 |
ไม่ได้แวะเวียนมานาน งานเข้าเยอะแยะ
คร่าว ๆ นะครับ กรุงเทพฯ เนี่ย จมบาดาลทุกปี 0-2 เมตร ครับ (ย้ำสองเมตรครับ) แต่เราป้องกันน้ำหนือ+น้ำหนุน โดยคันเขื่อนคอนกรีตริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 2 ฝั่ง สูง ประมาณ 2.5-3 เมตร ครับ
ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงสุดแต่ละปี 1.5 - 2.2 ม.รทก. (ในแต่ละวันน้ำเจ้าพระยา +1.0 ม.รทก เป็นเรื่องปกติมาก) แต่พื้นดินบ้านเรือนถนน ในกทม.สูงแค่ -0.5 (ติดลบ 50 เซนติเมตร) ถึง 1.5 ม.รทก. (ถนนกลางเมืองที่ยกระดับขึ้นมาแล้ว)
เห็นข่าวหรือกระทู้บอก กรุงเทพฯ ปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลลงเจ้าพระยาออกสู่อ่าวไทย ก็รู้สึกตลกร้าย แม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรองรับน้ำได้น้อยมาก ไม่เกิน 3,500 ลบม./วินาที หากมากกว่านี้ล้นริมฝั่งขึ้นตลิ่ง (ท่วม) นั่นเอง ( ปีนี้กรมชลปล่อยเขื่อนเจ้าพระยา มากกว่า 3,000 ลบม./วินาที และเขื่อนพระราม 6 (ท้ายเขื่อนป่าสักฯลงมา แถว ๆ สระบุรี) อีกมากกว่า 500 ลบม./วินาที (ช่วงปลายเดือนตุลาคม)
กทม. สร้าง เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลังน้ำท่วมใหญ่ ปี 38 จังหวัดริมน้ำเจ้าพระยา ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ก็พยายาม ก้อสร้างแนวคันเช่นนี้ โดยอาจใช้แนวถนน แทนคันคอนกรีตในบางพื้นที่ ซึ่งอาจมีบ้านเรือนที่อยู่ริมน้ำ แต่อยู่นอกแนวคันป้องกัน ได้รับผลกระทบจากน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
ปีนี้ กรมชลฯไม่ได้ผันน้ำเข้าทุ่งมากนัก (ปี 45,49 เต็มทุ่งภาคกลาง) น้ำส่วนใหญ่ อยู่ในลำน้ำเจ้าพระยา และสาขา( แม่น้ำน้อย ,ท่าจีน) ทำให้น้ำระบายจากทุ่งภาคกลางลงมาได้เฉพาะแม่น้ำสายหลัก เจ้าพระยา ท่าจีน ใครว่าง ๆ ลองไปดูน้ำเจ้าพระยาครับ ไม่ได้มีระดับสูงเพียงอย่างเดียว แต่ไหลเชี่ยวมากด้วยครับ เร็วขนาด 4-5 เมตรต่อวินาที สบาย ๆ
อ้อ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วง 6-10 พ.ย. นี้กันด้วยนะครับ เผื่อน้ำจากด้านเหนือมาเยอะ ระดับเจ้าพระยาที่กรุงเทพอาจยกระดับมาที่ 2.20 ม. ได้ และจะพาลให้เมืองเหนือ ๆ ขึ้นไป นนท์ - ปทุม - อยุธยา มีน้ำไหลลงมาได้ช้า และเอ่อล้นตลิ่งได้อีก
ส่วนวิธีทำไงไม่ให้น้ำท่วมภาคกลาง ก็คงต้องมีแม่น้ำเจ้าพระยา สายที่ 2 - 3 ทั้งบนบก หรือใต้ดิน (อุโมงค์) ละครับ ต้องลงทุนอีกมโหฬาร เหมือนกัน
จากคุณ |
:
วิศวกรไฟฟ้า
|
เขียนเมื่อ |
:
6 พ.ย. 53 20:27:46
|
|
|
|
 |