ได้มานานแล้วครับ...
วิธีผ่าตัดไธรอยด์อันที่จริงแล้วมีหลายแบบครับ เช่น Partial thyroidectomy (ตัดแค่บางส่วนที่เป็นโรค) Thyroid lobectomy (เฉือนทิ้งหนึ่งกลีบ) Subtotal thyroidectomy (ตัดเยอะเกือบหมด) Near-total thyroidectomy (เกือบบบบบบบบบจะหมดอยู่แล้ว) ไม่ก็ Total thyroidectomy ไปเลย...
ศัลยแพทย์จะพิจารณาวิธีผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุดตามแต่ลักษณะของตัวโรคในไธรอยด์นั้น และจะพยายามตัดให้ "มากที่สุด (ที่จะครอบคลุมส่วนที่เป็นโรค) และน้อยที่สุด (ที่จะไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน)" อยู่แล้วครับ
ถ้าตัวโรคในไธรอยด์จำเป็นต้องได้รับการเอาออกมากหน่อย ศัลยแพทย์ก็อาจพิจารณาทำ Subtotal thyroidectomy หรือ Near-total thyroidectomy โดยยังเก็บส่วนที่ติดกับต่อมพาราไธรอยด์ไว้ เพื่อไม่ให้เสียฟังก์ชั่นที่สำคัญของพาราไธรอยด์ ซึ่งคือการผลิตฮอร์โมนพาราธอร์โมน (หรือ PTH) ซึ่งรักษาระดับแคลเซียมในเลือดครับ
แต่ถ้ารอยโรคของไธรอยด์ก้อนนั้นมากจริงๆ หรือเป็นมะเร็งที่จำเป็นต้องเอาออกทั้งก้อน หรือมีส่วนหนึ่งของรอยโรคติดกับ/ลุกลามเข้าไปในพาราไธรอยด์แล้ว ก็อาจจะจำเป็นต้องตัดทั้งไธรอยด์ทิ้งไปเลยครับ ในขณะที่ตัวพาราไธรอยด์ ถ้าเก็บให้อยู่ที่เดิมไม่ได้จริงๆ วิธีที่นิยมกันก็คือ ศัลยแพทย์จะดึงตัวพาราไธรอยด์ออกมาจากตำแหน่งปกติ ฝานให้เป็นแว่นบางๆ (นึกภาพแตงกวาหรือมะเขือเทศฝาน) แล้วเอาไปฝังไว้ที่ชั้นใต้ผิวหนังที่ตำแหน่งต้นแขนครับ... วิธีนี้จะทำให้พาราไธรอยด์ยังหลั่งพาราธอร์โมนออกมาได้เหมือนเดิมทุกประการครับ (แต่ก็มีรายงานสำหรับ Failed procedure จนทำให้ผู้ป่วยมีภาวะ Hypo-PTH ทีหลังได้เหมือนกันครับ)
จากคุณ |
:
patyawi
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ธ.ค. 53 18:17:39
|
|
|
|