ทีนี้มาถึงการทดลอง ที่ ค้างคาใจ คือ การแข็งตัว ของน้ำร้อน และ น้ำแข็งว่า อันไหนจะแข็งตัวก่อนกัน
น้ำร้อนที่ ใช้ ได้จาก พนักงานคุณหมอเอามาให้จากกระติกน้ำร้อน วัดอุณหภูมิได้ 70C(ไม่ได้น้ำเดือดมาใช้ แต๋ก็ถือได้ว่าร้อนต่างกัน มากชัดเจน)
ส่วนน้ำเย็น ใช้น้ำธรรมดา อุณหภูมิราวๆ การทดสอบการแข็งตัว ของน้ำร้อน 70 C กับ น้ำปกติ (25C)
โดยใช้น้ำ อย่างล่ะสองแก้ว ปริมาณเท่ากัน เทใส่แก้วกระดาษ ความลึกของน้ำ ประมาณแก้วล่ะ 1.5 ซม.
ตั้งแก้วทั้งหมดทิ้งไว้ใน Ice Lab (ห้องเย็น อุณหภูมิ ลบ 110 C )
ผลปรากฏ ว่า ระยะแรกเมื่อเข้าห้องเย็น น้ำร้อนจะมี ละอองไอน้ำลอยเหนือถ้วย มากกว่า แก้วธรรมดามาก (น่าจะเป็นจากไอน้ำบางส่วนละเหยจากน้ำร้อนมากระทบไอเย็น กลั่นตัวเป็นละอองน้ำให้เห็น)
และเมื่อตั้งทิ้งไว้ พบว่า น้ำปกติ เริ่มแข็งตัวเร็วกว่า น้ำร้อน โดยน้ำทั้งหมด จะเริ่มแข็งตัว ที่ผิวหน้า และ เป็นวงแหวน รอบๆ แก้ว(ด้านที่สัมผัสกับแก้ว แข็งตัวก่อน) ก่อนที่ จะแข็งตัว ลาม เข้ามาตรงส่วนกลาง จนในที่สุด ก็แข็งตัวทั้งหมด
โดยน้ำปกติ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ใน ขณะที่น้ำร้อน ใช้เวลาประมาณ 13 นาที
การทดลองครั้งนี้ ไม่มี Memba Effect เกิดขึ้น ตามที่มีคนเคยพูดถึงไว้ ว่าน้ำร้อนจะแข็งตัวได้ ไวกว่า น้ำเย็นเมื่อนำไปแช่แข็ง
ใครว่างๆ ถ้าอยู่ที่หนาว หรือ เมืองหนาว ที่อุณหภูมิติดลบมากๆ ลองทดสอบ กันหลายๆอุณหภูมิ หลายๆแบบมาแลกเปลี่ยนกันครับ
ต้องขอโทษด้วยที่ ภาพวีดีโอ ไม่ชัดนัก เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปถ่ายในห้องอุณหภูมิ ต่ำขนาดนั้นได้ เนื่องจากกล้องไม่ทำงาน(รองเท้ายางปกติ ยังกรอบๆเลย อิๆ)ส่วนคน ตัวปล่าวๆกับกางเกง เสื้อกล้ามและถุงมือ รองเท้านี่ นี่ทนได้ ราวๆ สองสามนาที ก็แย่แล้ว
เลยต้องใช้ถ่ายผ่านช่องหน้าต่าง สังเกตุการณ์ ของเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ซึ่งเป็นกระจกหนา หกชั้น แทน ทำให้ไม่ค่อยชัดมาก แต่พอสังเกตุได้ ครับ