 |
เรื่องของ เห้, ตะกวด, เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่.......
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เขียน....................
ตอนเช้ามืดที่สะลืมสะลือวันหนึ่งกลางฤดูฝน ผมก็หยิบ หนังสือพิมพ์ที่ภรรยาสุดที่รักของผมเอามาวางไว้ให้ ข้างเตียงนอน ครั้นผมเห็นหัวข้อข่าวในหนังสือว่ามี เรื่อง เห้, ตะกวด เห่าช้าง และตุ๊ดตู่ เข้าก็ตาสว่างเพราะไม่รู้ว่าเห่าช้าง กับตุ๊ดตู่นั้นมันเกี่ยวอะไรกับ เห้ และ ตะกวด เพราะผมรู้เพียงแต่ว่า เห้ นั้นเป็นสัตว์เลื้อยคลานชอบหากินตามลำน้ำทั่วไป คนไทยรังเกียจและ นับถือขนาดเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง " เลยทีเดียว ภาษาฝรั่งเรียกว่า water monitor ส่วนตะกวดนั้นก็คล้าย ๆ กับ เห้ นั่นแหละ แต่ตะกวด ไม่ชอบน้ำและตะกวดตัวเล็กกว่า เห้ ฝรั่งเรียกตะกวดว่า tree monitor หรือจะแปลเป็นภาษาไทยเก๋ ๆ ก็ได้ว่า " เห้ต้นไม้ "
ตาสว่างขึ้นมาทันที เอ ได้เรื่องเขียนแล้วละ คราวนี้มาเขียนถึงเรื่อง เห้ กันดีกว่า เพราะว่าเป็นเรื่องที่คนไม่ค่อยรู้กันเท่าไร ทั้ง ๆ ที่นึกว่ารู้ ยกตัวอย่างตัวผู้เขียนเองนี่แหละ ตอนเด็ก ๆ ต้องท่องบทดอกสร้อยซึ่ง ท่านผู้อ่านที่เคารพรุ่นเดียวกับผม ( ที่แก่ชรางั่ก ๆ แล้วนะครับ ) คงพอ จำได้ที่เริ่มต้นจาก " เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา " นั่นแหละ อีทีนี้ก็มีบทดอกสร้อยบทหนึ่งคือ " ตุ๊ดเอ๋ยตุ๊ดตู่ ในเรี่ยวในรูยังอยู่ได้ " ซึ่งผม นึกไม่ออกว่าตุ๊ดตู่มันหน้าตาเป็นยังไง มิหนำซ้ำยังมีเพื่อนบางคน ( จริง ๆ สาบานได้ ) มีชื่อเล่นว่า ตุ๊ดตู่ จนกระทั่งอายุกว่า ๕๐ ปีแล้วถึงได้รู้ว่าตุ๊ดตู่เป็น เห้ ชนิดหนึ่ง นั่นแหละแต่ตัวเล็กมาก เชื่องช้าไม่เหมือน เห้ ชนิดอื่น ๆ โตเต็มที่ก็ตัวยาวประมาณ ๕๐-๑๒๕ เซ็นติเมตรเท่านั้น อาศํยอยู่ตามโพรงไม้
เรื่องของ เห้ นี่ผมยึดหลักวิชาอนุกรมวิธาน ( taxonomy ) ของการจัดจำแนก สิ่งที่มีชีวิต ( olassification ) ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ โดยจัดลำดับเริ่มที่ "วงศ์" ( family ) ไล่ลงมาเป็น "สกุล" ( genus ) แล้วจึงถึง "ชนิด" ( species ) จัดได้ว่า วงศ์ เป็นขั้นสูงสุดของระบบการจำแนกสัตว์ที่เกี่ยวพันกับการตั้งชื่อแบบที่ใช้ "สกุล" และ "ชนิด" มาประกอบกัน ตัวอย่างพืชหรือสัตว์ที่ใช้เป็นแบบของ "วงศ์" นั้น สืบเนื่อง มาจาก "สกุล" ใด "สกุล" หนึ่ง ซึ่งลักษณะเดนของสกุลนั้น นำมาเป็นลักษณะสำคัญ สำหรับตั้งเป็น "วงศ์" ขึ้น จากนั้นก็จะรวบรวมเอาสกุลต่าง ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือที่เชื่อว่าอาจมาจากสายบรรพบุรุษอันเดียวกันมารวมเข้าเป็นหมู่จัดเป็น "วงศ์" ขึ้น ดังนั้น วงศ์หนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยสกุลเพียงสกุลเดียว หรือ หลายสกุลก็ได้ คำว่า "สกุล" นั้นหมายถึงการรวมเอา "ชนิด" ต่าง ๆ ตั้งแต่หนึ่งชนิดหรือมากกว่านั้น เข้าด้วยกัน ทั้งนี้โดยสมมติเอาว่าชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีบรรพบุรุษร่วมกันอยู่
