Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
#### เศรษฐกิจพอเพียงดีจริงหรือ ? กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ สังคม และเทคโนโลยี ####{แตกประเด็นจาก X9627033}  

กระทู้นี้เป็นวิทยาศาสตร์แน่นอน (ดักผีไฟแดง) ผมขอเปิดประเด็นอภิปรายเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และสังคมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดีจริงหรือ ?

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความ
รอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนิน
การทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ที่มา : http://www.eto.ku.ac.th/s-e/mean-th.html

ผมเป็นคนพูดไม่เก่ง แต่มีประเด็นในใจอยู่ จะพยายามเขียนเพื่อสื่ออกมาให้ชัดเจนพอให้ทุกคนเข้าใจ จะพยายามครับ

ในโลกทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้กำลังก้าวเข้าสู่ทุนนิยมเต็มขั้น โดยที่เราจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ทุกประเทศต่างตก
อยู่ภายใต้สภาวะแข่งขันกันทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจย่อม
มีความเสี่ยงเสมือนการลงทุนที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นเดียวกัน คำว่าพอเพียงมันอาจจะใช้ไม่ได้กับทุกกรณีเสมอไป
เช่นการที่น้ำมันแพงเลยกลับไปสนับสนุนให้ใช้ควายไถนาแทนที่การพัฒนาพลังงานทดแทนราคาถูกหรือเครื่องมือ
ทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โอเคที่ว่าการกลับไปใช้ควายไถนานั้นต้นทุนถูกลงก็จริงแต่มันผิดหลักการ
มากในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยี เสมือนบอกว่าเสาสัญญาณไอโฟนมีปัญหาเพราะนิ้วมือสัมผัสทำให้รบกวนคลื่น
ทางแก้คือใส่ซองซิลิโคนสะจะได้ไม่ไปสัมผัสมันหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณนั้นแทน ซึ่งมันไม่ถูกต้อง ทางแก้ที่ถูก
ต้องคือต้องพัฒนาระบบเสาสัญญาณใหม่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแม้ว่าจะโดนนิ้วมือสัมผัส มันคล้ายๆ กับว่าพอเราเจอกับ
ปัญหาปุ๊บเราไม่ดำเนินการแก้ไขแต่กลับบอกว่าให้ไปใช้วิธีเดิมที่ไม่มีปัญหา เหมือนออกซอฟท์แวร์เวอร์ชั่น 5 แล้วไม่
เสถียรก็ให้กลับไปใช้ 4.5a ที่เสถียรมากกว่าและหยุดการพัฒนาเวอร์ชั่น 5 นั้น ผมไม่รู้จะยกตัวอย่างอย่างไรให้ใกล้
เคียงแต่คิดว่าน่าจะนึกออกว่ามันขัดขวางการพัฒนาทางเทคโนโลยีและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สมมติว่ารัฐบาลต้องการลงทุนระบบสาธารณูปโภค 1 แสนล้านบาท แม้ว่ามันจะมีความเสี่ยงในอนาคตและอาจจะต้อง
กู้หนี้ยืมสินจำนวนมากเพื่อมาลงกับโครงการนี้ แต่ในอีกนัยหนึ่งโครงการนี้จะก่อเกิดงานมากมาย อีกทั้งระบบ -
สาธารณูปโภคยังได้รับการพัฒนา ประชาชนในอนาคตหรือรุ่นนี้จะได้รับความสะดวกสบาย ก็ควรเป็นสิ่งที่ต้องทำมิใช่
หรือแน่นอนว่ามันเป็นการใช้เงินเกินตัวแต่การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ถ้าไม่ลงทุนก็ไม่เกิดกำไรไม่เกิดสิ่งของ

ขอยกตัวอย่างคน 2 คน นาย เอ และนาย บี เงินเดือนเท่ากัน คือ สามหมื่นบาท นาย เอ เป็นคนหัวก้าวหน้าในขณะที่
ทำงานอยู่นี้เป็นหนี้เป็นสินมากมาย ไม่ว่าจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนคอนโด (ซึ่งซื้อเอาไว้ให้คนอื่นเช่นอีกที) ผ่อนที่ดิน
ซื้อมาเก็บเอาไว้ให้คนอื่นเช่น เงินเดือนๆ หนึ่งแทบจะไม่พอใช้ ก็กระเบียดกระเสียนกันไป ในขณะที่นาย บี เป็นคนขี้กลัว
ไม่กล้าเป็นหนี้ เพราะกลัวความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเช่าทาวเฮ้าส์อยู่เฉยๆ เดือนละ 2500 บาท เดือนนึงๆ อยู่ได้สบาย
เพราะเงินเดือนเหลือเพียบ เมื่อเวลาผ่านไป 15 ปี นาย เอ มีทั้งบ้าน มีทั้งรถ มีทั้งคอนโดปล่อยเช่า มีทั้งที่นาปล่อยเช่าใน
ขณะที่นาย บี กล้าๆ กลัวๆ ไม่เสี่ยงลงทุนกลับยังเช่าบ้านอยู่เหมือนเดิม เงินเก็บก็ไม่ได้พอกพูนเท่าไหร่เลย คำว่าเศรษฐกิจ
พอเพียงมันใช้กับกรณีแบบนี้ไม่ได้ เพราะสุดท้ายแล้วคือไม่มีอะไรเลยเพราะไม่กล้าที่จะเสี่ยง

