ลักษณะของผู้สูงอายุที่ใช้ไม้เท้า
ก. เดินใช้ไม้เท้ามือขวาไปจนถึงบันไดเลื่อน
ข. หยุดยืนตรงรอยต่อบันไดเลื่อน เปลี่ยนไปถือไม้เท้ามือซ้ายหรือส่งให้ญาติที่มาด้วย
ค. ใช้มือรูดราวบันไดเลื่อนครู่นึง ก่อนที่จะจับหมับ
ง. เมื่อมือที่จับเลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อย ก็จะใช้เท้าข้างนึงก้าวขึ้นไปให้ทันกับมือที่กำลังเลื่อนขึ้น แล้วจึงตามด้วยเท้าอีกข้าง
จ. จะเกิดจังหวะโยกโอนเอนตัวครู่นึงขึ้นกับว่าปกติทรงตัวดีแค่ไหน ถ้าไม้เท้าไปอยู่กับญาติ มักจะใช้มือทั้งสองข้างเกาะราว
ฉ. ญาติที่ตามมา(ถ้ามี) จะไปยืนข้างหลัง มือนึงเกาะราว อีกมือป้องไว้ข้างๆกันตก
ช. เมื่อสุดบันไดเลื่อน ก็จะก้าวออก แล้วเอาไม้เท้ามาถือไว้ที่มือขวาตามเดิมแล้วเดินต่อไป
ผมไม่มีตัวเลขเรื่องนี้แบบเป๊ะๆ ไม่ได้ทำเป็นเอกสารหรือลายลักษณ์อักษร แต่นับเอาเอง กะประมาณได้ว่าผู้สูงอายุที่ใช้ไม้เท้าราวๆ 70-80% จะเกาะทางขวาเพื่อการทรงตัวที่ดีกว่าครับ
และอีก20%ที่เหลือ คือ บางคนใช้สองมือกางออกเกาะราวทั้งสองข้าง , และอีกส่วนนึงใช้มือซ้ายจับราวมือขวาถือไม้เท้าต่อไป
แต่ขอโทษครับ ที่มือซ้ายจับราวมือขวาถือไม้เท้าต่อไป ส่วนมากคือคนที่ถือไม้เท้าเดินโดยไม่ได้ใช้ไม้เท้าก็ได้ครับ 
คำอธิบายที่ผมคิดขึ้นได้ภายหลังคือ
ในผู้ที่ใช้ไม้เท้าเพื่อการทรงตัว เค้าใช้เพราะว่าการทรงตัวไม่ดี จึงต้องเกาะสิ่งที่ส่งแรงไปได้และให้ความมั่งคงเพิ่มเติม
เมื่อไปถึงบันไดเลื่อน ไม้เท้าที่จรดลงไปบนพื้นบันไดเลื่อนจะเปลี่ยนจากวัตถุที่ให้ความมั่นคงเปลี่ยนเป็นไม่มั่นคงทันที เพราะมันวิ่งไปข้างหน้าพร้อมๆพื้น
ที่สำคัญ ราวบันไดเลื่อนให้ความมั่นคงมากกว่าไม้เท้าได้ไม่รู้กี่เท่า
คิดอีกทีจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้สูงอายุที่ใช้ไม้เท้ามักจะเปลี่ยนไปจับราวบันไดเลื่อนในข้างที่ถนัดแทน แถมญาติก็มักจะใช้มือที่ถนัดในการจับราวเพื่อให้มีกำลังจับมากกว่าหากผู้สูงอายุพลัดหกล้มลงมา
บางท่านเลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วทำไมหลายประเทศเค้าไม่ได้คิดถึงปัญหานี้เหรอถึงได้ปล่อยให้ชิดซ้าย ... ผู้สูงอายุเค้าไม่อันตรายแย่เหรอ
คำตอบก็คือ ในต่างประเทศเค้ากำหนดไว้ค่อนข้างชัดว่า คนแก่,คนที่ใช้ไม้เท้า,คนที่เดินไม่สะดวก ให้ไปใช้ลิฟท์ครับ ซึ่งบ้านเราหายากและถึงมีคนก็ไม่นิยมใช้อยู่ดี
ดังนั้น ในแง่ความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นจากเหตุอุบัติเหตุทั่วไป หรือ ในแง่ของผู้สูงอายุกับคนที่มีปัญหาการทรงตัว ... ผมจึงเห็นว่าเราควรยืนในทิศทางที่คนส่วนใหญ่ถนัด
นั่นคือชิดขวาครับ