คำว่า "ชนิด" นั้น ในวิชาอนุกรมวิธานหมายถึงกลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดใด ชนิดหนึ่งในธรรมชาติ ที่สามารถจะสืบพันธุ์ในกลุ่มเดียวกันได้โดยอิสระ และลูกหลาน ที่ออกมาจะไม่เป็นหมัน
เฮ้อ พูดเรื่องวิชากการแล้ว มันเหนื่อยใจเสียจริง แต่ก็หมดแล้วละครับที่ผมเกริ่น มาไม่ว่าจะเป็น เห้ เป็น ตะกวด เป็น เห่าช้าง หรือ ตุ๊ดตู่ นั้นหมายความว่าพวกเขา เหล่านี้อยู่ในวงศ์เดียวกัน พูดภาษาชาวบ้านก็ได้ว่าอยู่ครอบครัวเดียวกัน เพราะ ใช้คำภาษาอังกฤษว่า family นี่ครับ แถมยังอยู่ในสกุลเดียวกันด้วย จะแตกต่าง กันก็ตรงที่ชนิด ( species ) นี่เท่านั้นเอง
อีทีนี้กลับมาเข้าเรื่อง เห้ กันเถอะ ท่านผู้อ่านที่เคารพครับเวลาผมนั่งรถผ่านเขาดิน ทีไร ผมจะมองหาตัว เห้ อยู่เสมอ หากคราวใดเห็นเข้าก็ดีใจเหมือนเห็นคนที่เคย รู้จักกันเก่าแก่ เพราะว่าที่จริงแล้วผมชอบไปที่เขาดินวนาบ่อย ๆ สัตว์ที่ผมชอบ ไปยืนดูได้นาน ๆ โดยไม่เบื่อเลยก็เห็นจะเป็นลิง ที่เป็นอันดับหนึ่งแล้วก็ เห้ นี่แหละ ครับเป็นอันดับที่สอง
เห้ มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว ๒.๕-๓ เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉก คล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลือดากขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณ ใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและดำน้ำนาน เห้ ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซาก อาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็น ๆ เช่น ไก่ เป็ด ปู หอย งู หนู นก และไข่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งปลา
เห้ ออกลูกเป็นไข่คราวละ ๑๕-๒๐ ฟอง และใช้เวลาฟัก ๔๕-๕๐ วัน ทั้งนี้ ตัวเห้ จะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย ไข่เ***้ยจะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ ๖-๕๐ ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ ๒-๓ ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้ง และฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวด ระยะเวลาฟักขึ้น กับชนิดและสภาพแวดล้อม
ไข่เห้นี่กินอร่อยครับ ท่าน อาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านชอบกิน ไข่เห้ มาก ท่านเล่าประวัติของขนม ไข่เห้ ให้ฟังว่ารัชกาลที่ ๑ ท่านโปรดเสวย ไข่เห้มาก เมื่อไม่ถึงหน้าที่ เห้ จะมีไข่จึงมีนางในท่านหนึ่งทำขนม ไข่เห้ ขึ้นทูลเกล้าถวาย ปัจจุบันนี้คือขนมที่เราเรียกว่า "ขนมไข่หงส์" นั่นแหละ ที่ขนมไข่หงส์มีงาดำแปะ ๆ เอาไว้ก็เหมือนกับการทำ ไข่เห้ จริง ๆ ต้องเอาเข็ม สักลงบนเปลือกไข่ให้เป็นรู ๆ ก่อนจะเอาไปปรุงเพื่อขึ้นโต๊ะอาหารต่อไป
