Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เราสามารถเพิ่มไมโตรคอนเดรียในร่างกายเราได้หรือไม่ "กรดแลคติค สร้างอะไรได้มากกว่าคำว่าล้า" ติดต่อทีมงาน

พอดีไปเจอบทความนี้มาครับ

"กรดแลคติค สร้างอะไรได้มากกว่าแคำว่าล้า"

โดยอลิซาเบธ ควินน์
21 พฤศจิกายน 2003
จาก บทตีพิมพ์ในวารสารนักศึกษาคอลัมน์สุขภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เพื่อการออกกำลังกาย วิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา

หลังจากที่กรดแลคติ คได้ถูกจำกัดความใหม่แทนที่ต้นเหตุแห่งอาการล้าและความล้มเหลวในการทำงาน หนักของกล้ามเนื้อ บัดนี้มันถูกมองใหม่ในมุมมองที่เป็นประโยชน์ในระบบการสังเกคราะห์พลังงานของ ร่างกาย ศ.จอร์จ บรูคส์ ได้ให้แนวคิดว่ากรดแลคติคเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานของกล้าม เนื้อในการทำงานหนัก ช่วยกระบวนการคงกลูโคสในกระแสโลหิต, การนำไกลโคเจนมาจากตับ และ ช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถรอดจากการหมดประสิทธิภาพเมือ่ทำงานหนักมากๆ

ไกล โคเจนเ)นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่สำคัญทีสุดของกล้ามเนื้อ ไกลโคเจนที่ถูกสะสมใว้จะถูกนำมาแตกออกเป้นกลูโคสในกระบวนการที่เรียกกันว่า ไกลโคไลซิส โมเลกุลของกลูโคสจะถูกแตกออกเป็นโมเลกุลกรดไพรูวิคสองโมเลกุลและกระบวนการ นี้เองจะก่อให้เกิดอะดิโนไซน์ไตรฟอสเฟท(Adenosine Triphosphate : ATP)โดยปกติแล้วกรดไพรูวิคจะเข้าสู่ไมโตคอนเดรียและเกิดกระบวนการแอซิเดทสร้าง อะดิโนไซน์ไทรฟอสเฟทขึ้นมาอีก อย่างไรก็ดี ในสภาวะที่ร่างกายขาดปริมาณออกซิเจนที่จะมาก่อให้เกิดปฏิกริยาขั้นที่สองนี้ กรดไพรูวิคจะกลายสภาพเป็นกรดแลคติค และกระบวนการนี้เองที่จะเพิ่มปริมาณของกรดแลคติคจากกล้ามเนื้อไปสู่กระแส โลหิต เรียกกันว่า อะแนโรบิคไกลโคไลซิส(ระบบไกลโคไลซิสแบบไม่ใช้ออกซิเจน:ผู้แปล) หรือกระบวนการเปลี่ยนไกลโคเจนไปเป็นพลังงานโดยกล้ามเนื้อโดยไม่อาศัย ออกซิเจน หรือกระบวนการสังเคราะห์ ATP(อะดิโนไซน์ ไตรฟอสเฟท)ผ่านกระบวนการอะแนโรบิคไกลโคไลซิส เพื่อยืนหยัดให้กล้ามเนื้อยังได้รับพลังงานจากกระบวนการไกลโคไลซิสอยู่อย่าง ต่อนเอง และส่งให้กล้ามเนื้อยังทำงานหนักต่อไปได้ในยามที่มีความเครียดเกิดขึ้นมาก มายแล้ว

และเมื่อร่างกายกลับสู่สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ กรดแลคติคจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นกลูโคสอีกครั้งโดยตับและเนื้อเยื่อส่วน อื่น(เรียกกันวากระบวนการออกซิเดชั่น) ซึ่งจะทำให้วงจรทั้งหมดหมุนเวียนครบรอบอย่างสมบูรณ์ นี่คือกระบวนการที่ ดร.บรูคส์ค้นพบ

