกขณะลงมือกระทำการอกุศล(จิตเป็นอกุศล) ผลจากตรงนี้ทำให้นายเอต้องรับวิบากที่เป็นอกุศลเช่นกัน จากกรรมชั่วที่ตนเองกระทำไว้ เช่น ผลเบื้องต้นเลยก็คือจิตหม่นหมอง มัวเมาในความสะใจ ความแค้น ติดนิสัยที่ไม่ดีต่อไป อาจจะติดใจในการทำ ผลเบื้องหน้า อาจโดนคนอื่นมาแกล้งให้น้ำท่วมบ้านตัวเองบ้าง สมเกิดความเดือดร้อนส่วนกับที่ตัวเองกระทำไว้
กรณีที่คนทำฝนเทียมเฉยๆ จิตไม่ได้มีเจตนาอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีบ้านคนอยู่ตรงนั้น แต่น้ำไปท่วมบ้านคน ก็ไม่ถือว่าที่เขาทำนั้นสำเร็จเป็นบุญหรือบาปขึ้นมา เพราะไม่เกิดเป็นการกระทำต่อคนบ้านนั้น จึงไม่เกิดเป็นกรรม(ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว) ที่คนบ้านนั้นโดนน้ำท่วมก็ไม่ใช่ว่าซวยหรือบังเอิญ แต่เป็นเพราะมาจากเหตุปัจจัยอื่น เช่น เป็นวิบาก(ผล)จากกรรมเก่าที่ถึงคิวให้ผล
นี่คือส่วนของกรรมนิยามหรือที่เรียกกันบ้านๆว่ากฎแห่งกรรม จะเห็นได้ว่าร่วมกันให้ผลสัมพันธ์กันกับอุตุนิยามอย่างเหมาะสมในขอบเขตของตัวเอง
กรณีของพายุก็คล้ายกรณีคนไม่มีเจตนาจึงไม่เกิดเป็นกรรม แต่กรณีนี้ยิ่งกว่าเพราะการที่ฝนตกไม่มีคนเกี่ยวข้องโดยตรงด้วยเลย ไม่มีผู้กระทำกรรมอะไร คนที่โดนก็ไม่ใช่ว่าซวยหรือบังเอิญอีกนั่นแหละ แต่เป็นเหตุปัจจัยทางอุตุนิยาม ลองเทียบเคียงดู เหมือนคนที่เป็นไข้หวัดเพราะอากาศร้อน-เย็นเกินไป นั่นแหละ เป็นเหตุผลธรรมดาๆของเหตุการณ์ในธรรมชาติ ไม่ได้แปลว่าคนๆนั้นไปทำกรรมชั่วเลยต้องเป็นหวัด
ไม่มีการขัดแย้ง ถ้านึกว่าขัดแย้งก็ไม่ทราบว่าเอามาจากไหนและกรุณาช่วยชี้ให้หน่อยว่าขัดแย้งยังไง
4.ครับ คุณมาถูกทางแล้วครับ ขณะนี้คุณกำลังใช้วิธีพิสูจน์ให้ผิดกับผมอยู่
แต่เสียดาย ว่าวิธีน่ะพอจะถูกก็จริงอยู่ แต่เตรียมข้อมูลมาแบบผิดกระจายมันก็ไปต่อไม่ได้นะครับ เขียนอย่างดีแต่จะใช้เฉพาะข้อมูลคลาดเคลื่อนเดิมๆ ก็สู้อย่าเหนื่อยเขียนเลยดีกว่า เหมือนพยายามทำแล็บเคมี ใช้อุปกรณ์ถูกหมด กะเวลาอะไรถูกหมด แต่สารที่เตรียมมาผิด มันจะผสมได้ไหมล่ะครับ
ถ้าคุณยืนยันตามข้อมูลของตนเช่นนี้ จะใช้บรรทัดฐานอย่างนี้ ฉันเข้าใจว่ามันเป็นอย่างนี้ ดังนั้นมันต้อง... อย่างนี้ ก็พอเหอะครับ มันเหนื่อย กระทู้ก็เก่าแล้ว มีดูกันอยู่คนสองคน เขียนไปทำไม มันค่อนข้างเลยจุดของการทำความเข้าใจไปนานแล้ว กลายเป็นหาคำมาต่อคำ พอดีกว่า คราวนี้ผมคิดว่าคงจะไม่มีอะไรแล้วนะ ผมเขียนเป็น ชม.ๆ ล่ะ
ปล.จะให้ผมอธิบายรายละเอียดว่าหลักกรรมวิบากเป็นอย่างไร เกี่ยวกับศาสนาพุทธอย่างไร ต่างจากศาสนาอื่นอย่างไร หรือให้ยกแหล่งอ้างอิงมาให้อ่านด้วยมั้ย แต่จะยาวจนกลายเป็นบทความ
และอีกอย่างผมว่าถ้าคุณคิดสนใจคุณคงหาอ่านเองได้แล้ว แต่เท่าที่เห็น คุณคงมีหลักการมีความเข้าใจของคุณเองอยู่แล้วล่ะ และท่าทางอะไรที่เกี่ยวๆเฉียดๆมีคำว่าศาสนาคุณจะไม่สนใจเลย ถ้ายืนกรานเช่นนี้ก็ ลืมๆกระทู้นี้แล้วต่างก็ดำเนินชีวิตต่อไปตามอัตภาพเถอะครับ ผมเองก็นึกว่ากระทู้ตายแล้วด้วยซ้ำ ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็หยุดดีกว่า ผมเหนื่อยต้องมานั่งพิมพ์อะไรมากๆ ซ้ำๆ
แก้ไขเมื่อ 30 ก.ค. 53 08:15:54
แก้ไขเมื่อ 30 ก.ค. 53 07:54:02
แก้ไขเมื่อ 30 ก.ค. 53 07:41:51
แก้ไขเมื่อ 30 ก.ค. 53 07:36:55
แก้ไขเมื่อ 30 ก.ค. 53 06:56:32
จากคุณ |
:
EvaAngelion
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ก.ค. 53 06:39:16
|
|
|
|