ความคิดเห็นที่ 6 |
เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ "เจไดหนุ่ม" รบกวนคุณจขกท.ลองรับชม "แผนที่แสดงช่วงเวลาในสงครามแปซิฟิค" ซึ่งผมนำมาชี้แจงนะครับ
จากภาพด้านล่างนั้นเราจะเห็นว่าพื้นที่บริเวณ "อลาสก้า" อันหนาวบเหน็บนั้นจะอยู่ค่อนไปทางตะวันตกของประเทศแคนาดาครับ ซึ่งเมื่อดูจากระยะทางแล้วจะพบว่าพื้นที่ตรงนี้มีความห่างไกลจากหมู่เกาะญี่ปุ่นยุ่นปี่อยู่พอสมควร ทำให้แม้จะมีการไปตั้งฐานทัพอากาศที่อลาสก้า แต่กองทัพมะริกันก็ไม่สามารถนำเครื่องบินทิ้งระเบิดบินไปบอมบ์ประเทศญี่ปุ่นจากที่นั่นได้ครับ
เนื่องจากการทิ้งระเบิดในยุคนั้นจำต้องคำนวณถึงระยะทางทั้งขาไปและขากลับอย่างถี่ถ้วน กล่าวคือถ้าต้องทำภารกิจในระยะทางไกลๆแล้วสามารถวกกลับมายังฐานทัพได้ เครื่องบินจำต้องมีจุดแวะพักเติมน้ำมันในระหว่างขาไปและขากลับ หรือไม่งั้นก็ต้องมีจุดลงจอดที่ปลอดภัยเพื่อเติมน้ำมันหลังจากกระทำภารกิจเสร็จแล้ว
ซึ่งจากแผนที่ด้านล่างนั้นจะพบว่าไม่มีฐานทัพของชาวมะริกันอยู่ในบริเวณเส้นทางการบินระหว่างอลาสก้ากับเกาะญี่ปุ่นเลย อีกทั้งในสมัยก่อนเทคโนโลยีการเติมน้ำมันกลางอากาศแบบในปัจจุบันก็ยังไม่มี จึงทำให้เวลาจะเติมเชื้อเพลิงกันแต่ละทีนั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดก็จำต้องร่อนลงจอดบนพื้นดินเท่านั้นครับ
ดังนั้นในสมัยสงครามกองทัพมะริกันจึงใช้วิธีรุกคืบตัดกำลังของญี่ปุ่นไปทีละหมู่เกาะ กล่าวคือเริ่มกำราบทหารญี่ปุ่นตั้งแต่บริเวณหมู่เกาะปาปัวนิวกินี(ตำนานกองทหารญี่ปุ่นถูกฝูงจระเข้กระหายเลือดรุมกินโต๊ะก็มีมาจากที่นี่แหละครับ) จากนั้นพอยึดฐานที่มั่นของพวกยุ่นในหมู่เกาะเหล่านั้นได้ ก็ใช้มันเป็นฐานของเครื่องบินในการระดมโจมตีหมู่เกาะทางทิศเหนือขึ้นไปเรื่อยๆ
และพอยึดหมู่เกาะต่อไปได้ก็ใช้มันเป็นฐานที่มั่นสำหรับเครื่องบินเพื่อสนับสนุนการโจมตีของเหล่านาวิกโยธินที่บุกยึดหัวหาดในหมู่เกาะต่อไปอีกเหมือนกับโดมิโน่ ซึ่งเมื่อทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆทหารมะริกันก็จะสามารถมีฐานทัพอากาศที่อยู่ใกล้หมู่เกาะแม่ของพวกยุ่นมากขึ้นเพื่อความสะดวกต่อกองบินทิ้งระเบิดเวลาจะไปถล่มญี่ปุ่นนั่นเองครับ
ป.ล. แต่หลังจากการสูญเสียอย่างหนักที่เกาะอิโวจิม่าบวกกับความต้องการทดสอบอาวุธชนิดใหม่ ทหารมะริกันจึงหันมาใช้ระเบิดนิวเคลียร์แทนการยกพลขึ้นเกาะหลักของญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรีบปิดฉากสงครามโดยเร็วและรักษาชีวิตของทหารหาญครับ
(May the Spoil be with you) ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน
จากคุณ |
:
เจไดหนุ่ม
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 53 23:25:26
|
|
|
|