ในการออกกำลังกาย ร่างกายมนุษย์อาศัยพลังงานส่สงไปให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้อย่างที่ต้อง การ เพื่อบรรลุจุดสูงสุดต้องอาศัยทั้งกระบวนการแบบแอโรบิคและอะแนโรบิคที่ดี เยี่ยม ซึ่งกระแลคติคจะได้รับการสร้างและสลายไปอย่างต่อเนื่องแม้แต่ในขณะพัก การศึกษาพบว่าแม้แต่ในระดับการสังเคราะห์พลังงานแบบแอโรบิค(แอโรบิคไกลโคไล ซิส)กรดแลคติคก็ยังคงถูกสร้างเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของกระบวนการเผาผลาญ พลังงานของร่างกาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความหนักและยาวนอนของการออกกำลังกายนั้น(ผู้แปล ขอเสริม:ดังนั้นแปลว่าแม้การซ้อมจะอยู๋ในระดับแอโรบิคเสียเป็นส่วนใหญ่แต่ แปลว่าหากนานและหนักมากร่างกายก็จะมีการสร้างกรดแลคติคขึ้นมาแม้จะอยู่ใน ระดับพักตัว) ซึ่งระดับแลคเตทเทรโชลด์ก็จะหมายถึงระดับความหนักที่่ร่างกายมีปริมาณแลคติ คเพิ่มขึ้นอย่างเป็นปัจจัยสำคัญ(ก้าวกระโดด) ซึ่งจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 50-80% ของอัตราบริโภคออกซิเจนสุงที่สุด ซึ่งค่าการดูดซึมออกซิเจนสูงสุด(VO2max)จะเป็นปัจจัยที่จะประเมินอัตราความ สามารถในการสร้างและนำแลคติคไปใช้ กระบวนการนี้มักพบได้ง่ายในการออกกำลังแบบอะแนโรบิคระยะสั้นเช่นวิ่ง 400 เมตรหรือว่ายน้ำ 100 เมตร

เมื่อกรดแลคติคถูกสร้างมาผ่านกระบวนการอะ แนโรบิคไกลโคไลซิส ร่างกายควรจะคงความหนักของการออกกำลังกายในระดับนั้นเอาใว้เนื่องจากระบบ ทั้งหมดจะเตรียมพร้อมรับพลังงานที่มาจากกระบวนการนี้ หากยุติกระบวนการนี้อย่างฉับพลัน กล้ามเนื้อจะขาดพลังงานในช่วงเวลาหนึ่งซึงนั้นจะเป็นต้นเหตุสำคัญของอาการ ล้าของกล้ามเนื้อที่ชัดเจน หากคงความหนักเอาใว้ได้ ปริมาณของกรดแลคติคจะคงที่สม่ำเสมอไม่เพิ่มหรือลดอย่างฉับพลัน

อย่าง ไรก็ดีแม้ว่าการถอยกลับไประยะฟื้นที่ร่างกายสามารถลดปริมาณกรดแลคติคได้รวด เร็วกว่าแต่ก็จะทำให้ปริมาณของไกลโคเจนที่สะสมลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้กระบวนการทั้งหมดอย่างผสมผสานจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับ การสร้างและนำกรดแลคติคไปใช้งานพร้อมๆไปกับการสะสมไกลโคเจนเข้าไปใหม่ อาจพูดได้ว่านักกีฬาควรจะคูลดาวน์หลังออกกำลังจนกระทั่งการหายใจและ ชีพจรกลับสู่ระดับปกติแล้วจึงพัก และอาหารแบบคาร์โบไฮเดรทมหาศาลจะเป็นปัจจัยต่อมาเพื่อการสะสมไกลโคเจนกลับ เข้าไปแทนที่

โดยการสรุปพบว่ากรดแลคติคไม่ใช่ของเสียที่ไร้ประโยชน์ ที่เกิดขึ้นมันสามารถเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญรองรับการเล่นกีฬาได้เป็น อย่างดี อย่างไรก็ตามหากร่างกายก้าวสู่ระดับแลคเตทเทรโชลด์ กรดแลคติคที่ไม่มีประโยชน์จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการล้าได้ง่าย เป็นโชคดีที่กระบวนการนี้สามารถป้องกันได้ง่ายด้วยการเพิ่มสมรรถภาพของไมโต คอนเดรียด้วยการฝึกซ้อม เรียนรู้ที่จะกำจัดด้วยการคูลดาวน์ และการเติมปริมาณคาร์โบไฮเดรทอย่างเหมาะสม

จากคุณ : สามสิบห้าบาทแน่ะ
เขียนเมื่อ : 6 ม.ค. 54 09:08:09 A:117.47.101.111 X: TicketID:228785




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com