ถ้าเราจะยังช่างหัวแม่น้ำแล้วดำน้ำกันต่อไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสนดีงามนี้ อย่างน้อย กระทงใบตองน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่ากระทงขนมปัง เพราะเวลาในการย่อยสลายนานพอ มีเวลาสำหรับการเก็บกู้ได้พอสมควร Life cycle ของคาร์บอนสั้น แต่ถ้าจะให้แนะนำ อาจลองไปลอยกระทงบก ตั้งกระทงหรือวางพลีบูชา ไปบริจาคเงินเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำ หรือจัดรณรงค์เป็นวันทำความสะอาดแหล่งน้ำ ช่วยกันเก็บขยะคนละไม้คนละมือ อันนี้ละที่น่าจะเรียกว่าเป็นการตอบแทนคุณของแม่น้ำจริงๆ
วัฒนธรรมปรกติจะเจริญไปกับความรู้ทางสังคม ถ้าความรู้บ่งชี้ว่าวัฒนธรรมนี้ที่มีรากคือบูชาพระแม่คงคา แต่ตัวตนของมันส่งผลด้านลบต่อแม่น้ำ เราก็น่าจะหาวิธีบูชาอย่างอื่น ก็คือให้วัฒนธรรมนี้มีการวิวัฒนาการตามความรู้ของเรานะครับ
อ้างอิง
[1] http://th.wikipedia.org/wiki/วันลอยกระทง
[2] http://www.deqp.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1801%3A2002-11-13&catid=12%3A2010-02-17-11-32-15&Itemid=50&lang=th
[3] http://www.deqp.go.th/water/water_quality/Levelchao.html
[4] http://www.thaiwater.net/AIT_flood/flowdata.htm
[5] http://www.pcd.go.th/info_serv/en_water_Chaopraya50.cfm
[6] http://www.vcharkarn.com/vnews/151829
บทความนี้สรุปรวบรวมมาจากสิ่งที่เคยถกมาในปี 2552 และก็เผื่อว่าปีนี้จะอยากถกกันอีก ก็เลยถือโอกาสเริ่มเป็นบทความและอัพเดทลิงค์เปิดประเด็นให้ ข้อมูลที่มาเรื่องน้ำเสีย ผม update ของตา โลกร้อน ที่ลิงค์จุฬาสาบสูญไปแล้วนะครับ แต่สัดส่วนก็ยังคงเป็นอย่างที่ตา โลกร้อน ว่าไว้ตอนนั้น ภาคชุมชนบ้านเรือนเองเป็นผู้สร้างโหลดน้ำเสียขนาดใหญ่สุดครับ 
แก้ไขเมื่อ 17 พ.ย. 53 16:03:57