พื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน้ำท่วมถึง และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็เป็นทะเลโคลน พึ่งจะมาขึ้นเป็นป่าและมีผู้คนตั้งรกรากก็เมื่อหลังสมัยทวารวดีนี้เอง
พื้นที่กรุงเทพมหานคร น้ำมันหลากและท่วมทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นปกติของพื้นที่ "ราบ-ลุ่ม" ริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งแต่ก่อนตอนที่เรายัง มิได้ปลูกบ้านสร้างเมืองแบบฝรั่ง บ้านทรงไทยก็จะนิยมปลูกให้ใต้ถุนสูงมิใช่เพื่อระบายความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ประโยชน์ ยังเอาไว้หนีน้ำในช่วงน้ำหลากด้วย เหมือนป่าอะเมซอน ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เหมือนกัน ถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะหลากเข้าพื้นที่ป่า สองชายฝั่งให้ท่วมเป็นหลายเมตร
พื้นที่กรุงเทพมหานคร เวลาโดนน้ำหลากก็จะพัดพาเอาตะกอนมาเป็นอันมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำไร่ และ กสิกรรม น้ำที่หลากมาก็เอามาปลูกข้าวบ้าง ผันเข้าเรือกสวนบ้าง ก็เป็นปกติของคนในยุคก่อน แถมยังประโยชน์เอาไว้เป็น- ปราการป้องกันข้าศึกรุกกรุงอีกด้วย
แต่พอมาถึงทุกวันนี้ เราไปเอาอย่างฝรั่ง ปลูกบ้านสร้างเมืองติดพื้นดิน ถมคลอง สร้างถนนขวางทางน้ำ รุกพื้นที่แม่น้ำ ทิ้งขยะ ลงแหล่งน้ำ คลองสาขาที่เคยระบายน้ำลงสู่แม่น้ำก็คับแคบลงและเต็มไปด้วยขยะ ไม่ก็โดนถมเสียจนไม่เหลือ ถนนก็สร้างขวาง ทางน้ำ น้ำก็เลยเอ่อท่วมบางพื้นที่ ในขณะที่บางพื้นที่แห้ง ทั้งนี้เกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาหรือเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึง การณ์ของผู้บริหารบ้านเมืองก็มิทราบได้ แต่คนที่ได้รับทุกขเวทนาคือประชาชน ส่วนงบประมาณหลวงเข้ากระเป๋านักการเมือง
เรื่องน้ำหลากเข้าท่วมกรุง มันเป็นเหตุอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ป้องกันและแก้ไขได้ โครงการแก้มลิงอันพ่อหลวงทรงพระราชดำริไว้ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ยิ่งกว่าหาเรื่องงามงบอย่างคลองขนาดใหญ่ส่งน้ำที่ก่อนสร้างน้ำ- ท่วมบางพื้นที่แต่สร้างเสร็จน้ำท่วมทุกพื้นที่ เพราะเมื่อน้ำหลากมา คู คลอง แม่น้ำ และทางเดินน้ำขนาดเล็กที่สมัยก่อนเคยทำ หน้าที่ได้ มันทำหน้าที่ไม่ได้แล้ว ก็ต้องหาภาชนะรองรับน้ำเก็บเอาไว้ การก่อกำแพงสูงรอบแม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะช่วยป้องกัน น้ำท่วมได้จริง แต่มีแนวโน้มที่จะต้องก่อกำแพงสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะ ตจว. ต้นน้ำเขาก็ก่อกำแพงเช่นเดียวกัน หากทำเช่นนี้แล้ว เมื่อใดกำแพงจึงจะสูงพอที่ป้องกันน้ำท่วม
การพัฒนาระบบคูคลอง เชื่อมต่อเข้ากับอ่างเก็บน้ำชุมชน (ใน ตจว.) หรือแก้มลิงขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการแก้ ปัญหาที่ต้นเหตุและยั่งยืนกว่า เพราะเราคงไปป้องกันมิให้น้ำมันหลากมาไม่ได้ แต่เมื่อน้ำหลากมาแล้วเราก็ควรจะมีที่ให้น้ำอยู่ เพื่อไม่ให้มันหลากไปท่วมบ้านคน เพราะสร้างกำแพงไปก็จะมีเรื่องทะเลาะกันได้อีกระหว่างคนนอกกำแพงและคนในกำแพงดัง มีข่าวให้เห็นเรื่องการทลายกำแพงของบางหมู่บ้าน เพื่อให้น้ำเข้าไปท่วม เพราะอีกหมู่บ้านหนึ่งน้ำไม่ท่วม เป็นต้น
แก้ไขเมื่อ 28 มี.ค. 54 16:07:31
จากคุณ |
:
tomorrow night
|
เขียนเมื่อ |
:
28 มี.ค. 54 16:06:30
|
|
|
|