ญี่ปุ่นเอาจริง ขุดดวงจันทร์เพื่อดึงก๊าซฮีเลียมออกมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมัน
|
 |
ก่อนหน้านี้รัสเซียประกาศแผนงาน ที่จะขุดดวงจันทร์เพื่อดึงก๊าซฮีเลียมออกมาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมัน ล่าสุดญี่ปุ่นได้จับมือกับฝรั่งเศส จะดำเนินแผนงานเดียวกันนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ศ.โยชิกาวา คิโยชิ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เพิ่มโอกาส ที่จะดึงแหล่งพลังงานจากนอกโลกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานบนพื้นโลก
โดยในปี 2558 ญี่ปุ่นมีโครงการจัดตั้งสถานีอวกาศพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อรับแสงอาทิตย์ความเข้มข้นสูง ก่อนที่จะส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟมายังสถานีภาคพื้นดินบนโลก สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีโครงการร่วมกับประเทศฝรั่งเศส จัดตั้งสถานีบนดวงจันทร์เพื่อสำรวจก๊าซฮีเลียม จากการคำนวณเบื้องต้นคาดว่า บนดวงจันทร์มีฮีเลียม-3 อยู่มากกว่า 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับที่มีบนโลก ถ้านำมาใช้เพียง 25 ตัน จะสามารถผลิตพลังงานป้อนประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้นาน 1 ปีเต็ม
นอกจากแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์แล้ว มหาวิทยาลัยเกียวโตยังวิจัยเลียนแบบปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ที่เกิดบนดวงอาทิตย์ โดยใช้ "ดิวโทเรียม" (Deuterium: D2) จากพลังน้ำ พบว่าพลังงานที่ได้มีประสิทธิภาพสูงเหมือนกับปฏิกิริยาจากปรมาณู แต่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
?การใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานนอกโลกรวมถึงพลังน้ำ ต้องอาศัยความพร้อมของความรู้ทางวิศวกรรม สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 ปีในการศึกษา? นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวภายในงานสัมมนามหาวิทยาลัยเกียวโต-เอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 2 หัวข้อ ?นวัตกรรมวิทยาการเพื่อสังคมยั่งยืน? ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ
ศ.ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ในฐานะประธานสมาคมเกียวโตสัมพันธ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกียวโตมีความแข็งแกร่งในงานวิจัยพลังงาน โดยมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ที่ศึกษาด้านพลังงานนิวเคลียร์ อีกทั้งมีสถาบันวิจัยพลังงานปรมาณูอายุกว่า 10 ปี ทำให้มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์และองค์ความรู้
ส่วนแหล่งพลังงานจากนอกโลกที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีนำเสนอนี้ ต้องอาศัยทุนวิจัยก้อนใหญ่จึงจะสำเร็จ ฉะนั้น หากประเทศมหาอำนาจร่วมมือร่วมใจให้การสนับสนุน เชื่อว่าประเทศขนาดเล็กอย่างไทย ก็มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ดังกล่าว
?ไทยเราก็มีงานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทางเลือกเช่นกัน อย่างศูนย์นาโนเทคก็ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (ISET) พัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นที่ 3
ที่แม้จะมีประสิทธิภาพต่ำ แต่ก็ราคาถูกและทำได้ง่าย ถือเป็นความพยายามสร้างเทคโนโลยี ที่ใช้งานได้จริงโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องราคา? ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าว
ที่มา - www.bangkokbiznews.com
จากคุณ |
:
ทวนแห่งไฟ
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.พ. 54 20:52:42
|
|
|
|