ลอง Search หว้ากอก่อนก็ดีนะมีคนถามเยอะแล้ว
สรุปง่ายๆให้แล้วกัน
1) กัมมันตภาพรังสี = เป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งของสารที่มีสมบัติในการแผ่รังสีออกมาได้เอง
2) สารกัมมันตรังสี = สารที่มีสมบัติในการแผ่รังสีออกมาได้เอง
3) สารกัมมันตรังมีหลายชนิต ส่วนมากจะเป็นพวกที่เลขอะตอมสูงๆ
4) สารกัมมันตรังมีทุกชนิดจะมีปริมาณการแผ่รังสี โดยขึ้นอยู่กับมวลที่สารนั้นเหลืออยู่
5) สารกัมมันตรังมีทุกชนิดเมื่อแผ่ีรังสีแล้วจะสลายเป็นธาตุอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นสารกัมมันตรังสีตัวอื่น หรือ กลายเป็นสารที่เสถียร ขึ้นอยู่กับ ปฏิกริยาที่เกิดขึ้น
6) สารกัมมันตรังแต่ละชนิดมีอัตราการแผ่รังสีไม่เท่ากัน เราวัดปริมาณการแผ่รังสีด้วยการวัดมวลที่ลดลง เรียกว่าค่าครึ่งชีวิต Half-Life บางตัวมี Half-Life ไม่กี่วินาที บางตัวมี Half-Life เป็น 1000 ปี
7) ผลต่อสิ่งมีชีวิต ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย 1] เวลาที่โดน 2] ระยะทาง 3] เกราะกำบัง
6+7=>
7.1) สารกัมมันตรังที่ครึ่งชีวิตน้อยๆ แสดงว่าปล่อยพลังงานเร็ว แต่มวลของสารเองก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลแบบฉับผลัน
7.2) สารกัมมันตรังที่ครึ่งชีวิตมากๆ แสดงว่าปล่อยพลังงานช้า เหมือนสูบบุหรี่ ค่อยๆผ่อนส่งชีวิตไปเรื่อยๆ
7.3) ในธรรมชาติเองก็มีรังสีอยู่แล้ว แต่มีในปริมาณน้อย
8) สารกัมมันตรังสีที่ญี่ปุ่นประสบอยู่ตอนนี้ คือ Cs-137 และ I-131 เยอะสุด
8.1) I-131 ครึ่งชีวิต 8 วัน = ร่างกายดูดซับง่ายเพราะต่อมไทรอย จึงมีการแจก Iodine เพื่อไปแย่งจับกับ I-131 ที่เป็นสารกัมมันตรังสี, แต่พวกนี้สลายตัวเร็ว สิ้นเดือนนี้น่าจะหายไป 75%
8.2) Cs-137 ครึ่งชีวิต 30ปี = ตัวนี้น่าจะตกค้างนาน แต่ก็อย่างที่บอกว่ามันมีปริมาณการปล่อยรังสีน้อย ถ้าเข้าสู่ร่างกายก็น่าจะมีการกำจัดตามปกติ ไม่มีกระบวนการสะสม
พอละครับที่เหลือไปค้นเองนะ
