 |
การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้ เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่าง ๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 2,000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 1959 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร
ดินแดนหลายส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่าง ๆ อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง เช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่าง ๆ มากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1,000 คน และจะเพิ่มเป็น 4,000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมกเมอร์โดที่อยู่ในเขตที่นิวซีแลนด์อ้างกรรมสิทธิ์เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1,000 คน
แอนตาร์กติกา
ประชากร ~1,000 (ไม่มีประชากรถาวร) รัฐบาล ไม่มี, ปกครองโดยระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติกา (Antarctic Treaty System) ประเทศที่อ้างสิทธิ์ในการถือครองดินแดนแอนตาร์กติกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ชิลี ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร
แก้ไขเมื่อ 30 มี.ค. 54 09:09:10
แก้ไขเมื่อ 30 มี.ค. 54 09:08:17
จากคุณ |
:
jayaus
|
เขียนเมื่อ |
:
30 มี.ค. 54 09:07:20
|
|
|
|
 |