 |
52. เราจะบินผ่านแถบดาวเคราะห์น้อยได้อย่างไรโดยไม่ให้ชน
อันที่จริงแล้วมีความเป็นไปได้น้อยมากๆที่เราจะบินไปชนกับอะไรเข้าในแถบดาวเคราะห์น้อย
ไม่ว่าเราจะเคยเห็นแถบดาวเคราะห์น้อยมีหน้าตาเป็นอย่างไรในภาพยนตร์ผจญภัยท่องอวกาศ โดยทั่วไปแล้ว แถบดาวเคราะห์น้อยคือบริเวณที่ค่อนข้างเวิ้งว้าง ถึงแม้จะดูหน่าแน่นกว่าบริเวณอื่นๆของอวกาศ แต่ก็ยังถือว่าเวิ้งว้างอยู่ดี
ปกติแล้ว ช่องว่างระหว่างดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่พอจะสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับยานอวกาศได้มีขนาดประมาณ 2 ล้านกิโลเมตร
และถ้าเราโชคดีได้บินไปเจอกับดาวเคราะห์น้อยทีอยู่เดี่ยวๆ เราก็อาจจะอยากจะตั้งชื่อให้มันก็ได้
ทุกวันนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลมีคณะกรรมการตั้งชื่อ 15 คน เพื่อควบคุมการเรียกชื่อดาวเคราะห์น้อยที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอด แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่จริงจังกันสักเท่าไหร่ ดังจะเห็นได้จากชื่อที่เพิ่งได้รับการอนุมัติในเมื่อไม่นานมานี้
(18932) Robinhood, (2829) Bobhope, (7328) Seanconnery, (453) Tea, (3904) Honda, (17627) Humptydumpty, (9941) Iguanodon, (9949) Brontosaurus, (9007) James Bond, (39415) Janeausten, (3742) Sunshine, (17458) Dick, (1629) Pecker และ (821) Fanny
การตั้งชื่อเพี้ยนๆให้ดาวเคราะห์ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อย่างดาวพลูโตก็ถูกตั้งชื่อในปี 1930 โดย เวเนเทีย เบอร์นี่ย์ เด็กนักเรียนหญิงวัย 11 ขวบที่เมืองออกซ์ฟอร์ด ซึ่งคุณปู่ของเธอได้นำชื่อที่เธอเสนอขึ้นมาเล่นๆระหว่างมื้อเช้าไปเล่าให้เพื่อนสนิทฟัง และเพื่อนสนิทของเขา เฮอร์เบิร์ต ฮอลล์ เทอร์เนอร์ ก็เผอิญเป็นศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพอดี
จากคุณ |
:
ก็อดแฮนด์
|
เขียนเมื่อ |
:
วันสิ้นปี 53 00:37:40
|
|
|
|
 |