 |
[SARL] ชี้แจงเรื่องเสียงตอนปิดประตูรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์
|
|
จากที่เป็นประเด็นกล่าวขวัญกันมากเกี่ยวกับประตูรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ Suvarnabhumi Airport Rail Link
วันนี้จะขอมาอธิบายถึงต้นตอของเสียงที่เกิดขึ้นนะครับ
เสียง"ปั้ง" ที่ดังระหว่างประตูปิด เกิดจากกลไกของประตู เวลาที่ประตูถูกดึงกลับเข้ามาในตัวรถ หากท่านลองสังเกตดีๆ บริเวณด้านล่างของประตู จะมีอุปกรณ์ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสปริง คอยดึงประตูกลับ พอประตูปิดมาถึงตำแหน่ง อุปกรณ์ตัวนี้จะทำการดึงประตูให้หุบเข้ามาในตัวรถ จึงทำให้เกิดเสียงดัง และเสียงแบบนี้เป็นปกติของระบบประตูแบบ Plug-In Door ครับ
ประตูแบบ Plug-In Door
ประตูแบบนี้จะใช้บนเครื่องบิน และห้องที่ต้องการควบคุมความดัน หรืออุณหภูมิ แต่สำหรับรถไฟก็มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น
MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF MTR K-Stock EMU จาก Hyundai Rotem/ Mitsubishi Heavy Industries Desiro Series จาก Siemens AG
ทั้งนี้ ในรถไฟไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อควบคุมความดันหรืออุณหภูมิแต่อย่างไร และไม่สามารถควบคุมความดันหรืออุณหภูมิได้
และเสียงที่เกิดขึ้นจากการปิดประตู เกิดการกลไกการทำงานของระบบประตู โดยเฉพาะช่วงที่ประตูหุบเข้ามาในขบวนรถ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตระบบประตูให้กับรถขบวนนั้นๆ สามารถออกแบบกลไกให้ทำงานเงียบได้ (ของ SARL นั้นคือ บริษัท BODE A.G. จากประเทศเยอรมนี)
ประตูรถไฟแบบ Plug In Door มีทั้งแบบเสียงดัง และแบบเงียบครับ ขึ้นอยู่ว่าจะทำแบบไหน (ลองชมตัวอย่างได้จากในคลิปด้านล่าง)
ส่วนใหญ่รถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟที่ต้องการทำความเร็ว จะใช้ระบบประตูแบบนี้กันมาก เนื่องจากมีผลในเรื่องของกระแสลมวนบริเวณของประตู
Outside Sliding Door แบบ BTS/MRT หรือ Pocket Sliding Door จะมีส่วนของประตูที่ยื่นออกมาจากตัวถังรถด้านข้าง อาจจะทำให้เกิดกระแสนลมวน เวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูง และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
Plug-In Door แบบ Desiro เวลาประตูปิด ประตูจะเรียบสนิทกับตัวถังรถ ทำให้ไม่เกิดกระแสลมวนบริเวณประตูเวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูงครับ
ส่วนเรื่องที่ประตูเด้งออกเองเมื่อชนวัตถุเพราะมี Sensor ทำงาน อันนี้ขอแจ้งว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร เพียงแต่หากมีวัตถุมาขัดขวางการปิดประตู ประตูจะหยุดการทำงานชั่วขณะเท่านั้นครับ ไม่มีการเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่เปิดออก
ซึ่งผมได้สอบถามไปยัง บริษัท Siemens มาแล้ว พบว่า Sensor ที่ติดตั้งไว้นั้นไม่ได้เป็น Sensor ตรวจจับวัตถุ แต่เป็น Sensor ตรวจจับการยับยั้งการปิดประตู ซึ่งอยู่ที่ชุด Control ด้านบน และไม่สามารถมองเห็นได้จากด้านนอก
หลักการทำงานของมันก็คือ เมื่อประตูกำลังปิดหากมีวัตถุหรือส่วนใดของร่างกาย มาผลักหรือขัดขวางการปิดประตู (ตรวจจับจากแรงกระแทกที่ระยะ 1 ซม. คือหากเป็น ผดส.ต้องโดนประตูกระแทกก่อน ประตูถึงจะหยุด) จะทำให้ประตูหยุดที่ตำแหน่งที่โดนกระแทก และประตูจะพยายามปิดอีกครั้ง แต่หากประตูพยายามปิดถึง 3 ครั้ง และวัตถุดังกล่าวยังคงขัดขวางอยู่ จะทำให้ประตูหยุดการทำงาน และจะปิดได้อีกครั้งโดยกดปุ่มปิดประตูใน Driver Cab
สุดท้ายนี้หากผู้โดยสารทุกคนปฏิบัติตามกฏ คือ ไม่ยืนกีดขวางบริเวณประตู รวมไปถึงไม่พิงประตูรถ / Move inside the train away from door area and do not lean on door. ถ้าคุณทำตามกฏได้ ก็คงไม่มีอะไรให้ต้องกังวลครับ
Plug In Door on MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF (Now, Bombardier Transportation)
จากคุณ |
:
Can you MMS?
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ส.ค. 53 17:57:56
|
|
|
|  |