 |
ความคิดเห็นที่ 110 |
//104
ไม่มีปัญหาครับแย้งได้ ถกเถียงกันได้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ไป, ผมเองก็ไม่ได้รู้อะไรเยอะหรอกครับ หากพูดไรผิดหรือปล่อยไก่ไปก็สวนคืนได้เลยไม่ต้องเกรงใจ อันนี้ถือว่าเป็นข้อมูลเสริมๆให้ท่านผู้อ่านคนอื่นด้วยละกัน
อาจจะยาวหน่อย โดยขอแบ่งเป็นส่วน WWII กับ ASW เหมือนเดิม หากมีอะไรเพิ่มเติมหรือถามไถ่ก็ไม่ว่ากัน แต่ไว้ผมกลับมาอ่านอีกทีเย็นๆนะครับ
-------------------------- ตรงนี้ผบ.เรือดำน้ำขอไปเยอะเหมือนกันครับ แต่ไม่สามารถสร้างได้เพราะผู้นำเยอรมันไม่สนับสนุน แต่ภายหลังจากที่เรือบิสมาร์คจมลงเพราะโดนกองเรืออังกฤษล่าหลังจากนั้น ฮิตเลอร์จึงได้เริ่มอนุมัติให้มีการสร้างเรือดำน้ำจำนวนมหาศาลครับ ^ ^ ก็จริงครับ, แต่ว่านั่นเป็นการสั่งสร้างหลังจากสงคราม "เริ่ม" ไปแล้ว... ซึ่งอันที่จริงอาวุธที่จะใช้รบกับศัตรูควรได้รับการสร้างให้เสร็จในระดับนึงก่อนที่จะเริ่มสงคราม แต่ว่าปริมาณที่สร้างได้ 12 จาก 300 นี่เท่ากับว่ามีเพียงพอแค่ 4 % เท่านั้นเอง, ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการตัดเส้นทางเสบียงของอังกฤษในช่วงต้นอย่างมาก ไม่งั้นเราอาจได้เห็นการศึกที่ดันเคิร์กเปลี่ยนแปลงเป็นกองเรือลำเลียงพันธมิตรพินาศ, กองทัพเรือคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียนถูกตัดขาด และที่สำคัญคือ "เชื้อเพลิง/ยุทธปัจจัย" ที่อังกฤษจะใช้ในช่วงสมรภูมิแห่งบริเตนด้วย
การที่ฮิตเล่อร์มาสร้างอย่างจริงจังช่วงหลังนั้นเรียกได้ว่าแทบไม่มีการเปลี่ยนดุลยภาพของสงครามเลย, เพราะไม่ว่าจะสร้างเรือ U มาเท่าไหร่, อเมริกาก็สร้างกองเรือคอนวอย และกองเรือคุ้มกันได้มากกว่าในสัดส่วนหลายเท่า แค่เดือนเดียวอเมริกาออกเรือลำเลียง/พิฆาต/ลาดตระเวณคุ้มกันเดือนได้เป็นร้อยลำ ในเรื่องการฝึกบุคลากร, เหล่าพรรคกลินและกัปตันของเรือดำน้ำนั้นฝึกได้ยากและใช้เวลามากกว่ากองเรือผิวน้ำค่อนข้างเยอะครับ
ก็แน่ล่ะครับ มันเป็นเรื่องของเทคโนโลยี จำนวนก็มีผลครับ แต่เทคโนโลยีก็มีผลเช่นเดียวกัน ในสมัยสงครามกองเรือเยอรมันไม่รู้เลยด้วยซ้ำครับว่าอังกฤษนำระบบโซน่าและเรด้ามาให้ การนำระบบทั้ง2แบบนี้มาให้นี้ได้ผลมากเลยนะครับ เพราะสามารถตรวจจับเรืออูได้อย่างที่ค่อนข้างแม่นยำพอสมควร ^ ^ ^ ในช่วง WWII, การแข่งขันทางเทคโนโลยีมีอยู่ตลอดครับ ซึ่งโซน่าห์และเรดาห์ก็เป็นปัจจัยนึง แต่เทียบกับเรื่อง "ปริมาณ" หากเทคโนโลยีไม่ใช่อะไรที่ก้าวกระโดดมากๆอย่างพวกอาวุธนิวเคลียร์ ผมก็กล้าบอกได้เลยว่าปริมาณเป็นปัจจัยที่มีผลต่อยุทธศาสตร์สูงกว่าเยอะมาก อย่างเช่น รถถังไทเกอร์ หรือเครื่องไอพ่น Me262 ของเยอรมันก็ได้, ที่ยอดเยี่ยมเป็นหนึ่งแต่เทียบกับปริมาณรถถัง T34 ของรัสเซีย หรือเครื่อง P51 ของอเมริกาแล้วสู้จำนวนกันไม่ได้เลย (แถมศักยภาพก็ไม่ได้ทิ้งกันแบบขาดลอยด้วย)
ซึ่งกรณีนี้ผมว่าเทคโนโลยีเรดาห์/เรดาห์คลื่นสั้น เยอรมันก็แก้ทางกันได้ครับด้วย RWR ที่คอยแจ้งเตือนตลอด, แต่ปัจจัยเรื่อง - จำนวนเรือคุ้มกันที่พันธมิตรผลิตได้ > เรือ U ถึง 3-4 เท่า - ข่าวกรอง ที่รหัส Enigma โดนถอดได้
ถ้าถอดรหัสไม่ได้, ฝ่ายกองเรือผิวน้ำคงไล่ต้อนเรือ U ไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ, เพราะถ้าเห็นท่าอันตรายมันก็หนีหมด...แต่ที่กองเรือพิฆาตทำได้เพราะรู้ตัวอยู่แล้วแน่ๆ ว่าเรือ U จะมาที่นั่นตรงนั้นก็เลยตั้งรับได้ถูกทาง, ส่วนฝ่ายเรือ U ก็มาติดกับกันโดยไม่รู้ตัว
เข้าประจำการตั้งแต่ช่วงต้นปี 1942 สูงกว่าความต้องการที่ผบ.เรือดำน้ำเยอรมันต้องการไว้อีกครับ แต่มันก็เปลี่ยนแปลงผลของสงครามไม่ได้ เพราะมันไปล่าเรือพิฆาตไม่ได้นั่นเองครับ ดังนั้นมันเกิดจากการที่เทคโนโลยีด้อยกว่าและการข่าวไม่ดีครับ การพัฒนาเรือดำน้ำมากเกินไปโดยที่ด้อยกว่าในด้านเทคโนโลยีทำให้เป็นเรือนำมา ซึ่งความผิดพลาดครับ หาใช่เพราะจำนวนที่น้อยหรือมากไม่ ^ ^ ขออภัยนิดนึงครับ, ไม่มีเจตนาว่ากล่าวแต่อย่างใด ผบ.เรือดำน้ำของเยอรมันที่ว่านี่คนไหนครับ, ถ้าเป็นผบ.โดนิสต์ที่ผมเอ่ยตอนแรก แกไม่เคยบอกว่าเพียงพอเลยนะครับ, ช่วงปี 1942 สายการผลิตได้เพิ่มจริงแต่ก็ไม่เคยแตะตัวเลขที่แกต้องการเลย (เพราะมีการสูญเสียตลอดเวลา...และการฝึกฝนลูกเรือใช้เวลามาก), หากจะมีคนบอกว่าสูงเกินไป ผมว่าคงเป็นแม่ทัพคนอื่นที่ไม่ใช่สายกองเรือดำน้ำแน่ๆ ที่มองว่าฮิตเล่อร์อยู่ๆมาให้ความสำคัญกับกองเรือ U มากไป (แต่ก็สายไปอยู่ดี)
จริงๆคำพูดของผมก่อนหน้านั้นยกขึ้นมาเพราะทางคุณ MI6 ยกความเห็นมาว่า "เยอรมนีผิดพลาดที่ทุ่มกำลังไปที่กองเรือดำน้ำมากเกินไป แทนที่จะให้ความสนใจต่ออุตสาหกรรมเรือผิวน้ำ" กับ "มัน(เรือดำน้ำ)ไม่สามารถล่าเรือพิฆาตได้" เรื่องนี้ผมขอแสดงความเห็นแบบเด็กๆไปตามข้างล่างนี้ละกันครับ
- โดยคุณสมบัติแล้วเรือดำน้ำมันสามารถไล่ล่าเรือผิวน้ำได้ทุกแบบแหละครับ, แต่ (1)ภารกิจหลักของกองเรือ U คือการตัด "เส้นทางยุทธปัจจัย" ของอังกฤษ, (2) ดังนั้นในเมื่อจำนวนเชื้อเพลิงและอาวุธมีจำกัด เรือดำน้ำจะมุ่งทำตามภารกิจหลักก่อนเสมอ นึกภาพว่าเรือลำเลียง 1 ลำ, สามารถขนเชื้อเพลิงหรือกระสุน ให้กับฝูงบินอังกฤษได้ทั้งฐานทัพ..) (3) เรือลำเลียงจมได้ง่ายกว่าเรือผิวน้ำดังนั้น เรือ U ต้องสงวนกำลังรบของฝ่ายตนไปด้วย
