 |
ความคิดเห็นที่ 13 |
ผลปัจจัยระดับต่างๆถ้ากำหนดแยกโดยคร่าวจะเป็นลักษณะของอันตรปัจจัยที่ง่ายต่อการแยกแยะทำความเข้าใจ เช่น แยกว่าลักษณะนี้เป็นระดับของสิ่งไม่มีชีวิต ระดับนี้คือคือสิ่งมีชีวิต ระดับนั้นรับรู้ได้ ระดับนี้รับรู้ไม่ได้แล้ว ฯลฯ
แต่ถ้าพิจารณาตามความจริงอันละเอียดเป็นอจินไตยนั้น แท้จริงแล้วจะเป็นลักษณะอนันตรปัจจัยคือเป็นสภาพที่คาบเกี่ยวกันโดยแยกจากกันอย่างสิ้นเชิงไม่ได้ เราจึงไม่อาจชี้ชัดขณะเวลาที่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพที่ชัดเจนใหม่ได้ เช่น วัยเด็กนั้นก้าวสู่วัยรุ่นเมื่อขณะใด ? วัยทารกก้าวสู่วัยเด็กเมื่อขณะใด ? การเกิดของชีวิตเริ่มเมื่อขณะใด ?
ได้แต่เพียงแยกแยะตามระดับผลที่ศึกษาได้โดยคร่าวเช่น วัยเด็กนั้นก้าวสู่วัยรุ่นเมื่อช่วงอายุประมาณ ...... วัยทารกก้าวสู่วัยเด็กเมื่อช่วงอายุประมาณ ..... การเกิดของชีวิตจะอยู่ในช่วงเวลาของ .....
และตามคำถามกระทู้ ถ้าอิงตามผลอาการชีวิตที่ชัดเจนหรือหลักพฤติกรรมศาสตร์มนุษย์ ก็ควรหมายถึงสภาพชีวิตที่มีพัฒนาการมาสักระยะหนึ่งจนเริ่มศึกษาพฤติกรรมได้แล้ว
ถ้าว่าตามหลักวิทยาศาสตร์คงต้องวิเคราะห์ค่อนข้างละเอียดว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพอย่างไรบ้าง ? มีการวิเคราะห์ผลว่าเป็นอาการเกิดของมูลฐานชีวิตได้เมื่อใด ? มีหลักทางเคมี,ฟิสิกส์ที่อ้างอิงผลการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพนั้นอย่างไร ? ซึ่งแม้จะยังไม่เด่นชัดเป็นพฤติกรรมชีวิต แต่ถ้ามีความเด่นชัดของการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพแล้ว สภาพชีวิตของมนุษย์ตามหลักชีววิทยาคิดว่าควรเริ่มในช่วงเวลาประมาณของข้อ 1
จากคุณ |
:
ผู้ศึกษา
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ก.ค. 53 20:02:21
|
|
|
|
 |