 |
ที่เลือกการทดลองนี้มานำเสนอเพราะเป็นการทดลองที่ใกล้เดียวกับการใช้ฟีโรโมนเพื่อการดึงดูดทางเพศที่สุด
อนึ่ง "การทดลองทางวิทยาศาสตร์" เกี่ยวกับฟีโรโมนกับพฤติกรรมมนุษย์ที่หามาล้วนแต่ทำการทดลองโดยใช้ฟีโรโมนที่สร้างจากธรรมชาติ เช่น ใช้กลิ่นเหงื่อ หรือหากใช้สารสังเคราะห์ แต่ก็มีวิธีการทดลองและข้อจำกัดมากมาย
ดิฉันยังไม่พบการทดลองที่เคลมสารสังเคราะห์ฟีโรโมนที่ใช้ผสมกับน้ำหอม หรือเครื่องสำอางที่ขายกัน ว่ามีผลทางวิทยาศาสตร์ สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ได้จริง ที่หาได้ใกล้เคียงที่สุดก็มีการทดลองนี้แหล่ะค่ะ
ควรจะซื้อเครื่องสำอางที่อ้างว่าผสมฟีโรโมนหรือไม่?
ดิฉันไม่ทราบว่าเครื่องสำอางที่อ้างว่าใส่ฟีโรโมนนั้น..
1. ใส่จริงหรือไม่ และเมื่อดูจากต้นทุน-ราคาขาย จะมีปริมาณฟีโรโมนเท่าไหร่ มากพอจะออกฤทธิ์จนเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ได้ไหม?
2.ความคงอยู่ของฟีโรโมนในเครื่องสำอาง - ได้พิสูจน์หรือยังว่าใส่เเล้วมันไม่สลายไปตั้งแต่ 1-2 วันแรกที่บรรจุขวด? - และเมื่อนำมาใช้ ฟีโรโมนออกฤทธิ์บนผิวผู้ใช้ได้กี่นาที-ชั่วโมง?
3. ในเมื่อ "คาดว่า" มนุษย์มีฟีโรโมนอยู่แล้วตามธรรมชาติ แม้ว่าผลการทดลองยังไม่แน่ชัดว่ามีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์จริงหรือไม่
แล้วจะซื้อฟีโรโมนสังเคราะห์เพื่ออะไร ?
รอให้วิทยาการมันก้าวหน้าพอที่จะผลิตสารที่กระตุ้นเร้าความสนใจก่อนดีกว่าค่ะ
------------------------------------------------------------------------------- ที่มา 1. Pause BM. Is the human skin a pheromone-producing organ? J Cosmet Dermatol. 2004 Dec;3(4):223-8 2. Pause BM. Are androgen steroids acting as pheromones in humans? Physiol Behav. 2004 Oct 30;83(1):21-9 3. [รูป # 3] Kaminski RM, et al. The pheromone androstenol (5 alpha-androst-16-en-3 alpha-ol) is a neurosteroid positive modulator of GABAA receptors. J Pharmacol Exp Ther. 2006 May;317(2):694-703. Epub 2006 Jan 13 4. Stern K, McClintock MK. Regulation of ovulation by human pheromones. Nature 1998;392:177-9 5. Motofei IG. A dual physiological character for sexual function: libido and sexual pheromones. BJU Int. 2009 Dec;104(11):1702-8. Epub 2009 May 19 6. Filsinger EE, Braun JJ, Monte WC. An examination of the effects of putative pheromones on human judgments. Ethol Sociobiol 1985;6:227 36 7. Miller SL, Maner JK. Scent of a woman: men's testosterone responses to olfactory ovulation cues. Psychol Sci. 2010 Feb 1;21(2):276-83. Epub 2009 Dec 22 8. [รูป # 14, 15] Saxton TK, Lyndon A, Little AC, Roberts SC. Evidence that androstadienone, a putative human chemosignal, modulates women's attributions of men's attractiveness. Horm Behav. 2008 Nov;54(5):597-601. Epub 2008 Jun 1 9. [รูป # 8] http://www.cardiff.ac.uk/biosi/staffinfo/jacob/teaching/sensory/pherom.html 10. [รูป # 6] http://health.howstuffworks.com/human-body/systems/nose-throat/smell2.htm 11. [รูป # 7] http://www.tastingscience.info/Explained/Anat.htm#Trigeminal
แก้ไขเมื่อ 13 ต.ค. 53 11:40:43
แก้ไขเมื่อ 13 ต.ค. 53 01:41:59
จากคุณ |
:
โอ้ละหนอ
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ต.ค. 53 01:23:56
|
|
|
|
 |