ปัญหาชาวนาชาวไร่ได้ผลผลิตทางการเกษตรต่ำ ปลูกพืชชนกัน ฯลฯ ทางแก้คือการพัฒนาระบบการค้าที่มีประสิทธิภาพ
และยั่งยืนมิใช่หรือเป็นการก้าวไปข้างหน้า การจัดสรรที่ดิน การเพิ่มการต่อรองทางสินค้า การเพิ่มตลาด ฯลฯ ผมไม่รู้ว่า
มีอะไรบ้างจะอธิบายยังไงแต่เพื่อนๆ น่าจะเข้าใจ ทางแก้เหล่านั้นมันเป็นการพัฒนามิใช่หรือเพื่อเดินไปข้างหน้า แต่การที่
บอกว่าให้ย้อนถอยกลับไป ไปปลูกแบบพอมีพอกิน ไม่ต้องส่งขาย ไม่ต้องทำเยอะๆ มันเหมือนไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเพียง
แต่กลับย้อนถอยไปสู่สถานะภาพที่ไม่มีปัญหาและหยุดไม่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อเราก้าวต่อไป

สมมติว่ารัฐบาลต้องการจะกระทำโครงการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มันขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงแต่รัฐบาลไม่สามารถกระทำ
ได้หรือกระทำได้โดยลำบากเพราะกระแสสังคมมันนำพาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่นนี้ถือว่าเป็นการแทรกแซงหน้าที่
ของรัฐบาลหรือเปล่า ผมพูดโดยตรรกะเหตุและผล

การวิพากษ์
อย่างไรก็ตาม ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์
การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า รายงานฉบับดัง
กล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่
ยั่งยืนอยู่ในขณะนี้” เลย[18] และกล่าวว่าเนื้อหาในรายงานแทบทั้งหมดเป็นเพียงการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือ
ในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น[19] ส่วน Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการ
พัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า "สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติต้องการที่จะทำให้เกิดการอภิปรายพิจารณา
เรื่องนี้ แต่การอภิปรายดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก"
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบที่ไม่มีความแตกต่างไปจาก
"ความนิยมท้องถิ่น" (Localism) เลย[20] และยังมีชาวต่างชาติอีกมากที่ยังไม่เข้าใจว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แท้จริง
แล้วหมายถึงอะไร
http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง

ระบบทุนนิยมทำให้เกิดการแข่งขัน การแข่งขันนั้นย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะ แต่ในขณะเดียวกันการแข่งขันนั้นทำให้เกิดการพัฒนา
และต่อยอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น เราปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นเกิดจากการแข่งขันเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
ได้ในระบบทุนนิยม หากทุกคนเกิดอาการเฉื่อยชาและคิดว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นมันพอเพียงแล้ว ไม่เห็นจะต้องไปทำอะไรให้มัน
มากขึ้นภาพมันเหมือนดูดีแต่ในขณะที่คนอื่นนั้นก้าวไปไกลแล้วเพราะเขาสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการแข่งขันไม่ให้เกิดการ
ผูกขาดเราคงจะเห็นแล้วว่าการผูกขาดก่อให้เกิดการหยุดนิ่วไม่พัฒนาอย่างไร การบอกว่าให้เราพอเพียงเปรียบเสมือนการ
บอกว่าให้เราหยุดและใช้สิ่งที่มีไปก่อนถ้ามันพอ แทนที่จะพัฒนาหาทางแก้ไขว่าทำอย่างไรให้สิ่งที่เรามีอยู่นั้นมันมีเพิ่มมากขึ้น
ไม่รู้เพื่อนๆ จะเข้าใจอย่างที่ผมเข้าใจหรือเปล่าเหมือนเรื่องควายไถนานั่นแหละ

ขอยกตัวอย่างคุณยายผม ตอนต้นของชีวิตนั้นท่านเหนื่อยมาก เพราะเลี้ยงลูกหลายคน คุณตาผมค่อนข้างเป็นคนหัวโบราณ
ท่านไม่อยากให้ลูกได้เรียนหนังสือมีลูกกี่คนก็บอกว่าให้มาทำงานให้หมดช่วยพ่อแม่ทำงานหากิน หากคุณยายผมคิดแค่นั้น
พ่อแม่ผมก็คงไม่ได้จบปริญญาเหมือนทุกวันนี้ คุณยายผมท่านกัดฟันสู้ทนทำงานลำบากกู้หนี้ยืมสินมากมายเพื่อส่งให้แม่ผม
และพี่น้องได้เรียนหนังสือจนจบปริญญาทุกคน มันก็เหมือนการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงแต่มันก็คุ้มค่าเพราะตอนนี้ท่านก็สบาย
แล้วลูกหลานมีงานการทำดีทุกคน หากท่านคิดว่าเพียงพอแล้วจะต้องลำบากส่งไปเรียนหนังสือทำไม วันนี้ท่านอาจจะไม่สบาย
เหมือนทุกวันนี้ก็ได้

ขอบคุณครับ

จากคุณ : axquest
เขียนเมื่อ : 28 ส.ค. 53 16:11:25




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com