กลับมาดูคำถาม... สาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วม
ถ้าเราย้อนดูน้ำท่วมคราวก่อน จะเห็นมีข่าวน้ำทะเลหนุนสูงวันนั้น วันนี้ เมื่อน้ำทางตอนเหนือไหลลงมาก็เกิดน้ำท่วมกรุงเทพ ... กรมชลประทานใช้บทเรียนอดีตมาแก้ไข ครั้งนี้กรมชลประทานทำได้ดี เป็นขั้นตอน ควบคุมการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนชัยนาท ให้สัมพันธ์กับน้ำทะเลหนุน เรื่องนี้ผมยก
ให้
วันที่ 8 น้ำทะเลจะมีระดับสูง เราคอยดูการปิดเขื่อนชัยนาท กรมชลประทานจะต้องปิดก่อน 3 วัน คือ วันที่ 5 จะต้องปิดแล้ว เพราะน้ำจากชัยนาทมาถึงกรุงเทพประมาณ 2-3 วัน การวางแผนจัดการอย่างนี้ต้องทำงานประสานกับพยากรณ์อากาศและ ฯลฯ ทำงานร่วมกัน จึงจะสำเร็จ
ภายในเขตกรุงเทพ สำนักระบายน้ำตั้งแต่สมัยรองอนุชิต โสดสถิตย์ ท่านเตรียมการวางแผนงานล่วงหน้า เช่น ตรงหน้ารามกำแหง(ที่เป็นแอ่ง) วางแผนจะไม่ให้ท่วม และไม่ท่วมได้จริง ...
เหล่านี้เป็นตัวอย่าง การวางแผนป้องกัน โดยใช้ข้อมูลจากอดีต เมื่อวางแผนแล้วจะต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง การป้องกันจึงจะมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ทุกครั้งเมื่อเกิดน้ำท่วมสิ่งแรกที่ ฝ่ายบริหารสูงสุด คือ ท่านนายก จะต้องเร่งอนุมัติงบฯ ที่กันไว้ ให้มีการดำเนินการช่วยเหลือและ ฯลฯ ทันที
ไม่ใช่ไปเที่ยวเดินลุยน้ำ แล้วปล่อยให้ลิ่วล้อออกมาแก้ตัวว่า ท่านไปดูพื้นที่ ดูพื้นที่หน้างานเป็นเรื่องของกองหน้า จะมาดูอะไรตอนนี้
ไปยื่นหน้าปลอบขวัญประชาชนเหรอ ท่านทำได้กี่เปอร์เซนต์ แล้วคนน้ำท่วมทั่วประเทศ ท่านใจดำ ไม่ไปลุยน้ำดูแลเขาบ้างหรือ ?
นายกไปลุยน้ำ ดูแล้ว เห็นแล้ว ท่านก็สั่งการไม่ได้ เพราะการสั่งการป้องกัน จะต้องสั่งให้ทำงานเป็นทีมงาน ครับ
สรุป สาเหตุน้ำท่วมรุนแรง ..เกิดจากไม่มีการเตรียมงาน วางแผนป้องกันล่วงหน้า
ถ้าวางแผนล่วงหน้าจะป้องกันได้อย่างน้อยในระดับหนึ่ง ซึ่งดูจากความเสียหายจะ
ไม่ใช่ เพิ่มขึ้นทุกที แล้วมายื่นหน้าบอกประชาชนว่า ....น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติ