 |
พัฒนาการของวิชาโหราศาสตร์ในยุคโบราณ ในศาสนาของพวกชาวคาลเดีย นั้นคือการเคารพนับถือเทพเจ้า ผีสาง เทวดา ซึ่งเชื่อกันว่า เหตุการณ์ทั้งหลายนี้เกิดขึ้นเพราะอำนาจของวิญญาณของดินและลมนับไม่ถ้วน และอาจควบคุมมันได้โดยการใช้เวทย์มนต์คาถา พิธีการไล่ผี และการปัดเป่าของพวกพ่อมด หมอผี ครั้นเมื่อซาร์กอนแห่งอัคดาดเข้ามาครอบครองซูเมอร์ (Sumer) พระบาบิโลเนีย ได้กลายเป็นผู้ปฎิบัติกิจกรรมต่าง ๆ แทนพวกแม่มด หมอผี และได้ทำการสถาปนาระบบดาราศาสตร์ (Astor-Theology) โดยอาศัยทฤษฎีมูลฐานที่ว่า เหตุการณ์ทั้งหลายคือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นและกำหนดขึ้นโดยปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งอาจค้นพบและสังเกตได้โดยอาศัยหลักตรวจการณ์ ด้วยเหตุนี้เอง วัดบาบิโลเนียที่สำคัญ ๆ ทุกวัดจึงมีหอดูดาว ซึ่งพวกพระใช้สำหรับตรวจการณ์ท้องฟ้าเพื่อบันทึกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นลงบนแท่งดินเหนียวเพื่อเก็บไว้สำหรับการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ชาวบาบิโลเนียเชื่อว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ และจากประสบการณ์เขาพบว่า การกระทำสิ่งเดียวกัน หากต่างวันที่และเวลาผลที่จะได้รับจะไม่เหมือนกัน เช่น บางครั้งก็ประสบความสำเร็จ บางครั้งก็ประสบความล้มเหลว เป็นต้น วันเวลาที่กระทำสิ่งนั้น ๆ จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะบ่งบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ความสำเร็จ ความล้มเลว หรือผลที่รับจากการกระทำกิจกรรมดังกล่าว จึงเกิดปัญหาขึ้นว่าอะไรเล่าที่เป็นเหตุที่ทำให้วันแต่ละวันไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามปัญหาพระชาวบาบิโลเนียได้สรุปโดยอาศัยการตรวจการณ์บนท้องฟ้าในตอนกลางคืนเป็นประจำว่า สิ่งที่กระทำในไม่เหมือนกันเหตุเพราะดาวบนท้องฟ้ามีตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน ด้วยข้อสมมุติฐานนี้เองพระชาวบาบิโลเนียจึงได้มีการสำรวจและจดบันทึกปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเอาไว้เป็นข้อมูล แล้วสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นหรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น ถ้าบนท้องฟ้ามีการเกิดอุปราคาขึ้น แล้วหลังจากการเกิดอุปราคาแล้วเกิดสงครามในนครอีลัม (Elam) และในวันใดหากเกิด อุปราคาก็จะเกิดสงครามขึ้นในนครอีลัม (Elam) ในวันเดียวกันนั้นเสมอ ด้วยการเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์นี้เอง การพยากรณ์ทางโหราศาสตร์จึงได้เกิดขึ้นนั้นเอง โดยอาศัยหลักพื้นฐานของ สถิติและวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการเก็บข้อมูลและเอาข้อมูลเก่า ๆ เหล่านี้มาประเมินผลและพยากรณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เนื่องด้วยเหตุการณ์บางอย่างไม่มีความน่าจะเป็นไปได้ตามคำพยากรณ์ดังเช่น กรณีตัวอย่างของการเกิดสงครามในนครอีลัม (Elam) ดังที่ได้เคยกล่าวไว้มาแล้วนั้น เพราะหากมีกรรมวิธีการพยากรณ์เป็นเช่น นั้นสงครามก็จะเกิดในนครอีลัมทุก ๆ ปี ปีละหลาย ๆ ครั้ง เพราะอุปราคานั้นเกิดขึ้นทุกปีและปีละหลาย ๆ ครั้ง ทั้งสุริยุปราคา จันทรุปราคา การพยากรณ์แบบนี้จึงมีความคลาดเคลื่อนสูง แต่ว่าเป็นมูลเหตุของแนวคิดในการเริ่มต้นการพยาการณ์โดยวิธีการทางโหราศาสตร์ ต่อมาวิชาโหราศาสตร์ได้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยการใช้หลักอุปมา เช่นเมื่อเกิดอุปราคาก็จะเกิดเหตุการณ์คล้ายสงครามขึ้นในนครอีลัมนั้นเอง และเกี่ยวกับการพยากรณ์ด้วยการอาศัยปรากฏการณ์ทางอุปราคานี้เอง ภายหลังต่อมาก็ได้พัฒนาให้มีการมีอายุ ว่าอุปราคาแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นมีอายุที่จะใช้ในการพยากรณ์ได้นานเท่าไร ด้วยเหตุนี้เองการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ที่แท้จริงนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นครั้งตามสมมุติฐานข้างต้นเมื่อประมาณปี 1817 ก่อนพุทธกาล โดยพระชาวบาบิโลเนีย ในยุคสมัยของซาร์กอน แห่งนครอัคดาด และกิจกรรมใด ๆ ก็ตามซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจท้องฟ้า น่าจะเป็นกิจกรรมทาง ดาราศาสตร์เสียมากว่ากิจกรรมทางโหราศาสตร์ หากจะเกี่ยวพันกันกับการพยากรณ์แล้วจะเป็นกิจกรรมทางการพยากรณ์ของพวกแม่มด หมอผีเสียมากว่า โดยการพยากรณ์ของเหล่าแม่มดหมอผีเหล่านี้จะอ้างถึงเทพเจ้าต่าง ๆ เช่นอาทิตย์ จันทร์ และดาวพระเคราะห์ทั้ง 5 ที่มีชื่อและมีฤทธิ์ต่าง ๆ กันทั้งนี้รวมทั้งเทพเจ้าประจำกลุ่มดาวต่าง ๆ ด้วย ตามความเชื่อของคนในยุคสมัยนั้น อนึ่งได้มีปรากฏว่าคนจำนวนมากได้มีความเข้าใจผิดว่าวิชาโหราศาสตร์นั้นมีกำเนิดมาจากประเทศอินเดียนั้น และมักจะอ้างหลักฐานที่ว่าด้วยตำราโหราศาสตร์สุริยา สิทธานตะ (Surya Siddhanta) ซึ่งมีมาตั้งแต่เมื่อ 2,163,102 ปีก่อน ค.ศ. นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวในทางวิทยาศาสตร์มนุษย์ยังไม่ได้ถือกำเนิด และพัฒนาการทางสมองก็ยังไม่สามารถคิดปรัชญา และวิชาการได้ ประกอบกันกับระยะเวลาดังกล่าวเป็นยุคของไดโนเสาร์เหตุผลข้อนี้จึงตกไปเพราะพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางโบราณคดีและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ จากการสืบค้นและค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของประเทศอินเดีย พอจะสรุปได้ว่าประเทศอินเดียมีความเจริญหลัง อาณาจักรบาบิโลเนียเกือบพันปี โดยหลักฐานทางเอกสารที่สามารถสืบค้นได้ถึงการแบ่งประเทศอินเดียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น บางยุคสมัยโดยอ้างอิงจากหนังสือ BASHAM The Wonder that was India โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้คือ 3,000 ปีก่อน ค.ศ. เริ่มสังคมเกษตรและบรรลุจิตสถาน (Buluchitan) 2,500-1,550 ปีก่อน ค.ศ. เริ่มวัฒนธรรมหะรัปปะ (Harappa Culture) 1,500-900 ปีก่อน ค.ศ. สมัยพระเวทย์ (Composition of the Hymns of the Rg. Veda) 900 ปีก่อน ค.ศ. สงครามมหาภารตะ (The Mahabharata War) ฯลฯ นอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ยังพบว่าประเทศอินเดีย ได้รับความรู้และการถ่ายทอดวิชาทางด้านโหราศาสตร์มาจากประเทศกรีกอีกทอดหนึ่ง เช่นคำว่า โหรา ซึ่งแปลว่าชั่วโมง ลิปดา ที่มีความหมายว่าหน่วยวัดมุมที่แบ่งแยกองศาย่อย และเมืองอเล็คซานเดีย (Alexandia) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของกรีกในยุคนั้น อินเดียถือว่าเป็นกรีนนิช ของวัฒนธรรมบาบิโลเนีย โดยเฉพาะวิชาโหราศาสตร์และศาสตร์ลึกลับต่าง ๆ โดยพระเจ้าอเล็คซานเดอร์มหาราช ที่ได้แผ่อำนาจและ อิทธิพลเข้ามาในอินเดียโดยการเข้าครอบครองเปอร์เชียในปี 330 ก่อน ค.ศ. และยกกองทัพข้ามเขาฮินดูกูชในปี 327 ก่อน ค.ศ.แล้วข้ามแม่น้ำสินธุเข้ามาในปีถัดไป ด้วยเหตุนี้เองหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ขุดค้นพบจาก นครอัคดาดดังกล่าวที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงทำให้น้ำหนักที่ว่า โหราศาสตร์นั้นเกิดจากประเทศอินเดียนี้ตกไป และมีความเป็นไปได้สูงตามเหตุผลของวิชาการโบราณคดี และตามหลักเหตุผลของวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์จึงมีความที่จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นครั้งตามสมมุติฐานข้างต้นเมื่อประมาณปี 1817 ก่อนพุทธกาล โดยพระชาวบาบิโลเนีย ในยุคสมัยของซาร์กอน แห่งนครอัคดาด
แก้ไขเมื่อ 10 ธ.ค. 53 17:12:01
จากคุณ |
:
aloha_123
|
เขียนเมื่อ |
:
วันรัฐธรรมนูญ 53 17:11:30
|
|
|
|
 |