 |
กัมมันตภาพรังสี หรือ สารกัมมันตรังรังสีครับ กัมมันตภาพรังสี มี 3 ตัวนะครับ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า ดูจากคำถาม ผมว่าเจ้าของกระทู้หมายถึง สารกัมมันตรังรังสี ผมก็ขอตอบ เรื่องของสารกัมมันตรังรังสีนะครับ
ความอันตรายของสารกัมมันตรังรังสี สามารถพิจารณาจาก
1. รังสีที่ปล่อย - อัลฟ่า เบต้า แกมม่า แต่ละตัวมีอันตรายคนละแบบกัน 2. ค่าครึ่งชีวิต - ยิ่งน้อย รังสียิ่งแรง แต่ก็ทำให้สลายตัวเร็ว ยิ่งมากรังสีจะน้อยลง แต่ก็ทำให้สลายตัวช้า 3. ปริมาณของสาร - ยิ่งมาก ยิ่งใช้เวลานานในการสลายไปหมด 4. คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารนั้นๆ เช่น fissile (เกิดฟิชชั่นเองตามธรรมชาติ) , ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายคนอัตโนมัติ , เป็นก๊าซเฉื่อยไม่เข้ากับธาตุอื่น , ฯลฯ
Uranium (235) ครึ่งชีวิต 700 ล้านปี ก็แปลว่าใน 1 ปี จะแผ่รังสีออกมาแค่ 1/700,000,000 ของ ครึ่งนึง ของมวลมัน ปล่อยรังสีอัลฟ่า มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำ และสลายตัวไปเองในเวลาไม่กี่วินาที Uranium สลายตัวกลายเป็น Thorium 231 และกลายเป็น Protactinium-231 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 30,000 ปีกว่าๆ ด้วยการที่มันมีครึ่งชีวิตยาวนานมาก ทำให้ไม่ค่อยมีอันตรายด้านกัมนมันตภาพรังสี แต่ Uranium เป็นธาตุ fissile นะครับ ถ้ามีความเข้มข้นสูงมากๆๆๆๆ (ธรรมชาติผลิตเองไม่ได้ ต้องสังเคราะห์โดยมนุษย์) ประมาณ 90%+ โดยมวล จะใช้เป็นระเบิดนิวเคลียร์ได้
Plutonium (239) ครึ่งชีวิต 24,000 ปี ปล่อยรังสี อัลฟ่า เหมือน ยูเรเนียม สลายตัวกลายเป็น Uranium-235 (อันข้างบน) และ Plutonium ก็เป็นธาต fissile เช่นกัน
Iodine (131) ครึ่งชีวิต 8 วัน ปล่อยรังสีเบต้า ซึ่งแรงกว่าอัลฟ่า การที่มีครึ่งชีวิตน้อยทำให้ปล่อยรังสีออกมาเยอะมาก แรงมาก และ อันตราย แต่ว่ามันจะสลายตัวไปเร็วมากเช่นกัน แค่ 2-3 เดือนก็แทบไม่เหลืออะไรแล้ว ไอโอดีน 131 ตามธรรมชาติสลายตัวกลายเป็นก๊าซซีน่อน ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ทำปฏิกริยากับธาตุใดๆอีกต่อไป (แต่ยังมีการแผ่รังสี) ไอโอดีนมีคุณสมบัติในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยอัตโนมัติ จึงมีอันตราย
Caesium (137) ครึ่งชีวิต 30 ปี โดยประมาณ ปล่อยรังสีเบต้า ซึ่งดูๆแล้วธาตุนี้น่าจะเป็นอันตรายน้อยกว่าไอโอดีน แต่ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะค่าครึ่งชีวิตของมันไม่สั้นเกินไป (ซึ่งจะช่วยให้สลายไปเร็ว) และไม่นานเกินไป (ซึ่งจะทำให้ปริมาณรังสีน้อย) ถ้ามันไปปนเปื้อนที่ไหน ที่นั่นจะโดนรังสีเป็นร้อยๆปี กว่าจะสลายหมด Caesium 137 สลายตัวกลายเป็น Ba 137 ซึ่งไม่สลายตัวอีกต่อไป
Strontium (90) ครึ่งชีวิต 30 ปีโดยประมาณ ปล่อยรังสีแกมม่า ซึ่งอันตรายกว่า เบต้า ธาตุนี้อันตรายเหมือนกับ Caesium 137 สลายตัวกลายเป็น Yttrium (90) ครึ่งชีวิต 60 ชั่วโมงก่อนจะสลายกลายเป็น Yttrium ธรรมดา ไม่สลายอีกต่อไป
สรุปคร่าวๆคือ 3 ตัวนี้ - ซีเซียม แล สตรอนเซียม น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะปนเปื้อนแล้วกำจัดออกยาก ครึ่งชีวิตไม่สั้นไม่นานจนเกินไป รังสีที่แผ่ออกมาก็อันตราย ถ้ามีปริมาณเยอะมากๆ สถานการณ์จะเป็นแบบเชอโนบิลแน่ คือ มีคนเข้าไปอยู่ไม่ได้เป็นร้อยๆปี - ไอโอดีน เพราะคุณสมบัติ ที่ดูดซึมเข้าร่างกายคนได้ และครึ่งชีวิตที่สั้น ทำให้รังสีแผ่ออกมามาก (มันไปอยู่ที่ไหน ที่นั่นจะมีรังสีออกมาเยอะสุดๆ) - ส่วนยูเรเนียม พลูโตเนียม ไม่ได้อันตรายในด้านกัมมัตภาพรังสีก็จริง แต่มันก็อันตรายอยู่ดีเพราะปฏิกริยาฟิชชั่นตามธรรมชาติของมันผลิต รังสีนิวตรอน และมันเอาไปสกัดทำระเบิดนิวเคลียร์ได้
แก้ไขเมื่อ 30 มี.ค. 54 16:45:10
จากคุณ |
:
Firion
|
เขียนเมื่อ |
:
30 มี.ค. 54 16:37:48
|
|
|
|
 |