 |
ปลียอดทองคำ
เมื่อครั้งบูรณะได้มีการชั่งรวมน้ำหนักทองคำได้ประมาณ 216 กิโลกรัม โดยพบแผ่นที่มีจารึกไว้ 74 รายการ ที่อ่านและแปลแล้ว 40 รายการ เป็นลายเส้นพระพุทธรูปบ้าง เจดีย์ทรงต่างๆ บ้าง ที่เป็นอักษรมีทั้งอักษรขจอมและอักษรไทยระบุเรื่องการซ่อม น้ำหนักทอง นาม และถิ่นนำนักของคณะผู้ซ่อมพร้อมแสดงความปรารถนา อานิสส์ให้ได้พบพระศรีอารย์บ้าง ให้ได้ถึงพระนิพพานบ้าง โดยจากรึกที่ระบุศักราชเก่าที่สุด คือ พ.ศ. 2155 ตรงกับสมัยอยุธยารัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ตามด้วย พ.ศ. 2159 (2 แผ่น) , 2192 ,2211,2213,2229,
2230,2235,2243,2243,2277,2290,2321 และ 2377 (4 แผ่น) โดยแผ่นที่ศักราชยิ่งเก่ายิ่งอยู่ตอนบนขึ้นไปแสดงว่ามีการซ่อมสร้างบำรุงตลอดมา และที่สำคัญคือที่บริเวณแกนปลีใต้กลีบบัวหงายปรากฎจารึกบนแกนโลหะรอบแกนปลีเป็นหลักฐานชัดว่ายอดพระบรมธาตุเจดีย์เคยชำรุดหักลงแล้วได้มีการซ่อมสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2190 ดังคำจารึกว่า พุทธศักราชได้สองพันรอยเก้าสิบพระพรรษาเศษได้สี่วัน เมื่อยอดพระเจ้าหัก พระจันทร์ เดือนหก แรมสี่ค่ำ ปีมะเมีย เพลาชายแล้วสองยาม สร้างตรลบหาสู่ยอดเจ้าหั้นแลเมื่อได้ทำการนั้น เดือนสิบ วันศุกร์ เพลาเช้าขึ้นสิบชั้นเป็นสุดเอย นอกจากนี้บนแผ่นทองคำตลอดระยะของปลียอดมีการตกแต่งด้วยกระเปาะพลอยรูปลักษณะสีสัน และลวดลาย ต่างๆ เช่นดอกพิกุล ประจำยาม ถึง 31 แถว กับยังมีสิ่งของมีค่าอีกมากมายที่ร้อยผูกแขวนอยู่ตามแต่คนศรัทธาถวายและที่สำคัญคือบริเวณส่วนปลายของปลียอดที่ทำเป็นบัวหงายรองรับพุ่มข้าวบิณฑ์นั้นยังได้ประดิษฐ์เครื่องสักการบูชาด้วยแก้วแหวนเงินทองเป็นดอกไม้ทองคำมีกลีบและใบซ้อนกันบางๆ บนก้านดวงแก้วและลูกปัดพันแผ่นทองไว้ภายในอีกด้วย
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.พ. 54 16:25:29
|
|
|
|
 |