Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่น่ากลัว...ที่น่ากลัวคือ TEPCO ติดต่อทีมงาน

มีบางคนเข้าใจว่าผมแอนตี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้น ผมกลับมีความเห็นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่น่ากลัว เพราะโรงไฟฟ้าที่เกิดเหตุ มีความไม่พร้อมและมีความบกพร่องหลายอย่าง

ประการแรก เจอกับภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ และโดนสองต่อ ทั้งแผ่นดินไหว และสึนามิ

ประการที่สอง เป็นโรงไฟฟ้าเก่าอายุ 40 ปี และใกล้จะปลดประจำการในไม่ช้า

ประการที่สาม เป็นโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นภายใต้มาตรฐานที่ต่ำกว่าปัจจุบัน มีความสามารถทนคลื่นการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ประมาณ 0.4 g ในขณะที่มาตรฐานปัจจุบันของญี่ปุ่นคือ 2.33 g (คลื่นการสั่นสะเทือนที่วัดได้บริเวณโรงงานประมาณ 0.5 g)

ประการที่สี่ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดคือ บริหารโดย TEPCO ซึ่งเป็น แกะดำ ในวงการนิวเคลียร์ มีประวัติที่อื้อฉาวมาตลอดหลายปี

- - - - -

ผมพบว่าในอดีตบริษัท TEPCO มีประวัติเสียเรื่องปกปิดอุบัติเหตุและทำรายงานเท็จเรื่องการซ่อมบำรุง จนเป็นข่าวอื้อฉาวถึงขนาดที่ผู้บริหารต้องออกมาขอโทษและยกทีมลาออกมาแล้วครั้งหนึ่ง ประชาชนอาจจะไม่สนใจข่าวแบบนี้ แต่วงการนิวเคลียร์น่าจะรู้เป็นอย่างดี หลักฐานเรื่องการซ่อมบำรุงเท็จ หาได้ไม่ยาก จะยกตัวอย่างให้ดูสักจำนวนหนึ่ง

กรณี TEPCO ทำรายงานการซ่อมบำรุงเท็จ มีพบอยู่ใน wikipedia ใน Fukushima I Nuclear Power Plant อยู่ในหัวข้อ Operating history

http://en.wikipedia.org/wiki/Fukushima_I_Nuclear_Power_Plant

The plant reactors came online from 1970 through 1979. From the end of 2002 through 2005, the reactors were among those shut down for a time for safety checks due to the TEPCO data falsification scandal. On Feb 28, 2011 TEPCO submitted a report to the Japanese Nuclear and Industrial Safety Agency admitting that the company had previously submitted fake inspection and repair reports. The report revealed that TEPCO failed to inspect more than 30 technical components of the six reactors, including power boards for the reactor's temperature control valves, as well as components of cooling systems such as water pump motors and emergency power diesel generators.

- - - -

การซ่อมบำรุงเท็จ ยังมีปรากฏอยู่ในประวัติของบริษัท TEPCO ในหัวข้อ SCANDAL ซึ่งกรณีนี่ผู้บริหารต้องลาออกเพื่อรับผิดชอบ

http://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Electric_Power_Company#Scandal

On August 29, 2002, the government of Japan revealed that TEPCO was guilty of false reporting in routine governmental inspection of its nuclear plants and systematic concealment of plant safety incidents. All seventeen of its boiling-water reactors were shut down for inspection as a result. TEPCO's chairman Hiroshi Araki, President Nobuya Minami, Vice-President Toshiaki Enomoto, as well as the advisers Shō Nasu and Gaishi Hiraiwa stepped-down by September 30, 2002. The utility "eventually admitted to two hundred occasions over more than two decades between 1977 and 2002, involving the submission of false technical data to authorities". Upon taking over leadership responsibilities, TEPCO's new president issued a public commitment that the company would take all the countermeasures necessary to prevent fraud and restore the nation's confidence. By the end of 2005, generation at suspended plants had been restarted, with government approval.