เนื่องจาก เห้ นั้นกินไม่เลือก ทั้งสัตว์เป็น สัตว์ตาย ของเน่า ของสด กินได้ทั้งนั้น และปากสกปรกมาก ใครถูก เห้ ทุกชนิดกัดก็มีโอกาสเป็นบาดทะยักตายได้สูงมาก เพราะปากสกปรกเหลือเกิน เห้ ชอบเข้าไปลักกินสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัว เห้ มักจะมาขโมยไก่ ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดกันมาก เลยนำมาใช้ เรียกคนไม่ดีว่า " คุณเห้ " และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง เชื่อกันว่า ถ้า เห้ ขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง " ทางภาคเหนือมีการเอา เห้ มาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า " แกงอ่อมแลน " รสชาติเผ็ดเด็ดขาด เนื้อเห้ จะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่เนื้อจะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือ แลนเลี้ยง กับ แลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุด เพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย ( เขาว่านะครับ ) ผมเองก็ไม่กล้ากินหรอก แต่ก็เชื่อนักไม่ได้ เนื่องจากคนที่พาผมไปกินข้าวมักเห็นแต่ว่าอะไร ๆ ก็อร่อยไปหมด
หนังเห้ นี่เป็นที่นิยมเอาไปทำเครื่องหนังราคาแพงนะครับ ที่อินโดนีเซีย มีการทำฟาร์มเลี้ยงเหิว้ยเป็นล่ำเป็นสันเพื่อเอาหนังนี่ไปฟอกทำเครื่องหนัง ส่งออก ลายหนังเหิว้ยสวยดีจะตายไป บ้านเราน่าจะทำมั่งนะครับ
ส่วนตะกวดก็คือ เห้ อยู่บนต้นไม้นั่นแหละ รูปร่างคล้าย เห้ โดยผู้คนมักจำสับสน กับ เห้ แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่า เห้ มาก อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาล หรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจาก เห้ ที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะ ไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือน เห้ และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอีสานว่า "แลน" กินได้ เหมือนกัน แต่หนังไม่สวยเท่า เห้
เอาละครับอันดับสุดท้ายแล้วคือ "เห่าช้าง" ตัวจะเล็กกว่า เห้ มีความยาวประมาณ ๑.๓ เมตร มีสีดำเข้ม มีลายเลือน ๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอ ใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน เฉพาะช่วงคอเกล็ดจะย้อนไปหาศรีษะ ชอบอยู่ ในป่าทึบและเดินหากินบนพื้นดิน แต่ก็ปีนต้นไม้เก่ง
เห้ ชนิดนี้ได้ชื่อว่า เห่าช้าง ก็เพราะว่าได้มาจากเสียงที่เห่าช้างขู่ศัตรู ฟังดูคล้ายเสียง ขู่ของงูเห่า เชื่อกันว่าน้ำลายมีพิษ หากถูกกัดจะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่จริงแล้ว เป็นความเชื่อที่ผิด ที่ใครถูกเห่าช้างกัดตายก็เพราะว่าเป็นบาดทะยักตายต่างหาก เหมือนถูก เห้ ทุกชนิดกัดนั่นแหละ
ท่านผู้อ่านอยากดู เห้ ชนิดต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดก็เชิญไปดูได้ที่สวนสัตว์เขาดินวนา แล้วท่านจะได้ดู มังกรยักษ์โคโมโด ด้วย เจ้ามังกรยักษ์โคโมโด นี่เป็นญาติกับไดโนเสาร์ เชียวนะครับ ซึ่งมังกรยักษ์โคโมโดนี้มีอยู่ในเกาะโคโมโดของอินโดนีเซียแห่งเดียวตัวใหญ่กว่า เห้ แต่ก็พวกเดียวกันนั่นแหละครับ จบ.......................................................................................................
ที่มา http://.com-th.net/webboard/index.php?topic=71738.0
จากคุณ |
:
...
|
เขียนเมื่อ |
:
30 มี.ค. 54 14:11:11
A:119.31.112.51 X: TicketID:237003
|
|
|
|
 |