บทความนี้ได้อธิบายไว้ครับ
ภูเขาไฟระเบิด ทำไมบางทีมีฟ้าผ่า?
ในกรณีทั่วไป ฟ้าผ่าเป็นการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากการแยกตัวของประจุบวกและประจุลบ เรียกว่า การแยกประจุ (charge separation) หากแต่ละบริเวณมีประจุสะสมอยู่ในปริมาณมาก ก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์สูงมากจนทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเคลื่อนที่ฝ่าอากาศซึ่งเป็นฉนวนออกไปได้
สำหรับฟ้าผ่าที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนองซึ่งเราคุ้นเคยกันนั้น อนุภาคต่างๆ ภายในเมฆ เช่น หยดน้ำ ผลึกน้ำแช็ง และฝุ่นละออง จะเกิดการเสียดสีกันจนเกิดประจุ อนุภาคที่เสียอิเล็กตรอนจะมีประจุบวก (เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุลบ) ทั้งนี้บริเวณยอดเมฆจะเป็นที่สะสมของประจุบวก ส่วนบริเวณฐานเมฆจะเป็นที่สะสมประจุลบ
ดังนั้น ฟ้าผ่าจึงอาจเกิดขึ้นระหว่างยอดเมฆกับฐานเมฆ (เรียกว่า ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ) หรือระหว่างยอดเมฆของเมฆก้อนหนึ่ง (ประจุบวก) กับฐานเมฆของเมฆอีกก้อนใกล้ๆ กัน (เรียกว่า ฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆ) ส่วนพื้นดิน (หรือพื้นน้ำ) จะถูกเมฆเหนี่ยวนำให้มีประจุ จึงทำให้เกิดฟ้าผ่าจากเมฆสู่พื้น (หรือจากพื้นสู่ฟ้า) ได้นั่นเอง
สำหรับฟ้าผ่าที่เกิดจากภูเขาไฟมีอย่างน้อย 2 แบบ ได้แก่
(1) ฟ้าผ่าที่เกิดจากกลุ่มเถ้าธุลีภูเขาไฟ
(2) ฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นขณะภูเขาไฟเริ่มปะทุ
ฟ้าผ่าที่เกิดจากภูเขาไฟแบบแรกนั้นเชื่อกันว่ามีกลไกคล้ายกับฟ้าผ่าที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนอง กล่าวคือ อนุภาคต่างๆ ในฝุ่นควันจะเกิดการเสียดสีกันจนเกิดประจุสะสมในทำนองเดียวกับพฤติกรรมของอนุภาคในเมฆ
กลการการเกิดฟ้าผ่าในฝุ่นควันของภูเขาไฟระเบิด
แผนภาพใกล้ๆ นี้แสดงการเกิดฟ้าผ่าที่มาพร้อมกับภูเขาไฟระเบิด ในขั้นแรก ฝุ่นผงและอนุภาคต่างๆ ในฝุ่นควันมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า (ภาพหมายเลข 1)
แก้ไขเมื่อ 28 ม.ค. 54 12:56:57