-เรื่องที่เยอรมันทำผิดที่ทุุ่มกองกำลังเรือดำน้ำมากไป, แทนที่จะสนใจเรือผิวน้ำ....อันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วยเพราะ (1) เรือผิวน้ำขนาดใหญ่ใช้ทรัพยากรการสร้างสูงมาก อย่างเรือชั้น Cruiser เช่นปรินซ์ ออย์เกต์ นั้นสามารถเรือ U ได้เป็นสิบลำ (2) เรือผิวน้ำขนาดเล็กไม่มีประโยชน์ในการรบที่แอตแลนติกเลย (อย่างดีก็ได้แค่รบชายฝั่ง) เพราะมีพิสัยปฎิบัติการจำกัด (นั่นเป็นเหตนึงที่ทำให้ฮิตเล่อร์หวังจะใช้บิสมาร์ครบระยะไกล) (3) อังกฤษมีการวางทุ่นระเบิดปิดอ่าว และวางกองเรือขนาดใหญ่ปิดล้อมเยอรมันอยู่แล้วที่เขตทะเลเหนือ, การจะออกไปได้ต้องตีฝ่าออกไปซึ่งต้องรบกันอย่างหนัก..นั่นหมายถึงกองเรือเยอรมันจะต้องมีความเสียหายแน่ๆ ในขณะที่ทำอะไรเส้นทางลำเลียงไม่ได้เหมือนเดิม...แล้วอังกฤษกับสหรัฐก็สร้างทดแทนได้เร็วกว่าด้วย (4) กองเรือผิวน้ำเยอรมันแทบไม่มีประโยชน์ในการรบกับรัสเซียทางตะวันออก ที่เน้นสงครามทางบก (5) หากเยอรมันสร้างกองเรือผิวน้ำขนาดใหญ่, ย่อมไม่สามารถหลบหลีกเครือข่ายตรวจจับทางอากาศได้ อังกฤษต้องรู้ตัวแน่นอน (6) หากอยากเข้าร่วมการรบที่แอตแลนติก/เมดิเตอร์เรเนียน การเดินเรือต้องแล่นเรืออ้อมเหนือสก็อตแลนด์ นั่นยิ่งทำให้มีโอกาสโดนฝูงบินอังกฤษรุมกินโต๊ะโดยไม่อาจช่วยเหลือได้ (เยอรมันไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินที่พร้อมปฎิบัติการจริงๆ)
ดังนั้น, แม้การสร้างเรือดำน้ำจะไม่สามารถเอาชนะกำลังผลิตของ US,UK ได้ แต่ผมก็มองว่าเป็นการลงทุนของกองทัพเยอรมันที่ถูกทางแล้วครับ เพียงแต่มันมาสายเกินไป เพราะหากเอาทรัพยากรไปลงทุนต่อกองเรือผิวน้ำก็มีแต่ผลเสียปล่าวๆ แถมทำผลงานไม่ได้/ไม่มีโอกาสอีกด้วยจากสาเหตข้างบน ขณะที่เรือ U ยังมีโอกาสต่อสู้และทำผลงานได้พอสมควร
ในเรื่องเทคโนโลยีของเยอรมันนั้นไม่ได้แพ้แบบขาดลอยแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ผิดพลาดก็คือ - ฮิตเล่อร์ตัดสินใจช้าเกินไป - การรั่วไหลของรหัส Enigma - งบประมาณและทรัพยากรไม่พอเพียง (ทัพเรือได้รับงบค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความรับผิดชอบ และถูกริดรอนไปเยอะตั้งแต่สมัยสิ้นสุด WWI)
จากคุณ |
:
Kross_ISC
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 53 02:25:18
|
|
|
|
 |