In 2007, however, the company announced to the public that an internal investigation had revealed a large number of unreported incidents. These included an unexpected unit criticality in 1978 and additional systematic false reporting, which had not been uncovered during the 2002 inquiry. Along with scandals at other Japanese electric companies, this failure to ensure corporate compliance resulted in strong public criticism of Japan's electric power industry and the nation's nuclear energy policy. Again, the company made no effort to identify those responsible.

- - - -

ถ้าคิดว่าข้อมูลใน wikipedia ยังเชื่อถือไม่ได้เต็มที่ ผมพบว่าข่าวเก่าของ CNN ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับ wikipedia

ข่าวยาว ไม่ยกมาละครับ ขอให้ลองไปอ่านดูเอง

Heavy fallout from Japan nuclear scandal
http://archives.cnn.com/2002/BUSINESS/asia/09/02/japan.tepco/index.html

Scandal sparks Tokyo energy crisis
http://edition.cnn.com/2003/WORLD/asiapcf/east/06/17/tokyo.scandal/index.html

- - - -  -

รายงานอีกฉบับที่น่าสนใจมาจาก Citizens' Nuclear Information Center ที่ญี่ปุ่นเอง ละเอียดและยาว เชิญลองดู

the “TEPCO scandal” and the adverse trend of easing inspection standards
http://cnic.jp/english/newsletter/nit92/nit92articles/nit92coverup.html

Nuclear State and Industry: Bottomless Depths of Corruption
http://cnic.jp/english/newsletter/nit118/nit118articles/nit118scandal.html

"Not Again": Yet Another TEPCO Scandal
http://cnic.jp/english/newsletter/nit117/nit117articles/nit117tepco.html

- - - -

อาจเห็นว่านั้นเป็นเรื่องของอดีต TEPCO แต่ในปัจจุบันอาจจะกลับเนื้อกลับตัวแล้ว หลายวันที่ผ่านมา TEPCO ยังคงมีแนวโน้ม ปิดข่าว แถลงข่าวไม่หมด หรือไม่ตรงกับความจริง ขอให้ลองดูบทวิจารณ์ของนักข่าวต่อพฤติกรรมการแถลงข่าวของ TEPCO ในกรณีวิกฤตปัจจุบันจาก Japan Realtime

Tepco Versus the Media
http://blogs.wsj.com/japanrealtime/2011/03/16/tepco-versus-the-media/

- - - -

ผมเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่โรงไฟฟ้าที่สร้างภายใต้มาตรฐานใหม่ และบริหารอย่างถูกต้อง น่าจะอยู่รอดภัยพิบัติครั้งนี้ได้สบายๆ หรืออย่างมากคืออาจจะต้องหยุดปฏิบัติการชั่วคราวเท่านั้น ไม่น่าจะกลายเป็นภัยพิบัติระดับชาติ

TEPCO เป็นบริษัทที่ทำกำไรต่อปีมหาศาล แต่ทว่ากลับอื้อฉาวในเรื่องของการซ่อมบำรุง ความเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพราะการบริหารแบบเห็นแก่ประโยชน์ของ TEPCO ก็เป็นได้

ประเด็นนี้ผมได้เคยปรึกษากับเพื่อน มีความเห็นตรงกันว่าตามปกติแล้ววิศวกรจะไม่ยอมเสี่ยงหมกเม็ดหรือรายงานเท็จในเรื่องความปลอดถัย นอกเสียจากจะถูกกดดันโดยผู้บริหาร และตามปกติผู้บริหารก็จะไม่ยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับการสั่งการผิดเช่นนี้ นอกเสียจากจะถูกกดดันโดยเจ้าของกิจการ

ปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงไม่ใช่ว่าดำเนินการโดยใครหรือประเทศไหน แต่อยู่ที่ใครเป็นเจ้าของมากกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ มีโอกาสที่จะไม่ปลอดภัยเพราะมีผลประโยชน์ของปัจเจกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นถ้าประเทศไทยจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ควรจะต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ

กรณีศึกษาของญี่ปุ่น จะทำให้มาตรฐานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตมีความปลอดภัยมากขึ้น สักวันหนึ่งเราต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อถึงวันนั้นก็ อย่ายอมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน ต้องให้เป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น

จากคุณ : กาลามะชน
เขียนเมื่อ : 28 มี.ค. 54 08:23:47




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com