จากกระทู้ก่อน ที่สมภพ ต้องการทราบว่า ถ้าเราชั่งน้ำหนัก แม่เหล็ก โดยวาง แม่เหล็ก ออกเป็นสองแบบ
แบบแรก วางแม่เหล็ก ตามการชี้ ของเข็มทิศ หรือวางตามแกนแม่เหล็กโลก โดย ที่ ขั้ว เหนือ (N) และ ขั้วใต้ (S) ของแม่เหล็กจะชี้ไปทางทิศเหนือ ซึ่งกรณีนี้ แรงดึงดูดของแท่งแม่เหล็กับ กับแม่หล็กโลก น่าจะดึงดูดกัน
แบบที่สอง วางสลับขั้วกับอันแรก 180 องศาโดยเอาแม่เหล็กขั้วเหนือ ชี้ไปทางทิศเหนือ และ ขั้วใต้ ชี้ไปทางทิศใต้ ซึ่ง น่าจะส่งผลให้เกิดการผลักกัน ของแม่เหล็กเรา กับ สนามแม่เหล็กโลก
ซึ่ง สองกรณีดังกล่าว น่าสนใจ ว่า น้ำหนักที่ได้ จากสองกรณีดังกล่าว จะ แตกต่างกันหรือ คือ วางสลับขั้ว จะมีแรงดึงดูด ให้ วัดได้น้ำหนักมากกว่า การวางขั้วเดียว กัน ที่แรงผลักหรือ ไม่ ลองมาดูกันครับ
เริ่มด้วยการ หาแนวแกนแม่เหล็กโลก บริเวณนี้ จับแม่เหล็กห้อยให้มันลอยอิสระ จะเห็นว่ามันหมุนจัดตัวตามแนวแกนแม่เหล็กโลกอย่างเห็นได้ชัด(ทำตัวเหมือนเข็มทิศ)
จากนั้นปล่อยมันลงไปตามแนวนั้นวางไปบนกระดาษ ที่บนเครื่องชั่ง แล้ว มาร์คตำแหน่งไว้ เพื่อที่จะได้วาง ครั้งต่อๆ ไป ลงที่ตำแหน่งเดิม และ แนวแกนเดิม
นี่เป็นการวางแบบสลับขั้ว (แบบที่แม่เหล็กดูดกับแกนแม่เหล็กโลก วางแนวตัวเอง ตามธรรมชาติ) ต่อไปจะเรียกว่าแบบดูดกัน ครั้งที่ 1
แก้ไขเมื่อ 29 พ.ย. 53 19:18:16