 |
4 ขั้นตอนในการควบคุม โรคเบาหวานของคุณ...ตลอดไป ขั้นตอนที่ 1: การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับกลูโคสในเลือด (น้ำตาลในเลือด) สูงเกินไป โรคเบาหวาน แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้: โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ อินซูลินเป็นสารที่ช่วยให้ร่างกายสามารถ นำกลูโคสที่ได้จากอาหารไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องฉีดอินซูลินทุกวัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือนำอินซูลินไปใช้ได้ไม่ดี ผู้ป่วยโรคเบา หวานชนิดที่ 2 จะต้องรับประทานยาเม็ดหรือฉีดอินซูลินเป็นประจำ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้พบได้บ่อย ที่สุด โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ ์ (Gestational diabetes mellitus หรือ GDM)เกิดขึ้นในสตรีที่กำลังตั้ง ครรภ์ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาในการป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ 2 ไปตลอดชีวิต รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในการมีน้ำหนักมากเกินไปและป่วยด้วยโรคเบาหวาน ขั้นตอนที่ 2: การรู้จักกับโรคเบาหวานของคุณจาก ABC พูดคุยกับทีมงานผู้เชียวชาญเกี่ยวกับโรคของคุณกับวิธีการควบคุม A1C ความดันโลหิต และคอเรสเตอรอล ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือด สมองอุดตัน หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ต่อไปนี้เป็นอักษรย่อ ABC ที่เกี่ยว กับโรคเบาหวาน: A สำหรับ A1C (การตรวจค่า A-หนึ่ง-C) แสดงให้คุณเห็นถึงระดับกลูโคสในเลือดของคุณในระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมา ค่า A1C ตาม เป้าหมายสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่คือต่ำกว่า 7 การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงสามารถเป็นอันตรายต่อหัวใจ เส้นเลือด ไต เท้า และดวงตาของ คุณ B สำหรับ Blood Pressure (ความดันโลหิต) ค่าความดันโลหิตตามเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือต่ำกว่า 130 ทับ 80 การมีระดับกลูโคสในเลือดสูงทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักกว่าปกติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหัวใจ ล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน และโรคไต
C สำหรับ Cholesterol (คอเลสเตอรอล) ระดับ LDL ตามเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่คือต่ำกว่า 100 ระดับ HDL ตามเป้าหมายสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่คือสูงกว่า 40 LDL หรือ คอเลสเตอรอลที่ ไม่ดี สามารถจับตัวเป็นก้อนและอุดตันหลอดเลือดของคุณได้ ซึ่งเป็น สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน HDL หรือ คอเลสเตอรอลที่ ดี จะช่วย ขจัดคอเลสเตอรอลออกจากหลอดเลือดของคุณ ขั้นตอนที่ 3: การดูแลโรคเบาหวานของคุณ ผู้ป่วยหลายรายหลีกเลี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวอันมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานโดยการ ดูแลสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดี คุณควรร่วมมือกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญโรคเบาหวานของคุณเพื่อให้ค่า ABC ของคุณเป็นไปตามเป้าหมาย โดยใช้แผนการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้ ใช้แผนการรับประทานอาหารสำหรับโรคเบาหวานของคุณ หากคุณยังไม่มีแผนดังกล่าว ให้ ขอรับได้จากทีมสุขภาพของคุณ ออกกำลังกายวันละ 30 ถึง 60 นาทีเป็นประจำทุกวัน การเดินเร็วเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้ ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม โดยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเคลื่อนไหว ร่างกายให้มากขึ้น ขอความช่วยเหลือหากคุณรู้สึกท้อแท้ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต กลุ่มผู้ป่วยช่วยเหลือกันเอง เพื่อนสมาชิกกิจกรรมทางศาสนา หรือสมาชิกในครอบครัว จะรับฟังข้อกังวลใจของคุณและช่วย ให้คุณรู้สึกดีขึ้น เรียนรู้ถึงวิธีการรับมือกับความเครียด ความเครียดสามารถทำให้ระดับกลูโคสในเลือดของคุณ สูงขึ้น ถึงแม้ว่าการขจัดความเครียดออกไปจากชีวิตนั้นจะทำได้ยาก แต่คุณก็สามารถที่จะเรียนรู้ ถึงวิธีการรับมือกับมัน หยุดสูบบุหรี่ ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ รับประทานยาแม้ในขณะที่รู้สึกสบาย ถามหมอว่าคุณจำเป็นต้องรับประทานยาแอสไพรินเพื่อ ป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือไม่ และแจ้ง ให้หมอทราบหากคุณ ไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายสำหรับยาของคุณ หรือหากคุณมีอาการข้างเคียงใด ๆ จากการใช้ยา ตรวจดูเท้าของคุณทุกวัน ว่ามีแผล จุดแดง หรือบวมหรือไม่ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญโรคเบาหวาน ของคุณ โทรถึงทีมสุขภาพของคุณทันทีหากมีอาการเจ็บปวดซึ่งไม่หายไป แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อหลีกเลี่ยงจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับช่องปาก ฟัน หรือ เหงือกของคุณ ตรวจระดับกลูโคสในเลือดของคุณ ในแต่ละวันคุณอาจตรวจหนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้น วัดความดันโลหิตของคุณ หากหมอแนะนำ รายงานเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางสายตาของคุณ ให้หมอทราบ 2010 Berlin Pharmaceutical Industry ขั้นตอนที่ 4: การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของการเกิดโรคเบาหวาน ไปพบทีมงานผู้เชี่ยวชาญโรคเบาหวานของคุณ อย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพต่างๆ และรับการรักษาแต่เนิ่นๆ หารือว่ามีขั้นตอนใดบ้างที่สามารถทำให้คุณบรรลุตามเป้าหมายได้ ตรวจสิ่งต่อไปนี้ในการนัดทุกครั้ง: วัดความดันโลหิต ตรวจเท้า ตรวจสอบความเหมาะสมของน้ำหนัก ทบทวนแผนการดูแลสุขภาพด้วยตนเองดังที่แสดงไว้ในขั้นตอนที่ 3 ตรวจสิ่งต่อไปนี้ปีละสองครั้ง: ตรวจค่า A1C อาจตรวจได้บ่อยกว่านั้นหากมีค่าเกิน 7 ตรวจสิ่งต่อไปนี้ปีละหนึ่งครั้ง: ตรวจระดับคอเลสเตอรอล ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่ง ตรวจเท้าอย่างละเอียด ตรวจทางทันตกรรมเพื่อตรวจดูฟันและเหงือก ให้แจ้งกับทันตแพทย์ว่าคุณป่วยเป็นโรคเบา หวาน ตรวจจอประสาทตาโดยการขยายม่านตาเพื่อหาโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับตา ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ตรวจปัสสาวะและเลือดเพื่อหาโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับไต ตรวจสิ่งต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง: ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม Source: National Diabetes Education Program, National Institutes of Health, ndep.nih.gov
แก้ไขเมื่อ 24 ม.ค. 54 11:45:39
จากคุณ |
:
อย่ารู้เลยว่าฉันเป็นใคร
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ม.ค. 54 00:37:36
|
|
|
|
 |