 |
การศึกษาเกี่ยวกับกราฟีนนั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1947 โดย P. R. Wallece เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษากราไฟท์ (graphite) เพื่อที่จะนำไปใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลีย ในขณะนั้นเขาคิดว่าชั้นกราไฟท์เดี่ยวๆ ชั้นเดียว นั้นไม่เสถียรพอที่จะคงรูปอยู่ได้ (ขณะนั้นยังไม่ชื่อกราฟีน) ต่อไปในปี 1957 Slonczewski, Weiss และ McClure ได้ศึกษา band structure ของกราไฟท์ต่อ และได้มีการทดลองพิสูจน์ในช่วงปี 1958-1965
ต่อมาเมื่อมีการค้นพบท่อนาโนคาร์บอนตั้งแต่ปี 1991 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้คุณสมบัติของกราฟีน ไปใช้ในการคำนวณคุณสมบัติของท่อนาโนคาร์บอน ทำให้เรารู้คุณสมบัติที่น่าสนใจของมันมากมาย ก่อนที่เราสามารถสังเคราะห์กราฟีนได้ซะอีก
คุณสมบัติหลักๆ ของกราฟีน ที่น่าสนใจได้แก่
- Electronic: กราฟีนมีค่า mobility หรือ ความสามารถในการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนสูงมาก ทำให้เราสามารถสร้างทรานซิสเตอร์ที่ทำงานเร็วมากๆ ได้
- Mechanic: Young’s Modulus หรือสถาพความยืดหยุ่ด ซึ่งเป็นค่าบอกระดับความแข็งแกร่ง (stiffness) ซึ่งกราฟีนเป็นวัสดุที่วัดค่ามอดูลัสของยังได้สูงเทียบเท่า หรือมากกว่าเพชร
- Thermal conductivity หรือความสามารถในการนำความร้อนจำเพาะ ซึ่งเราวัดค่าความนำความร้อนจำเพาะของกราฟีนได้สูงกว่าวัสดุประเทภอื่นๆ และยังนำความร้อนได้ดีกว่าเพชรที่ครองแชมป์มาตลอด ด้วยคุณสมบัตินี้เอง เราจึงอยากนำกราฟีนไปช่วยในระบบระบายความร้อนใน CPU
- Optical properties: กราฟีนแผ่นเดียว ชั้นเดียว จะดูดกลืนแสงประมาณ 2.3% สำหรับคนที่ชอบโยงค่าต่างๆ เข้าด้วยกับเพื่อหาความลับของจักรวาล ตัวเลข 2.3% ก็คือ p (pi) คูณกับ Fine structure constant ครับ
รูปแสดงการทดสอบการนำความร้อนของกราฟีน โดยใช้เลเซอร์เผาแผ่นกราฟีน แล้วคำนวณการนำความร้อนออกมา รูปจาก A. A. Balandin et al. Nano Lett., 2008, 8 (3), pp. 902-907
แก้ไขเมื่อ 11 ต.ค. 53 11:19:41
จากคุณ |
:
ped cad
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ต.ค. 53 07:56:09
|
|
|
|
 |