 |
คำนวณแรงกระทำของดวงจันทร์ต่อโลกเลยง่ายกว่าไหม?
ระยะห่างเฉลี่ยของดวงจันทร์คือ 384,400 กม. แต่ 19 นี้ใกล้เป็น 356,577 กม. เทียบแล้ว ระยะห่างลดลงเหลือ (356,577/384,400)*100 = 92.76% ของระยะห่างปกติ
เรารู้ว่าแรงดึงดูดแปรผกผันกับระยะทางกำลังสอง ที่เหลือคงที่ ดังนั้นแรงดึงดูดจากดวงจันทร์จะเพิ่มขึ้น = 1/(0.9276)^2 = 1.16 เท่า
อ่ะทีนี้ แรงที่ดวงจันทร์กระทำต่อตัวเราตามปกติหาได้จาก... F=GMm/R^2 แทนค่ามวลทดสอบ 1kg ลงไป กับมวลดวงจันทร์และระห่างปกติจะได้ F = 3.32*10^-5 N = 3.32*10^-4 kg = 0.332 g ต่อมวล 1kg โดยค่านี้เป็นค่าปกติที่เราไม่รู้สึกอยู่แล้ว ถ้าดวงจันทร์มาใกล้ขึ้น เราจะโดดดึงออกจากโลกมากขึึ้น ดังนั้นวัตถุจะเบาลง โดยแรงดึงดูดดวงจันทร์เพิ่มขึ้น 1.16 เท่าอย่างที่คำนวณมา ดังนั้นแรงดึงดูดกลายเป็น 1.16*0.332 = 0.385 g ต่อมวล 1kg
วัตถุหนัก 1kg จะ "เบาลง" = 0.053 g = 53mg เครื่องชั่งผมบอกได้ละเอียดสุดแค่ 1 ขีด = 100g = 100,000 mg ทดลองไม่ได้ =_="
จากคุณ |
:
ECOS (thelegendofm)
|
เขียนเมื่อ |
:
18 มี.ค. 54 18:04:00
|
|
|
|
 |